พุทธวิธีการสื่อสาร คือ การสื่อสารตามหลักธรรมพระพุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์หรือยุคไอที


ต้องยอมรับว่า การสื่อสารของผู้คนในโลกใบนี้ เป็นการสื่อสารที่ไร้พรมแดน คือ การรับข่าวสาร เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ทันใจ และทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ และ จาก Web Site ต่าง ๆ เสนอข่าวความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น ข่าวการเมืองในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ฝ่ายผู้ร้องคือพรรคการเมืองฝ่ายค้านรวมกับวุฒิสภาสรรหา ร้องว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาลและวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นการแก้ไขสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญคือเป็นการแก้ไขเพื่อลบล้างระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุข ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญก็รับคำร้องตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการไต่สวนพยานของผู้ร้องและผู้ถูกร้อง หลังจากนั้นจะนัดคู่ความทั้งสองฝ่ายเสนอปิดคดีแล้วศาลจะตัดสินคดีในวันถัดไปผลการตัดสินจะออกมาอย่างไรทั้งสองฝ่ายควรจะยอมรับคำตัดสินนั้น

พุทธวิธีการสื่อสาร คือ การสื่อสารตามหลักธรรมพระพุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์หรือยุคไอที

          ต้องยอมรับว่า การสื่อสารของผู้คนในโลกใบนี้ เป็นการสื่อสารที่ไร้พรมแดน  คือ การรับข่าวสาร เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ทันใจ และทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์  และ จาก Web Site ต่าง ๆ  เสนอข่าวความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น ข่าวการเมืองในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ฝ่ายผู้ร้องคือพรรคการเมืองฝ่ายค้านรวมกับวุฒิสภาสรรหา ร้องว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาลและวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นการแก้ไขสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญคือเป็นการแก้ไขเพื่อลบล้างระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุข ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญก็รับคำร้องตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการไต่สวนพยานของผู้ร้องและผู้ถูกร้อง หลังจากนั้นจะนัดคู่ความทั้งสองฝ่ายเสนอปิดคดีแล้วศาลจะตัดสินคดีในวันถัดไปผลการตัดสินจะออกมาอย่างไรทั้งสองฝ่ายควรจะยอมรับคำตัดสินนั้น อย่างไร ก็ตามก็ขอให้การรับข่าวสารหรือบริโภคข่าวต่าง ๆ  จงเป็นไปด้วยการใช้วิจารณญาณ  ควรใช้ตรรกะในการพิจารณาแต่ละเรื่อง  ในส่วนของผู้นำเสนอข่าวสาร ต่อสาธารณะชนหรือในนามสื่อสารมวลชนนั้น จะต้องมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นหลักสำคัญในการนำเสนอข่าวแต่ละครั้ง พระพุทธเจ้าได้สอนเรื่องการพูดไว้ในหลักสัมมาวาจาหรือเจรจาชอบซึ่งเป็นศีลพื้นฐานสำหรับสื่อสารมวลชนและบุคคลทั่วไปซึ่งให้ปฎิบัติตามองค์ประกอบ๔ ประการคือ

๑.      ละมุสา คือเว้นการพูดเท็จรวมถึงสัจจวาจา พูดคำจริง

๒.     ละปิสุณาวาจา คือ เว้นการพูดส่อเสียด รวมถึงพูดคำสมานสามัคคี

๓.      ละผรุสวาจา คือ เว้นการพูดคำหยาบ รวมถึงพูดคำอ่อนหวานสุภาพ

๔.      ละสัมผัปปลาปะ คือ เว้นการพูดเพ้อเจ้อ รวมถึงพูดคำมีประโยชน์

อีกประการหนึ่งบุคคลทั่วไปและสื่อสารมวลที่เรียกว่านักข่าวจะต้องพูดหรือเสนอข่าวสารที่ประกอบไปด้วยหลัก ๕ ประการคือ[๑]

๑.      สัจจะ ได้แก่ เรื่องที่จะเสนอต่อมวลชนนั้น ต้องเป็นเรื่องจริง เสนอหรือส่งสารตามความเป็นจริง ไม่บิดเบือน

๒.     ตถตา ได้แก่ เรื่องแท้ เรื่องที่เสนอหรือส่งสารนั้นต้องเป็นเรื่องแท้ เสนอตามสภาพที่แท้จริงไม่คาดเดา ไม่แต่งแต้มใส่สี ใส่ไข่

๓.     กาละ ได้แก่ เรื่องที่เสนอนั้นต้องเหมาะสมกับกาลเวลา

๔.     ปิยะ ได้แก่เรื่องที่เสนอนั้นเป็นเรื่องที่คนชอบ หรือเสนอโดยวิธีที่ผู้รับสารชื่นชอบ

๕.     อัตถะ ได้แก่ เรื่องที่เสนอหรือส่งสารนั้นต้องเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่ในบางครั้งบางสถานการณ์ ผู้ส่งสารอาจต้องต้องพิจารณาด้วยปัญญาว่า บางเรื่องอาจไม่เหมาะสมกับเวลา อาจจะไม่เป็นที่ชอบใจของคนบางกลุ่มบางคน แต่เมื่อเสนอเรื่องนั้นไปแล้วเกิดประโยชน์ต่อมหาชน ผู้ส่งสาร อาจจะต้องกระทำ หรือควรกระทำ

คุณสมบัติของสื่อสารมวลชนตามแนวทางพระพุทธศาสนา อีกประการหนึ่ง จะต้องประกอบไปด้วยหลัก สัปปุริสธรรม ๗ ประการคือ[๒]

๑.      มี ธัมมัญญุตา เป็นผู้รู้ธรรมะ คือหลักการ หลักความจริง เนื้อหาสาระของเรื่องที่จะสื่อสาร รู้แจ้งแทงตลอดไนทฤษฎีและปฏิบัติในศาสตร์และศิลป์ของตนเอง

๒.     มี อัตถัญญุตา รู้จักเนื้อหาสาร ความหมาย ความมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ของการสื่อสารที่แน่นอนชัดเจน

๓.     มี อัตตัญญุตา รู้จักตนเอง รู้ว่าตนคือใคร มีความพร้อมหรือไม่พร้อมอย่างไร การรู้จักตนเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เมื่อเรารู้จักตนเองดีแล้ว จะนำไปสู่การยอมรับตนแล้วจะเปิดเผยตน สามารถสื่อสารภายในตนได้อย่างดียิ่งผู้สามารถสื่อสารภายในได้ดีจะเป็นคนที่สามารถรับรู้ วิเคราะห์สังเคราะห์ และมีวิจารณญาณที่สุขุมรอบคอบ มีเหตุมีผลทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพยิ่ง

๔.     มี มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ รู้จักความพอดี การสื่อสารบางอย่างหากมากเกินไป ผู้รับสารก็รับไม่ได้ หากน้อยเกินไปก็ไม่เพียงพอ การรู้จักประมาณในการสื่อสารคือไม่ส่งสารซ้ำซากมากเกินไป น้อยเกินไป จึงเป็นคุณสมบัติประการสำคัญอีกประการหนึ่งของผู้ส่งสาร

๕.     มี กาลัญญุตา รู้จักเวลา ผู้ส่งสารต้องรู้จักเวลาในการสื่อสารว่าเวลาไหนควรเวลาไหนไม่ควร หากผู้ส่งสารไม่รู้จักเวลาในการสื่อสารแม้ว่าจะเป็นการสื่อสารภายในตน การสื่อสารระหว่างบุคคล หรือการสื่อสารมวลชน นอกจากการสื่อสารนั้นจะไม่ประสบความสำเร็จแล้วบางทียังอาจมีเรื่องมีราวตามมาด้วย หากเราย้อนดูประวัติศาสตร์ แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ดัง ๆ ของโลกยังต้องได้รับโทษจากการประกาศสัจธรรมในเวลาที่ไม่เหมาะสม

        สรุป ผู้สื่อสารที่ดีจะต้องมีทักษะพื้นฐานในด้านการสื่อสาร เช่น การใช้ภาษาในการสื่อสาร ในเรื่องการออกเสียง การเข้าใจความหมายของคำ การใช้ประโยค การใช้ถ้อยคำในการส่งสาร การใช้ประโยคในการส่งสาร และการรับสาร นอกจากนั้นหลักการพระพุทธศาสนายังกล่าวถึงคุณสมบัติของผู้ส่งสารที่พึงประสงค์ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ประการอีกด้วย.

 

หมายเลขบันทึก: 494312เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2012 15:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กรกฎาคม 2012 15:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท