หินแร่ภูเขาไฟที่ใช้จับกลิ่นในคอกสัตว์ ดัดแปลงทดแทนปุ๋ยเคมี ลดต้นทุน


วิธีการที่คุณปรารถนา พรมสินนำไปใช้ คือการใช้หินแร่ภูเขาไฟ “ภูไมท์” 1 ลูก (20 กิโลกรัม) ผสมกับปุ๋ยคอก (ในส่วนของปุ๋ยคอกไม่มีปริมาณที่ชัดเจน) คือ ที่บ้านเลี้ยงวัวด้วย ก็นำมูลวัวมา ตากแดด แล้วนำภูไมท์มาหว่านโรยให้ทั่วมูลวัว และผสมให้เข้ากัน

คุณปรารถนา พรมสิน  เลขที่ 96  ม.9  บ้านหินกอง ต.นาหว้า อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ 37180        โทร. 086-2634191, 081-3471840 ใช้ภูไมท์หว่านใส่ลงในแปลงนาข้าวและสวนยางเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตทั้งข้าวและยาง อีกทั้งปรับปรุงบำรุงดินให้มีแร่ธาตุซิลิก้า (Sio2) และสารอาหารต่างๆจากหินแร่ภูเขาไฟที่พร้อมต่อการย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยให้พืชดูดนำไปใช้ได้ง่าย โดยจำลองพื้นที่เพาะปลูกของตนเองให้คล้ายภูเขาไฟเก่าแถบประเทศ ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย (เกาะบาหลี), ญีปุ่น, คาซัคสถาน และประเทศอื่นๆ ที่มีพื้นที่ภูเขาไฟเก่าใช้เพาะปลูกจำนวนมากไม่ต้องซื้อ ประเทศที่มีพื้นที่หินแร่ภูเขาไฟน้อยและขาดแคลนสารอาหารจากการเพาะปลูกมาเป็นระยะเวลานาน สิ่งหนึ่งที่จะช่วยประหยัดต้นทุนจากการซื้อปุ๋ยเคมีคือการใช้สารปรับปรุงบำรุงดินที่มีแร่ธาตุและสารอาหารใกล้เคียงแต่มีราคาประหยัดกว่า

 

 วิธีการที่คุณปรารถนา  พรมสินนำไปใช้ คือการใช้หินแร่ภูเขาไฟ “ภูไมท์”  1 ลูก (20 กิโลกรัม) ผสมกับปุ๋ยคอก (ในส่วนของปุ๋ยคอกไม่มีปริมาณที่ชัดเจน) คือ ที่บ้านเลี้ยงวัวด้วย ก็นำมูลวัวมา ตากแดด แล้วนำภูไมท์มาหว่านโรยให้ทั่วมูลวัว และผสมให้เข้ากัน ตักมูลวัวที่ผสมภูไมท์แล้วใส่กระสอบปุ๋ย หนักประมาณ 40 กก. ได้ประมาณ 30 กระสอบ  เก็บไว้หว่านในนาข้าว (ข้าวหอมมะลิ 105 และ กข. 6 ข้าวเหนียว)  

 

ผลที่ได้รับ เห็นได้ชัดเลยว่าดินดี ถอนต้นกล้าได้ง่าย ต้นข้าวรากยาว มีสีเขียวสม่ำเสมอทำนา 60 ไร่ ได้ผลผลิต สูงสุด 105 กระสอบ/ไร่ ตกกระสอบละ 50 กก. สำหรับสวนยางนำปุ๋ยคอกที่ผสมภูไมท์แล้วมาหว่าน รู้สึกดินร่วนซุยดีมากเหยียบลงไปบนดิน รู้สึกดินนุ่มมากรากยางเยอะ ยาว หากินได้ไกล (ยางมี ประมาณ 1,000 ต้น)  ช่วยลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมีลงไปได้มากพอสมควร เกษตรกรท่านสนใจแนวทางการลดต้นทุนด้วยแนวทางและวิธีปฏิบัติแบบคุณปรารถนา ก็สามารถติดต่อสอบถามพูดคุยได้ดังรายละเอียดที่ให้ไว้ด้านบนนะครับ

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 493767เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2012 17:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กรกฎาคม 2012 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ๆนะคะมีประโยชน์จริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท