พระเนื้อ "ชินเงิน ตะกั่ว และ เงิน" น่าจะ เหมือน หรือ ต่างกันอย่างไร


การใช้คำเรียกตามความเคยชิน โดยไม่ดูเนื้อพระ ทำให้เกิดความสับสนในการสื่อสาร และการพิจารณาพระแท้เนื้อต่างๆได้

ตั้งแต่ผมเข้ามาในวงการพระเครื่อง มีคำหนึ่งที่ผมสงสัย และแทบจะไม่เข้าใจว่าคืออะไร และน่าจะแปลว่าอะไร คือ คำว่า 

"ชินเงิน" ว่าหมายถึงอะไรกันแน่

เวลาไปดูพระ ก็พบเนื้อโลหะที่ปริแตกที่ผิว

แต่พวกที่ไม่ปริแตก บางทีก็เรียก ชินตะกั่ว 

ยิ่งทำให้สับสนมากขึ้นไปอีก

และยังบอกอีกว่า ชินเงิน ต้องมีเกล็ดกระดี่ หรือ ผิวปรอท ว่ากันไปเรื่อยๆ

นึกไปเอง โดยไม่เข้าใจว่าความเป็นจริงมันจะใช่โลหะที่ว่า จริงหรือเปล่า

ด้วยความสับสนอย่างแรง

ผมเลยนำพระที่พอมั่นใจว่าแท้ มานั่งดูส่วนประกอบจากลักษณะมวลสารและการเกิดสนิมสีต่างๆ ตามหลักการทางเคมี

ทำให้ผมเริ่มเข้าใจทีละขั้นๆ มาเรื่อยๆ

และขั้นแรก พอจะรู้ว่า "ปรอท" แท้ที่จริง ก็คือ โลหะเงิน ก่อตัวเกาะกันเป็นเม็ดๆ กลม

ผิวปรอท ก็คือ ผิวที่มีเม็ดเงินกลมอยู่ที่ผิว ที่คาดว่าจะเป็นโลหะที่หลอมที่ความร้อนสูง และมีโลหะเงินเข้มข้นมาก ก่อนการเทลงเบ้า ทำให้มีการเกาะกันเป็นทรงกลม (globular form)

เกล็ดกระดี่ แท้ที่จริง ก็คือ ผิวเงินที่มีลักษณะเป็นเกล็ดๆ หรือ แผ่นๆ  ที่น่าจะเกิดจากการหลอมเงินที่เข้มข้นสูง ที่ความร้อนต่ำ ทำให้มีการเรียงตัวของโมเลกุลเงินเป็นแถวเรียงกัน (platy form)

และยังมีพรายเงิน ที่เป็นเศษเงินวาวๆ ชิ้นเล็กๆ ในกรณีที่มีเงินปริมาณน้อย มีการกระจายตัวเป็นชิ้นเล็กๆ (particulate form)

แล้วเงินที่ไม่บริสุทธิ์เหล่านี้ น่าจะปะปนอยู่กับโลหะอะไรบ้าง

ที่คาดว่าในการถลุงโลหะกลุ่มนี้ อาจจะมีปะปน ในกลุ่มโลหะที่หลอมเหลวที่ความร้อนต่ำใกล้ๆกัน ก็ได้แก่ อลูมิเนียม สังกะสี ดีบุก และตะกั่ว เป็นต้น

ที่คาดว่าคงจะถลุงปนๆกัน เพราะผู้สร้างพระก็คงไม่เน้นความเป็นโลหะบริสุทธิ์มากนัก

จึงน่าจะขึ้นอยู่กับการเทลงเบ้าของโลหะผสม

ที่นอกจากจะขึ้นอยู่กับการหลอมเหลวแล้ว ยังน่าจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของโลหะแต่ละชนิดด้วย

กล่าวคือ อลูมิเนียม สังกะสี และดีบุก อาจจะเบากว่า อาจอยู่ข้างผิวบนๆ เงินรองลงมา และตะกั่วอยู่ล่างสุด

ในขณะเดียวกัน ตะกั่วก็จะแข็งตัวช้าที่สุดด้วย

จึงน่าจะไปรวมกันอยู่ที่องค์ท้ายๆของการเท และปลายสายชนวนของการหล่อ

ส่วนเหล็กนั้นเป็นโลหะที่หลอมที่ความร้อนสูง เป็นพันองศาเซลเซียส จึงไม่น่าจะมาปะปนกันกับโลหะกลุ่มนี้

พอสร้างพระมาในช่วงแรกๆ ผู้สร้างไม่น่าจะทราบด้วยซ้ำว่าจะเกิดเป็นเนื้อแบบไหนบ้าง

จึงเป็นการตัดสินใจของคนเห็นในยุคหลังๆ

ว่าจะเรียกพระเหล่านี้ว่า

พระเนื้อชินเงิน  เงิน และตะกั่วสนิมแดง

ซึ่งพบว่ามีปะปนกันในกรุเดียวกัน 

ไม่ว่าจะเป็นพระชินราชใบเสมา พระหูยาน มเหศวร และพระเนื้อโลหะต่างๆ

แต่ก็ใช้คำเหล่านี้เรียกลักษณะที่เห็นตามความเคยชิน

โดยไม่คิดว่า หรือพิจารณาความแปรปรวนของเนื้อพระในการสร้างแบบโบราณ ที่มิได้ใช้สูตรสำเร็จ หรือโลหะบริสุทธิ์ อย่างในปัจจุบัน

การดูเนื้อพระแบบผิวเผิน ทำให้เกิดความสับสนในการสื่อสาร และการพิจารณาพระแท้เนื้อต่างๆได้

ไม่ว่าจะแก่ตะกั่ว แก่โลหะอื่นๆ ที่เรียกว่า ชินเงิน หรือแก่เงิน

ที่จะทำให้มีลัการะรายละเอียดแตกต่างกัน

และที่สำคัญ เพื่อลดความสับสน

เราควรแยกการเรียกเนื้อเงิน ออกจากเนื้อชินเงิน เพื่อป้องกันความสับสนในการดูเนื้อพระครับ

กล่าวคือ ชินเงินจะเนิ้นดูการปริ พุ ระเบิด และกร่อน

แต่เนื้อเงินที่ค่อนข้างบริสุทธิ์หน่อย จะไม่ปริ มีแต่กร่อนอย่างเดียว จากผิวนอกเข้าหาในเนื้อ ไม่มีจุดระเบิด ไม่มีพุครับ

แต่ทั้งหมดอาจจะมาจากเบ้าหลอมเดียวกันก็ได้

เพียงแต่

การมองโลหะแยกจากกันเพื่อความเข้าใจในการดูพระแท้ และลดความสับสนในการตึความเก๊-แท้ เท่านั้นครับ

ที่โลหะทุกอย่างจะมีสีสนิมเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง

ถ้าไม่มี ก็มีแต่พระเก๊เท่านั้นครับ

เช่นเอาตะกั่วใหม่ๆ มาเทเป็นรูปพระโบราณ แต่งผิวออกดำๆ ทำให้เป็นชินเงินบ้าง ชินตะกั่วบ้าง แต่ไม่มีสนิมแดงแบบหลากหลาย แบบนี้ก็เก๊อย่างชัดเจน

ถ้าขีดกระดาษออกสีดำแบบดินสอดำ แต่ไม่มีสนิมแดง ก็ฟันธงเก๊ได้เลยครับ

ไม่ใช่ชินเงินแน่นอน

หมายเลขบันทึก: 495077เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2012 12:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กรกฎาคม 2012 23:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลมากครับ ฟังเซียนพระพูดผมก็รู้สึกขัดหูครับ ได้อ่านคำอธิบายของอาจารย์แล้ว มองภาพออกทันทีครับ


ภาพไม่ชัดพอที่จะดู และว่าตามคุณครับ ถ้ามีอย่างที่คุณว่าก็แท้ครับ

ขอบคุณครับอาจารย์แล้วจะถ่ายรูปใหม่ครับ ปัญหาคือผมยังไม่มั่นใจว่าสนิมตีนกา สนิมขุม แท้ๆเป็นอย่างไรนะครับ

ตืนกาก็เม็ดดำๆ สนิมขุมก็แบบเหล็กเป็นสนิมเก่าๆ จะเป็นหลุมประปราย อิอิอิอิ

ถ้าไม่รู้ก็ไม่ควรพูดครับ ไม่งั้นเดี๋ยวเกิดเป็นนกแก้วครับ อิอิอิอิ

ไม่ดีนะครับ ด้วยความเคารพ

ได้ความรู้อย่างชัดเจนครับขอบคุณสุดๆๆครับ

สนิมตีนกานั้น สิ่งที่ผมได้ฟังรับมาจากจ่าแสวง ชมรมพระเครื่องเมืองอินทร์ สิงบุรี กล่าวไว้ว่า สนิมกาน้นก็คือรอยไหม้ดำขอกาต้มน้ำ ทับทวีจนเกิดปรายเงินยวง ครับไม่ใช่เซียนรุ่นใหม่มาพูดกันว่าตีนนกกาดำย่นๆ เพราะจ่าแสวงดีกรีระดับแบบว่าใครตัดสินชี้ขาดเหรียญพิมพ์ขอเบ็ดหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติ ไม่ได้ต้องเชิญแกมาตัดสิน เชียวนะครับ แชร์ข้อมุลแบ่งปั่นกัน นะครับ และขอขอบคุณท่านอาจารย์ที่แชร์ความรู้ด้วยนะครับ

สนิมตีนกานั้น สิ่งที่ผมได้ฟังรับมาจากจ่าแสวง ชมรมพระเครื่องเมืองอินทร์ สิงบุรี กล่าวไว้ว่า สนิมกาน้นก็คือรอยไหม้ดำขอกาต้มน้ำ ทับทวีจนเกิดปรายเงินยวง ครับไม่ใช่เซียนรุ่นใหม่มาพูดกันว่าตีนนกกาดำย่นๆ เพราะจ่าแสวงดีกรีระดับแบบว่าใครตัดสินชี้ขาดเหรียญพิมพ์ขอเบ็ดหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติ ไม่ได้ต้องเชิญแกมาตัดสิน เชียวนะครับ แชร์ข้อมุลแบ่งปั่นกัน นะครับ และขอขอบคุณท่านอาจารย์ที่แชร์ความรู้ด้วยนะครับ

ผิวปรอทกับเนื้อตะกั่ว ผิวไหนจะคงความสวยงามกว่ากัน หากผ่านกาลเวลาไปนานๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท