ผู้ปฏิบัติงานสายสนับสนุน กับการศึกษาไทยในปี 2020


ก้าวต่อไปของการศึกษาไทยในปี 2020 นี้ อาจไม่ได้หยุดเพียงแค่ในห้องเรียนหรือในตำราเรียนเท่านั้น แต่หากแต่การศึกษาเพื่อชีวิต ตลอดชีวิต เรียนรู้ได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติศาสนา ทุกที่ ทุกเวลา อย่างไม่มีข้อจำกัดทางการศึกษาใดๆ เป็นการเรียนรู้สำหรับทุกคน (Learns for All) ด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน

         เรื่องของการศึกษาไทยในปี 2020 หรือ พ.ศ.2563 นั้น เรียกว่า “การศึกษาภายใต้บริบทแห่งความเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทย” ก็ว่าได้ ซึ่งผู้เขียนจะมองในมุมมองของผู้เขียนเอง ใน 2 มุมมองคือ มุมมองของการศึกษาในปัจจุบัน และ มุมมองของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทยใน ปี 2563 

          แต่ก่อนที่ผู้เขียนจะพูดถึงทั้ง 2 มุมมองนั้น เนื่องจากเรื่องการศึกษาไทยในปี 2020 เป็นหัวข้อที่ค่อนข้างกว้างมาก หากมองในภาพรวมจะเห็นได้ว่าเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นครูอาจารย์ นักเรียนนักศึกษา ตลอดจน บุคลากรทางการศึกษา เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านต่างๆ ในสถานศึกษา ก็ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้  ซึ่งเรื่องนี้ผู้เขียนจะเขียนเกี่ยวกับมุมมองของผู้ปฏิบัติงานสายสนับสนุนทางการศึกษาเพื่อเตรียมพร้อมในเรื่องการศึกษาไทย พ.ศ. 2563 อย่างไร

           ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ผู้ปฏิบัติงานสายสนับสนุนทางการศึกษาเกี่ยวข้องนั้น นั่นคือ การปรับตัว หรือการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้มีความพร้อมรับการศึกษาไทยในปี พ.ศ.2563 ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากร ทั้งด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านการสื่อสาร ซึ่งจะเห็นได้ว่าทั้งสองด้านมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน นั่นคือการพัฒนาความพร้อมในด้านคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ ทั้งในเรื่องตัวระบบ อุปกรณ์ และผู้ใช้งาน ซึ่งอาจต้องเสริมการพัฒนาด้านความคิดสร้างสรรค์ให้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้ง่าย สะดวก และช่วยให้สามารถตัดสินใจได้เร็วยิ่งขึ้น  ซึ่งในเรื่อง เทคโนโลยี จึงเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานควรตระหนัก

            อีกสิ่งหนึ่ง นั่นคือ เรื่องของการสื่อสาร เป็นที่ทราบกันดีว่า โลกปัจจุบันไร้พรมแดน มีการติดต่อสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็ว การรวมกลุ่มประชาคมต่างๆ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในวงกว้างอย่างรวดเร็ว ฉะนั้น ปัญหาสำคัญนั่นคือ ทำอย่างไรถึงจะสามารถสื่อสารให้เข้าใจซึ่งกันและกัน นั่นคือ ภาษากลาง ที่คนทั่วโลกใช้สื่อสาร อาทิ ภาษาอังกฤษ ,ภาษาจีน เป็นต้น จึงจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติงานควรให้ความสนใจ

           เรื่องทั้งสองจึงควรให้ความสนใจควบคู่กัน มิใช่เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น

         ถึงแม้ว่าปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่มักพบเห็นคือ การให้ความสนใจหรือเอาใจใส่ในเรื่องดังกล่าวเพียงบางเรื่องเท่านั้นหรือยังไม่จริงจัง

           เพราะอาจมองว่าเรื่องคอมพิวเตอร์มีความจำเป็นมากกว่าเรื่องภาษา ซึ่งเป็นเรื่องไม่จำเป็นเร่งด่วนเมื่อเทียบกับเรื่องอื่นๆ หรืออาจมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องความสนใจเฉพาะบุคคล ซึ่งอาจเห็นเป็นเรื่องเรียนเพื่อรู้ แต่อาจไม่ได้ใช้จริงกับงานหรือในชีวิตประจำวันเสียเท่าไหร่ หรือใช้กับงานไม่ได้เพราะงานบางงานอาจไม่มีการใช้เลย หรือใช้น้อยมากซึ่งเมื่อเทียบกับเรื่องอื่นที่มีความจำเป็นมากกว่า การพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถในเรื่องดังกล่าวเลยดูไม่จำเป็น หรือจำเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น 

         หรือแม้กระทั่งเรื่องความไม่พร้อม เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ ทั้งตัวระบบ อุปกรณ์ และผู้ใช้งานเองก็เช่นกัน เช่นมีอุปกรณ์แต่ไม่สามารถใช้งานได้หรือ มีระบบแต่เกิดข้อผิดพลาดบ่อยครั้ง ใช้งานไม่ได้ หรือมีอุปกรณ์แต่ไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ใช้งาน เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นปัจจัยทำให้การเอาใจใส่หรือความสนใจใฝ่รู้ต่อเรื่่องดังกล่าวลดลง

          ซึ่งหากมองในมุมของการเรียนรู้ สิ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวอาจต้องเน้นที่ตนเองนั่นคือ การสร้างทักษะ 1 ในเรื่องต่างๆ เช่น

  • การสร้างความเข้าใจในสังคมโลก (Global Awareness) ควบคู่กับ ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Technological Literacy)และด้านข่าวสารข้อมูล (Information Literacy)
  • การปรับตัว (Adaptability)
  • ความสนใจใฝ่รู้ (Curiosity) ควบคู่กับความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
  • การสร้างมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal) ควบคู่กับการสื่อสารระหว่างบุคคล (Interactive communication) 
  • ความสามารถในการใช้เครื่องมือจริงที่มีอยู่จริง (Effective Use of Real-World Tools)
    ซึ่งสิ่งที่สำคัญ นั่นคือ แรงจูงใจในการเรียนรู้ ซึ่งอาจต้องอาศัยปัจจัยหลายๆ อย่างเช่น การกำหนดเป้าหมายของตนเองที่ต้องอาศัยความรับผิดชอบในตนเอง ความกล้าที่จะเสี่ยงที่จะลองในสิ่งใหม่ เพื่อพัฒนาความสามารถที่จะผลิตผลงานที่มีคุณภาพสูง เป็นต้น

           อย่างไรก็ตาม การศึกษาในปี 2020 เราอาจจะได้พบได้เห็นนักเรียน นักศึกษาจากหลายประเทศในอาเซียนหรือจากชาติอื่นๆ เพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานสนับสนุนทางการศึกษาจึงอาจมีบทบาทสำคัญในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี คอยให้คำปรึกษาแนะนำ ประชาสัมพันธ์ และเป็นผู้ให้บริการ ควบคู่ไปด้วย 

          ท้ายนี้ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ก้าวต่อไปของการศึกษาไทยในปี 2020 นี้ อาจไม่ได้หยุดเพียงแค่ในห้องเรียนหรือในตำราเรียนเท่านั้น แต่หากแต่การศึกษาเพื่อชีวิต ตลอดชีวิต เรียนรู้ได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติศาสนา ทุกที่ ทุกเวลา อย่างไม่มีข้อจำกัดทางการศึกษาใดๆ เป็นการเรียนรู้สำหรับทุกคน (Learns for All) ด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ขอเป็นกำลังใจเพื่อพัฒนาการศึกษาไทยครับ

8/7/2555

อ้างอิงและศึกษาเพิ่มเติม

1 ทักษะที่ได้จากห้องเรียนคุณภาพ. 2552. ชูศักดิ์ ประเสริฐ. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2555 จาก http://www.chusak.net/articles/345505/ทักษะที่ได้จากห้องเรียนคุณภาพ.html

หมายเลขบันทึก: 493926เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2012 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2012 10:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะน้องชายแวะมาทักทายด้วยความคิดถึงนะคะสบายดีนะคะ พี่กำลังรอลุ้นผลสอบครูผู้ช่วยอยู่ค่ะ

เห็นด้วยครับ ความสำคัญของการศึกษาไทยยังคงอยู่ที่ตัวบุคคล ครอบครัวของผู้ตระหนัก และใฝ่รู้ นะครับ

  • เป็นแนวคิดที่ดีมากค่ะ
  • "การศึกษาเพื่อชีวิต ตลอดชีวิต เรียนรู้ได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติศาสนา ทุกที่ ทุกเวลา อย่างไม่มีข้อจำกัดทางการศึกษาใดๆ เป็นการเรียนรู้สำหรับทุกคน (Learns for All) ด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน"

การศึกษาในอนาคต สื่อ สำคัญ โดยเฉพาะ อินเตอร์เน็ต ต้องสะดวกรวดเร็ว ที่ รร.ก่อนที่ผมยังไม่เกษียณ เข้าไม่ได้ เกษียณแล้วเหมือนเดิม แต่ใช้งบปรับปรุงเกือบล้านบาท...

สวัสดีครับ พี่หมูจ๋า Blank

  • ขอให้ประสบความสำเร็จตามปรารถนานะครับ
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาให้กำลังใจครับ

สวัสดีครับท่าน เพชร พรหมสูตร์ Blank

  • การศึกษาจะเป็นอย่างไรในอนาคต แต่ทว่าการเรียนรู้จะพัฒนาหรือไม่ อยู่ที่ความใส่ใจของผู้ปฏิบัติงานเป็นหลักครับ ตรงนี้หากมองในภาพรวมแล้ว คงต้องสร้างความตระหนักรู้ในบริบทแห่งความเปลี่ยนแปลงด้วยครับ
  • ขอบคุณมากครับสำหรับข้อคิดเห็นและดอกไม้ให้กำลังใจครับ

พี่ Sila Phu-Chaya Blank

  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาให้กำลังใจครับ

สวัสดีครับ ท่าน แว่นธรรมทอง Blank

  • ปัญหาโดยรวม ไม่เป็นจากตัวระบบสารสนเทศ ตัวโปรแกรม ก็อาจเกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่าย
  • แต่การแก้ปัญหา ต้องแก้จากตัวบุคลากรผู้ปฏิบัติงานเอง ซึ่งอาจจะมีจำนวนไม่เพียงพอหรือขาดบุคลากรที่รับผิดชอบหรือบุคลากรขาดความรู้ชำนาญความเชี่ยวชาญเพียงพอ ซึ่งอาจทำให้เกิดความล่าช้า...
  • ตามความคิดเห็นของผมนะครับ เห็นว่าเวลาอีก 8 ปีข้างหน้า มีค่ามากทีเดียวครับ ในการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการศึกษาไทยในปี 2020 ที่จะถึงนี้ครับ
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้กำลังใจครับ

ขอบพระคุณ ท่านอาจารย์ และพี่ๆ ทุกท่านที่มอบดอกไม้ให้กำลังใจครับ ขอบพระคุณมากครับ :-)

 

Blank    Sila Phu-Chaya
Blank    จันทวรรณ
Blank    ...ปริม pirimarj...
Blank    แว่นธรรมทอง
Blank    EGA
Blank    ครูอ้อย แซ่เฮ
Blank    อาจารย์ สุพจน์ สกุลแก้ว
Blank    หยั่งราก ฝากใบ
Blank    นาย เพชร พรหมสูตร์
Blank    หมูจ๋า

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท