ความหนึกนุ่ม คืออะไรกันแน่


มือใหม่ๆ มักจะไม่เข้าใจ และสับสนปะปนกัน จากความเข้าใจไม่ตรงกัน และบางทีก็พูดแบบเจตนาไม่บริสุทธิ์

สมัยที่ผมเข้ามาในวงการพระใหม่ๆ ได้มีความสับสนในภาษาที่ใช้กันอยู่ในวงการหลายคำ และคำหนึ่งที่ใช้กันมาก ได้ยินบ่อยที่สุดคือ "ความหนึกนุ่ม"

ที่พบว่ามีความหมายทับซ้อนกันอย่างน้อยในสามประเด็น

ที่มือใหม่ๆ มักจะไม่เข้าใจ และสับสนปะปนกัน คือ

  1. การกลมกลืนของพื้นผิว สี และเนื้อพระ ทางสีสัน ที่มองด้วยตา หรือ จากถ่ายภาพองค์พระ
  2. ความเรียบมนกลมกลืนของผิว จากการสัมผัส ไม่สากมือ ไม่กระด้าง ไม่มีเหลี่ยมมุมคม และ
  3. ความนุ่มของเนื้อพระ ที่ได้จากการจับต้อง

ในวงการทั่วไปที่มีคนหลายระดับ ที่ใช้คำนี้ทั้งสามประเด็น อย่างปะปน สับสน เพราะ

  • ความเข้าใจไม่ตรงกัน และ
  • บางทีก็พูดแบบเจตนาไม่บริสุทธิ์

จึงทำให้ความสับสนของมือใหม่ หัดส่องมีมากขึ้นไปอีก

นอกจากจะใช้ภาษาอย่างปะปนกันแล้ว

ยังมีปัญหาจากความพยายามของช่างทำพระเก๊

กล่าวคือ

ในประเด็นแรก ความนุ่มนวลทางสีสัน

  • ช่างทำพระเก๊ มีความสามารถในการทำให้เกิดการกลมกลืนทางสี
  • ที่ทั้งดูจากภาพถ่าย และดูด้วยตา
  • ถ้าแต่งมาดี พระเก๊ก็ดูแท้ หรือ สวยจากภาพถ่าย
    • และยิ่งกว่านั้น
      • ความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถของการถ่ายรุป ก็ยังเป็นปัจจัยรบกวนการดูพระแท้-พระเก๊อีกด้วย
      • นอกเหนือไปจากความพยายามที่จะซ่อนร่องรอยเก๊
        • จากการถ่ายรูป และแต่งรูป ให้ดูนุ่มตา กลมกลืน
    • จึงทำให้การดูพระจากรูปมีอัตราเสี่ยงพอสมควร
    • จึงควรขอดูหลายๆมิติ และเน้นๆ
    • และถ้าเป็นไปได้ ขอดูองค์จริงไปเลย

ประเด็นที่สอง ความเรียบมนของผิว ที่รู้ได้จากการสัมผัสผิว

  • ไม่มีจุดคม
  • ไม่มีเหลี่ยมมุม
  • ไม่มีจุดสากมือ
  • ที่ถ้าช่างแต่งมาดี พระเก๊ ก็เนียนมนได้ จากการสัมผัส
  • จึงต้องดูอย่างอื่นประกอบด้วย

และประเด็นที่สาม ความนุ่มในเนื้อพระ ที่จะรู้ได้ด้วยการจับต้องเท่านั้น

  • ที่ยังไม่พบว่าแต่งได้
  • เพราะเกิดอยู่ในเนื้อพระ จับต้องจะรู้ทันที
  • แบบเดียวกับการเลือกผลไม้ จำพวกมังคุด ระดับความสุกของเนื้อทุเรียน หรือความสดของผลไม้ต่างๆ
  • จะต้องไม่บีบมาก แต่กดเบาๆ ก็จะรู้ได้
  • ข้อนี้ต้องชิน และอาศัยการฝึกพอสมควรครับ

ภาษาที่ใช้กันก็อยู่ประมาณนี้ครับ

หมายเลขบันทึก: 494848เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2012 07:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2012 08:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

หนึกนุ่มในความเข้าใจของผมคือ ดูฉ่ำนวลตาเมื่อมองตาเปล่า แต่ส่องด้วยกล้องต้องแห้งไร้ความความฉ่ำ

กลับกันมั้งครับ มองไกลต้องแห้ง(เพราะผิวโดยรวมต้องเก่า) ส่องใกล้ต้องฉ่ำครับ (เพราะเนื้อจะงอกใหม่ตลอดเวลา) อิอิอิอิอิ

สวรรค์นั้นไม่ซับซ้อน มนุษย์ต่างหากที่ซับซ้อน..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท