แนวทางการพัฒนาการศึกษาไทย


การศึกษาไทยยังมุ่งเน้นที่การผลิตคนเพื่อมารับใช้สังคมเท่านั้น

     การศึกษาไทยในปัจจุบันยังคงมุ่งเน้นการผลิตคนให้รับใช้สังคมเท่านั้นเนื่องจากหลักสูตรที่จัดทำออกมาไม่ได้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชนบท ทำให้คนเหล่านั้นก้าวจากสังคมชนบทไปตั้งหลักแหล่งในสังคมเมืองแทนที่จะกลับไปพัฒนาท้องถิ่นตนเอง

      ตลอดระยะเวลากว่าหนึ่งทศวรรษที่มีการจัดระบบการศึกษาไทยการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาถ้าเปลี่ยนแปลงโดยยึดถือแต่ โรงเรียน ครู นักเรียน และเนื้อหาวิชาเป็นหลักโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมอื่นอย่างเท่าเทียมเป็นเพียงการปรับเปลี่ยนเฉพาะรูปแบบที่หนีไม่พ้นการพายเรือในอ่างซึ่งไมต่างจากการศึกษาตอนเริ่มต้นที่นำเอาระบบโรงเรียนแบบตะวันตกเข้ามาเมื่อปี พ.ศ 2441 ถ้าการศึกษาไทยยังเป็นเช่นนี้ผลเสียจะเกิดต่อนักเรียน จิตสำนึกความเป็นครู และสังคม นักเรียนจะกลายเป็นผู้ที่มีความรู้แต่ปฎิบัติไม่ได้เนื่องจากเข้าไปไม่ถึงปัญหาที่แท้จริงหลักสูตรยังคงเน้นการวัดผลให้นักเรียนจดจำเนื้อหา กำหนดเวลาสอบผู้เรียนก็ต้องท่องจำ กวดวิชาทำให้เสียเวลาส่วนนี้ไปมากจนไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ชีวิตและประสบการณ์นอกห้องเรียน

     เพื่อให้การศึกษาไทยมีการพัฒนาให้ทันต่อโลกแห่งเทคโนโลยีการศึกษาไทยควรมีลักษณะสำคัญดังนี้

     1. การศึกษาไทยต้องมุ่งสร้างคน สร้างงาน สร้างชาติ เป็นการศึกษาแบบองค์รวมบูรณาการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ศาสนา การเมือง

     2. การศึกษาไทยต้องเน้นผลต่อผู้เรียนทั้งในระดับนโยบายและระดับการเรียนการสอนโดยกำหนดนโยบายการศึกษาที่คำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญเปิดโอกาสให้ผู้เรียน เรียนรู้ตามวิธีที่ถนัดและสนใจ เรียนอย่างสนุก เล่นให้ได้ความรู้ มีความสุขกับการเรียน ครูสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและมีความสุขกับการเรียน

     3. การศึกษาไทยต้องมุ่งยกระดับงานให้เป็นแรงงานคุณภาพ(knowledge workers) ที่เข้มแข็งและแข็งขัน มีการกระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา องค์กรปกครองท้องถิ่น มีการกำหนดมาตรฐานในการศึกษา จัดรูปแบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ มีการส่งเสริมรากฐานและพัฒนาวิชาชีพครู บุคคลากรทางการศึกษา ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆมาใช้ในการศึกษาและการมีส่วนร่วมของบุคคลในครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน และสถาบันสังคมอื่นๆ

     4. การศึกษาไทยควรมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาบูรณาการในการเรียนการสอนทำให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนรู้ และทันต่อยุคสมัยมากขึ้น

      เหตุที่ต้องมีการปฎิรูปการศึกษาไทยก็เพราะคุณภาพการศึกษาไทยนั้นเริ่มตกต่ำไม่ทันโลกแข่งขันกับประเทศอื่นไม่ได้ (ประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 33 จาก 47ประเทศ) ทั้งนี้เพราะคุณภาพผู้เรียนไม่เป็นที่พอใจมีผลสัมฤทธิ์ต่ำในทุกวิชา ส่วนผู้ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วก็มีคุณภาพที่ไม่น่าพึงพอใจ การเรียนการสอนขาดการอบรมบ่มนิสัยไม่ได้ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและภูมิปัญญาไทยอย่างเพียงพอ การเข้ารับการศึกษาไม่กว้างขวาง ไม่ทั่วถึง และไม่เป็นธรรม เกิดความเลื่อมล้ำในการเข้ารับการศึกษายังมีคนที่พลาดโอกาสและด้อยโอกาสที่จะเข้ารับการศึกษาอีกจำนวนมาก การศึกษาในปัจจุบันเป็นแบบแยกส่วนไม่สอดคล้องกับการดำรงชีวิตในสังคม การศึกษายังขาดการบูรณาการเชื่อมโยงและการบริหารจัดการศึกษาไทยยังขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

 

  ขอบคุณที่มาจาก

  http;//school.obec.go.th/sup_br3/ed_2.htn

  ดร. อัมมาร  สยามวาลา สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ)

 

หมายเลขบันทึก: 494623เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2012 08:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • "หนูสุภาพรBlank" คะ อาจาร์ชื่นชมในความกระตือรือร้นใฝ่รู้ใฝ่เรียนของหนู จากการที่หนูร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์/สังเคราะห์ และการเขียนสื่อความ ทุกอย่างที่อาจารย์ชี้แนะ อาจารย์เชื่อว่า อีกไม่นาน หนูก็จะเก่งในทักษะดังกล่าว ซึ่งจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ในการเรียนวิชาต่างๆ ในปัจจุบัน และการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งการทำงาน ค่ะ  

  • อาจารย์มีข้อชี้แนะบันทึกของหนูดังนี้นะคะ

  • อันดับแรกเลย หนูต้องรีบเพิ่มคำสำคัญอีกคำหนึ่ง คือคำว่า "การศึกษาไทย 2020" ตามที่โครงการกำหนดไว้ดังภาพล่าง บันทึกของหนูจึงจะได้รับการนับว่า เ็ป็นบันทึกตามคำสำคัญของโครงการสรอ.ขอความรู้ และจะไปปรากฏที่กรอบเฉพาะ หนูสังเกตไหมว่าบันทึกของหนูไม่ได้ไปปรากฏในช่องดังกล่าว เรื่องนี้สำคัญมากค่ะ

     เมื่ออ่านบันทึกของหนู ผู้อ่านซึ่งรวมถึงอาจารย์ จะแยกไม่ออกว่า ส่วนไหนเป็นส่วนที่หนูยกข้อความของ ดร. อัมมาร  สยามวาลา มา และส่วนไหนเป็นส่วนที่หนูเขียนเอง บันทึกที่อาจารย์ให้เขียนนั้น จะต้องมีส่วนที่นักศึกษาเขียนเองนะคะ อย่างน้อยก็ต้องเขียนเองในส่วนของบทนำและบทสรุป แล้วนำส่วนที่เราอ้างอิงมาเป็นเนื้อหา โดยอ้างชื่อผู้เขียนที่เรานำมาอ้างอิง เช่น หลังจากที่หนูเกริ่นนำ (นำข้อกำหนดของโครงการมากล่าวก็ได้) แล้วก็เขียนว่า ดังที่ ดร. อัมมาร  สยามวาลา สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) ได้แสดงแง่คิดไว้ดังนี้ (......ให้ Link บทความที่อ้างอิงไว้ในวงเล็บโดย Copy จากที่อยู่ข้างบนมาวาง เพื่อให้ผู้อ่านตามไปดูที่มาได้) แล้วก็ยกส่วนที่เราอ้างอิงมาใส่ในส่วนเนื้อหา ต่อจากนั้นก็ต้องมีบทสรุปที่เป็นความคิดของเราเอง ซึ่งอาจจะกล่าวเสริมหรือต่อเติมจากเนื้อหาที่อ้างอิงไว้

       

  • อาจารย์มีข้อติติงเพิ่มเติม ที่อาจารย์บอกว่า ก่อนลงให้ตรวจแก้ไขการพิมพ์ให้ถูกต้องก่อน และลงไปแล้วก็ต้องตรวจซ้ำ ถ้าพบที่พิมพ์ผิดต้องรีบเข้าไปแก้ไข อาจารย์จะไม่ตรวจให้ (จะประเมินให้คะแนนการพมพ์เลย) เรื่องนี้หนูไม่ผ่านนะ เพราะไม่ได้ทำตาม ยังมีที่พิมพ์ผิดอยู่มากซึ่งอาจารย์ประเมินไปแล้วตามที่แจ้งไว้ (ผิด 3 แ่ห่งขึ้นไปถือว่าบกพร่อง ผิด 5 แห่ง ประเมินให้ 0 ด้านการพิมพ์) หนูผิดอย่างน้อย 5 แห่ง คือ ...เป็นการศึกษาแบบองค์รวมบูรณาการเชื่อมยงกับเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม าสนา การเมือง...คำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นำคัญ...มุ่งยกระดับงานให้เป็นแรงงานคุณภาพ(knowledge workers)ที่เข้งแข็ง มีการกระจายอำนาจสู้เขตพื้นที่การศึกษา(ก่อนหลังวงเล็บต้องเคาะ 1 ครั้ง)
  • อีกอย่างที่ต้องแก้ไข คือ การพิมพ์ไม่เว้นวรรคในส่วนที่ควรเว้นหลายแห่ง เช่น ในสองบรรทัดแรก "การศึกษาไทยในปัจจุบันยังคงมุ่งเน้นการผลิตคนให้รับใช้สังคมเท่านั้นเนื่องจากหลักสูตรที่จัดทำออกมาไม่ได้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชนบททำให้คนเหล่านั้นก้าวจากสังคมชนบทไปตั้งหลักแหล่งในสังคมเมืองแทนที่จะกลับไปพัฒนาท้องถิ่นตนเอง" ต้องวรรคตรง...เนื่องจากหลักสูตร...และ...ทำให้คนเหล่านั้น

สู้ สู้ คะ เป็นกำลังใจให้

ขอขคุณทุกคำติชมมค่ะ หนูจะนำไปแก้ไข ปรับปรุงต่อไปค่ะ

หนูได้เข้าไปแก้ไขคำที่ผิดแล้วค่ะ และได้เขียนบันทึกใหม่แต่เนื้อหาก็ยังคงเหมือนเดิมแต่จะเพิ่มในส่วนที่เป็นความคิดเห็นของตนเองเข้าไปและไม่มีการยกเอาคำพูดของ ดร. อัมมาร สยามวาลา มาอยากให้ทุกคนลองเข้าไปอ่านดู ส่วนบันทึกนี้มีความผิดพลาดหลายประการอยู่ ผู้บันทึกจึงต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยเนื่องจากเป็นการเขียนใน gotoknow เป็นครั้งแรก ขอบคุณทุกกำลังใจและคำติชมของท่านอาจารย์ วิไล หนูได้นำไปปรับปรุงแล้วค่ะ

  • คำสำคัญไม่ถูก ผลการประเมิน 15/20 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท