การแยกพระเนื้อสำริด ออกจากพระโรงงาน


สนิมชนิดนี้เกิดจากความกร่อน และเก่า และเกิดจากองค์พระ ทำให้มีความพรุนและความเหี่ยวที่ผิว

วันนี้ผมได้นำพระบูชาเนื้อสำริด และพระเครื่องเนื้อสำริด มาถ่ายรูปขึ้นเวบ ก็เลยได้มีโอกาสพิจารณาเนื้อ “สำริด” อีกรอบหนึ่ง

 

และ การขึ้นเวบก็ทำให้มีเพื่อนๆ มาแลกเปลี่ยนหลายท่าน ท่านหนึ่งบอกผมว่า

 

โลหะผสมเหล่านี้ เมื่อได้อายุ จะเกิดสภาพ “โลหะตาย”

เมื่อเคาะด้วยเล็บ ในจุดที่ไม่มีดินอัด จะเกิดเสียงต่ำๆ คือ แปะๆ ไม่กังวาน

ที่โลหะใหม่ จะยังคงมีความกังวาน และเสียงสูงในตัวเอง

 

ที่เป็นประเด็นทำให้ผมคาดเดาโดยหลักการ ว่า

น่าจะเกิดจากอะไร

ซึ่งในเบื้องต้น

ผมเดาไปว่า เนื้ออาจจะเป็นสนิม หรือไม่ก็ มีความพรุนในเนื้อ

 

โดยอาจมีสนิมที่เกิดจากด้านในเนื้อโลหะ

  • ที่น่าจะเกิดจากวัสดุที่มีโลหะผสมหลายอย่าง เช่น ชินเงิน สำริด เป็นต้น
  • แต่โลหะบริสุทธิ์ อาจจะไม่เป็น
    • เพราะน่าจะมีแต่สนิมจากนอกเข้าในเพียงอย่างเดียว
    • ส่วนที่เหลือก็ยังสมบูรณ์
    • การส่งคลื่นเสียงไม่ขาดตอนเลยยังดังกังวานอยู่

 

 

แต่ โลหะผสม เช่น สำริด ที่มีทองแดงปน

  • จะพรุนง่ายเพราะมีทองแดงในเนื้อ และ
  • ทองแดงจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ได้เร็ว จึงเกิดความพรุนในเนื้อ

 

ที่อาจใช้ในการดูพระพุทธรูปเก่าๆ

  • เพราะตอนนี้ช่างโรงงานทำสนิมเขียวได้ดีมากๆ ดูยากทีเดียว

และ

  • สนิมน้ำหมากในเนื้อก็ทำหลอกได้ระดับหนึ่งแล้ว
    • โดยเขาเอาพระทองเหลืองไปชุบทองแดงให้ดูออกแดงๆในเนื้อ เหมือนทองเกิดสนิม
    • แล้วมาทำสนิมน้ำหมากคลุม และ
    • สุดท้ายฉาบด้วยสนิมหยก
    • สวยได้ที่เลย

 

มองดูแบบตาเปล่า จะหลงชอบ หลงทางทันที

 

เขาใช้สีทองแดงแทนสนิมน้ำหมากในเนื้อ เขาช่างฉลาดจริงๆ

 

รู้ไปหมดว่า เราส่องหาอะไร เขาเตรียมไว้ให้ดูพร้อม

 

แต่

 

บังเอิญ การทำแบบนี้ มักจะยังทำผิวได้ไม่หลากหลาย เพราะมักจะเป็นแบบเดียวกันทั้งองค์

และไม่เหี่ยวพอ เลยยังจับไต๋ได้

 

เพราะสนิมชนิดนี้เกิดจากความกร่อน และเก่า และเกิดจากองค์พระ ทำให้มีความพรุนและความเหี่ยวที่ผิว

 

แต่ถ้าทำคือนำไปใส่ ไม่เหมือนกันครับ

 

ที่เห็นมา และรอดมาได้บ้าง ก็เป็นสิ่งที่วิเคราะห์ได้ ด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์

 

ที่สามารถใช้ในการพิจารณาแยก พระเนื้อสำริด ออกจากพระเก๊ได้แล้วครับ

  • โดยการเคาะฟังเสียง ต้องดัง แป็กๆ ไม่ดัง กริ๊งๆ หรือกังวาน
  • ดูลำดับชั้นของสนิม กลมกลืน ชัดเจน ไม่ดูมั่วๆ สลับไปมา ที่มักพบในพระเก๊
  • ดูความหลากหลายและกลมกลืนของสนิมทั้งองค์พระ และ
  • ดูความพรุน และการเหี่ยวของผิวโลหะเก่า ของใหม่จะดูตึงๆครับ

 

ดูดังนี้แล้ว น่าจะรอดครับ

 

หมายเลขบันทึก: 494973เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2012 13:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กรกฎาคม 2012 10:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท