การบริการ (Service)


การบริการ (Service)

 

 

การบริการ (Service)

               หมายถึง กระบวนการของการปฏิบัติเพื่อให้ผู้รับบริการได้รับความสุข ความสะดวก ความสบาย ความพึงพอใจอันเป็นการกระทำที่เกิดจากจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยความปรารถนาดี การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ความเอื้ออาทร ความมีน้ำใจไมตรี การให้ความเป็นธรรมเสมอภาคอาจรวมไปถึงการไม่เลือกปฏิบัติ

               การบริการ มีทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ

               ความหมายของคำว่า "Service" 

               - ความยิ้มแย้ม เอาใจเขามาใส่ใจเรา เห็นใจจำเป็นของผู้รับบริการ

               - การตอบสนองความประสงค์ของผู้รับบริการอย่างรวดเร็ว

               - การแสดงออกถึงการให้เกียรติแก่ผู้รับบริการ

               - การให้บริการอย่างเต็มใจ

               - การรักษาภาพพจน์ของผู้ให้บริการของส่วนราชการ

               - ความมีไมตรีจิตในการให้บริการ

               - ความกระตือรือร้นในการให้บริการ

               ในโลกของการทำงานในยุคปัจจุบันนี้ ไม่ว่า ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่ที่ทำงานให้กับภาครัฐ ไม่ว่าจะสายวิชาการ สายสนับสนุน หรือแม้แต่ภาคเอกชน หน้าที่ "การบริการ" ก็ถือได้ว่าเป็นอีกหน้าที่หนึ่งของบุคคลเหล่านี้...ยิ่งคนที่ทำงานภาครัฐด้วยแล้ว ถือได้ว่า "การบริการ" เป็นหน้าที่ที่สำคัญยิ่งที่ทุกคนต้องตระหนักเสมอว่า ต้องทำหน้าที่ "บริการ" ให้กับทุก ๆ คน ที่ตนเองได้ทำงานให้กับภาครัฐ

               เพราะยิ่งภาครัฐปลูกฝังค่านิยมใหม่ให้กับข้าราชการไทย โดยที่การเป็นข้าราชการที่ดีนั้น ต้องไม่มีคำว่า "การเป็นจ้าวคน นายคน" ยิ่งแล้ว หน้าที่หนึ่งที่ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ภาครัฐต้องปฏิบัติก็คือ "การให้บริการ" ต่อผู้ที่มาติดต่อราชการ...บางคนก็อาจเข้าใจไขว้เขวว่า "ตนเองเป็นอาจารย์แล้วไม่ต้องมีหน้าที่ให้บริการ"...ผู้เขียนคิดว่าเป็นการที่เข้าใจผิดหรือเข้าใจไม่ถูกต้อง...เพราะการบริการก็ถือเป็นหน้าที่หนึ่งของการเป็นข้าราชการหรือบุคลากรที่ทำงานภาครัฐ...ให้ลองนึกทบทวนดูก็ได้ว่า ถ้าตัดคำว่า "การเป็นข้าราชการไม่ใช่การมาทำงานเป็นนายประชาชน" แล้ว หน้าที่ของข้าราชการ คือ อะไร?...ในเมื่อมาทำงานแล้ว สิ่งที่ได้รับเป็นค่าตอบแทน นั่นคือ เงินเดือน ค่าจ้าง แล้วสิ่งที่ท่านกระทำตอบแทนเงินเดือน ค่าจ้าง นั่นคืออะไร?...ถ้าไม่ใช่คำว่า "การให้บริการที่ดี" ต่อประชาชนหรือผู้มาติดต่องาน ต่อนิสิต ต่อนักศึกษา ต่อบุคลากรที่มาขอรับบริการ...

              สังเกตได้จากการที่ตัวเราเคยไปติดต่อยังส่วนราชการต่าง ๆ สิ่งที่พบเห็น ในสมัยก่อนตัวเราแทบจะก้มหัวหรือกราบเลยในการไปติดต่องานที่เกี่ยวกับงานของราชการ แต่ยุคปัจจุบันภาครัฐได้นำเรื่อง จิตสำนึกในการเป็นข้าราชการที่ดี ความหมายของการเป็นข้าราชการที่ดี หน้าที่ของข้าราชการที่ดีมาเผยแพร่แล้ว ผู้เขียนเห็นว่าระยะนี้อาจเป็นช่วงการปรับเปลี่ยนหรือรอยต่อของการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้เห็นภาพ "การบริการ" ที่ดีนั้นยังไม่มากเท่าที่ควร ในบางแห่งก็ยังใช้แบบฉบับแบบเดิม ๆ การให้บริการก็ยังไม่เป็นที่ประทับใจมากนัก แต่บางแห่งก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น ทั้งนี้ ผู้เขียนคิดว่า ต้องขึ้นอยู่กับผู้นำหรือผู้บริหารด้วยที่จะนำเรื่องการปรับเปลี่ยนเข้าไปใช้ในระบบราชการให้มากขึ้น เพราะไม่เช่นนั้น การบริการที่ดีที่ภาครัฐต้องการ + หวังให้เป็นก็จะเหมือนเดิมไม่มีการปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นหรือมีการพัฒนาให้ดีขึ้นเลย...

               บางคนที่ทำงานภาครัฐแต่ไม่ได้เป็นข้าราชการ ก็ยังพลอยเป็นไปด้วย คือ ไม่ได้ยึดหลักของการให้บริการที่ดีด้วยแล้ว พอมองเห็นกิริยาแล้ว ก็ดูไม่งามตา สมกับที่ภาครัฐต้องการให้ปรับเปลี่ยนในเรื่องของการให้บริการที่ดีเลย...อาจหลงลืมตนไปก็ได้ว่า "เมื่อทำงานของภาครัฐแล้ว ตนเองต้องเป็นนายก็ว่าได้"...แบบนี้ ทำให้ผู้ที่รู้และไปติดต่อเห็นแล้วเขาจะนึกสมเพท เวทนา ก็เป็นได้...

              จึงทำให้เห็นได้ว่า เป็นเรื่องที่ยากที่จะฝึกหรือสอนคนให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเช่นนี้ให้มีการเข้าใจที่ถูกต้องและถูกทางได้ คิดว่า "คงต้องอาศัยระยะเวลา" กระมังในการที่จะนำเข้ามาปรับเปลี่ยน...แต่ผู้เขียนก็ไม่ต้องการให้ใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนให้มากเกินไปนัก เพราะจะเรียกว่า "เป็นการเสียเวลา" ในการพัฒนาประเทศไปด้วย...




หมายเลขบันทึก: 493835เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2012 09:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กรกฎาคม 2012 10:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การบริการที่ดีสำคัญผมนะครับ...คือ การที่ผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ..มีความเอื้ออาทร และเห็นอกเห็นใจกันนะครับ...เริ่มต้นง่ายๆ โดยรอยยิ้มทั้งสองฝ่ายครับ...ขอบคุณบันทึกที่ดีครับ

  • ค่ะ คุณ Blank 
  • จริง ๆ แล้ว ถ้าทุกคนต่างฝ่ายต่างรู้หน้าที่กันแล้ว ก็น่าจะ win win กันทั้งคู่นะคะ แต่ที่เห็น ๆ ไม่ค่อยรู้หน้าที่และบทบาทกันค่ะ ว่าควรปฏิบัติตนอย่างไร...บางคนก็หลงลืมตนไปค่ะ พอเป็นข้าราชการแล้วก็ หลง เหลิง ในบทบาทที่ได้รับกันค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ พี่ krugui Blank
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท