เต้นด้วยความสุขกับนักกิจกรรมบำบัดญี่ปุ่น


ขอบพระคุณทีมอาจารย์นักกิจกรรมบำบัดชาวญี่ปุ่นที่นำเสนอ "กิจกรรมบำบัดด้วยการเต้น" ให้กับทีมอาจารย์นักกิจกรรมบำบัดและนักกายภาพบำบัด ม.มหิดล

ประสบการณ์ที่ดีมากๆ ตั้งแต่ 8.30-13.30 น. ที่ทีมอาจารย์นักกิจกรรมบำบัดชาวญี่ปุ่นจำนวน 11 ท่าน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง "กิจกรรมบำบัดด้วยการเต้น" ที่ผ่านงานวิจัยที่ประสบผลสำเร็จในผู้ป่วยพาร์กินสัน ผู้ป่วยจิตเภท และผู้ป่วยสมองเสื่อม

ลองคลิกอ่านบทคัดย่อในงานประชุมกิจกรรมบำบัดโลกที่ชิลี  

Acknowledgement

1. Professor Hideki Miyaguchi Ph.D.,MS.,OTR.

2. Lecturer Chinami Ishizuki Ph.D.,MS.,OTR.

Graduate School of Biomedical &Health Sciences 

Division of Occupational Therapy, Hiroshima University,

3. Hajime Nakanishi MS.,OTR.

Hiroshima University Hospital

4. Lecturer Hiroko Hashimoto, MS.,OTR.

Division of Occupational Therapy. Aino University

5. Associate Dean Youko Morimitsu, OTR.

6. Lecturer Katsuhiko Arihisa MS., OTR.

Department of Occupational Therapy, Kitakyusyu Rehabilitation College ,

7. Yuki Takano, Editor

The Japanese Journal of Occupational Therapy

MIWA-SHOTEN Ltd.(publisher)

8. Kaori Anji 

Sales and marketing department

MIWA-SHOTEN Ltd.

and 3 coordinators/translators

ความรู้ที่ดร.ป๊อป ได้รับคือ

  • ประเทศญี่ปุ่นมีโรงเรียน/คณะในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยที่เปิดหลักสูตรปริญญาตรีกิจกรรมบำบัดมีมากกว่า 30 แห่ง สามารถผลิตนักกิจกรรมบำบัดปีละมากกว่า 6,000 คน ปัจจุบันมีนักกิจกรรมบำบัดทั่วไป + เฉพาะทางโรค/วัย รวม 50,000 คน มีมานานกว่า 50 ปี ซึ่งมีระบบเรียน 3 ปี (เทคนิคผู้ช่วยนักกิจกรรมบำบัด) โอนต่อยอดระบบเรียน 4 ปี (นักกิจกรรมบำบัด) และศึกษาเฉพาะทางในระดับหลังปริญญา ขณะที่ไทยมีเพียง 2 แห่ง คือ มช. และ ม.มหิดล ผลิตบัณฑิตได้ไม่เกิน 120 คนต่อปี ปัจจุบันมีนักกิจกรรมบำบัดทั่วไป เพียง 700 คน (อีก 100 คน เปลี่ยนอาชีพ) มีมานานกว่า 30 ปี และมีระบบเรียนป.ตรี โท เอก ปกติ สาเหตุที่แตกต่างกันคือ นโยบายของรัฐบาลที่ไม่ส่งเสริมการผลิตบุคลากรสาขากิจกรรมบำบัด และไม่มีการทำงานแบบสหวิชาชีพที่เข้าใจบทบาทนักกิจกรรมบำบัดมากนัก
  • ความมุ่งมั่นในการพัฒนาวิชาชีพกิจกรรมบำบัดในญี่ปุ่น คือ การทำงานสร้างสรรค์โปรแกรมใหม่ๆ ในฐานะประเทศที่พัฒนาแล้ว จึงมาเผยแพร่ช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนาต่อไป และยังสนใจเรียนรู้โปรแกรมใหม่ๆ ในประเทศไทย ซึ่งมีนวัตกรรมทางกิจกรรมบำบัดบ้าง แต่ยังเป็นที่รู้จักในนักวิชาชีพแค่นั้นยังไม่ทำให้ประชากรไทยเข้าถึงได้มากนัก
  • ระบบการทำงานของนักกิจกรรมบำบัดญี่ปุ่นมีความคล้ายคลึงกับไทย แต่ความยืดหยุ่นทางกิจกรรมบำบัดศึกษา ที่ให้โอกาสผู้เรียนหลายสาขาวิชา/เทคนิคเข้าเรียนต่อทางกิจกรรมบำบัดได้ในญี่ปุ่น แต่ในไทยยังจำกัดแค่ระดับปริญญาตรีต่อยอดในสาขาเดียวกันเท่านั้น
  • ผู้ที่สอบผ่านใบประกอบโรคศิลป์กิจกรรมบำบัดในญี่ปุ่นประมาณ 70-90% แต่ในไทยประมาณ 60% 
  • ความมีชีวิตชีวาของนักกิจกรรมบำบัดญี่ปุ่นนั้นดูดีกว่าไทยมาก เห็นได้จากการจัดสวัสดิการให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย/จิตสังคม ในระยะแรกของโรค ได้รับบริการทางกิจกรรมบำบัดในรพ.และคลินิกกิจกรรมบำบัด ในช่วง 3 เดือนแรก แล้วเข้าถึงการทำกิจกรรมบำบัดในชุมชนพร้อมสหวิชาชีพอื่นๆ ได้เต็มประสิทธิผล แต่ในไทยกำลังพัฒนาระบบกฎหมายและยังขาดแคลนอยู่มากในระบบสุขภาวะชุมชน และยังไม่สามารถเปิดคลินิกได้ เว้นแต่เปิดเป็นศูนย์สุขภาพร่วมกันแพทย์ไทย

 

 

หมายเลขบันทึก: 493238เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2012 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 11:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ข้อสังเกตอีกข้อ คือ กิจกรรมบำบัดในประเทศญี่ปุ่นจะเรียนร่วมกับกายภาพบำบัด พยาบาล และวิทยาศาสตร์การแพทย์อื่นๆ ภายใต้ชื่อ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ ขณะที่ประเทศไทยแยกออกเป็นแต่ละวิชาชีพที่มีกฎหมายรองรับ แล้วให้บริการสุขภาพแยกสาขาวิชาชีพ ไม่เป็นสหวิชาชีพเท่าที่ควร

ขอบคุณมากครับคุณหมอ ป. และคุณ Sila Phu-Chaya

คำว่า Lecture หน้าชื่อบางท่านน่าจะเป็น  Lecturer ไหมคะ

ขอบคุณมากครับพี่โอ๋ เป็นต้นฉบับของชาวญี่ปุ่นที่ส่งมาให้ครับ เลยไม่ได้ดูครับ และได้แก้ไขให้แล้วครับผม

ได้มีโอกาสเข้าฟังการบรรยายที่สถาบันประสาทมาค่ะ ประทับใจมาก จะลองกลับไปอ่านและนำมาใช้กับผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังและเริ่มมีภาวะสมองเสื่อมดู

หนูทันได้ทำกิจกรรมการเต้น Dance Therapy ที่ได้มาแลกเปลียนเรียนรู้กับนักกิจกรรมบำบัดญี่ปุ่น ที่คณะกายภาพบำบัดมหิดล กิจกรรมการเต้นที่นักกิจกรรมบำบัดญี่ปุ่นได้นำเต้น ท่าแต่ละท่าในการเต้น จะเป็นท่าที่ใครๆก็คุ้นเคย นั่นก็คือท่าทางจาก การเลียนแบบกิจวัตรประจำวันในการดำรงชีวิตของเรานั่นเอง เช่นท่าขัดตัว ถูตัว ด้วยผ้าขนหนู ท่าซักผ้า ท่าบริหารตอนนั่งพักขณะทำงาน ท่าเช็ดพื้น ปัดฝุ่น เป็นต้น ซึ่งในชีวิตประจำวันของเราก็สามารถนำท่าทางต่างๆ ไปกายบริหาร ออกกำลังกาย ไปแนะนำให้ผู้ป่วยประเภทต่างๆ ให้ตระหนักถึงการออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น โดยสามารถนำท่าทางการทำกิจวัตรประจำวัน ซึ่งเป็นท่าทางพื้นฐานที่ง่ายๆที่ทุกคนก็สามารถทำได้ลองไปใช้กันค่ะ Dr. Pop

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท