หิวก็เข้าป่า ป่วยก็เข้าป่า


"เพราะถิ่นทุรกันดาร ความห่างไกลจากสถานพยาบาล และการเดินทางที่ค่อนข้างลำบาก เราจึงต้องพึ่งพาอาศัยผืนป่า เพื่อเอาตัวรอดในการดำรงชีวิต"

 

   ตลอดระยะเวลาที่ได้เข้าไปคลุกคลีและใช้ชีวิตกับชาวบ้านในถิ่นทุรกันดาร ได้มีโอกาสได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องสมุนไพรด้วยโดยมีปราชญ์ชาวบ้านเป็นผู้ถ่ายทอด มีพวกเรา และเด็ก ๆ เยาวชนในหมู่บ้านเป็นผู้เรียนรู้ พบว่าชาวบ้านมีภูมิปัญญาเกี่ยวกับการนำพืชสมุนไพรมาใช้รักษาโรคหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วยมากมาย มากกว่า 70 ชนิด ทุก ๆ ครั้งที่เข้าป่าเพื่อทำการศึกษา สำรวจ เก็บตัวอย่าง และเก็บพิกัดของพืชสมุนไพร มักจะพบว่ามีความเชื่อเกี่ยวกับการเก็บพืชสมุนไพรมาใช้เสมอ  โดยสรุปสั้น ๆ ได้ ดังนี้
     1. พืชสมุนไพรเลขคี่(7 ,9 ,11 ,...) และต้องตั้งแต่ 7 ชนิดขึ้นไป ประกอบด้วยพืชสมุนไพร 3 ประเภท คือ พืชหนาม พืชรสเปรี้ยวและพืชมีขน รวมกันแล้วต้องเป็นเลขคี่เท่านั้น! โดยนำพืชเหล่านี้มาต้มรวมกันแล้วอาบเพื่อบรรเทาอาการป่วยเป็นไข้ตัวร้อน : อาจเป็นเรื่องของกุศโลบาย ส่วนทำไมต้อง 7 ชนิดขึ้นไปนั้น อาจจะเป็นเพราะว่าตัวยายิ่งมากก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย และทำไมต้องใช้พืชมีหนาม มีขนพืชรสเปรี้ยว?ปราชญ์เล่าให้ฟังว่าในชีวิตจริงนั้น ทั้งขน หนามและความเปรี้ยวนั้น เป็นสิ่งที่นำมาใช้ขจัด ปัดเป่า หรือชะล้างสิ่งสกปรกออกไป การนำมาใช้กับสมุนไพรก็เช่นกันปราชญ์มีความเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยขจัดปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บที่อยู่ในร่างกายออกไปด้วย โดยส่วนตัวคิดว่า น้ำต้มจากสมุนไพร น่าจะช่วยขจัดเหงื่อหรือสิ่งสกปรกตามร่างกายคนป่วยได้ ซึ่งเป็นกุศโลบายให้ผู้ป่วยอาบน้ำนั่นเอง

    2. พืชสมุนไพรบางอย่าง ต้องให้เฉพาะผู้ชายหรือผู้หญิงไปเก็บเท่านั้น (ถ้าผู้ชายมีอาการไอจากไข้หวัดให้ผู้ที่เป็นลูกสาวตนโตหรือลูกสาวคนเล็กไปเก็บ ถ้าผู้หญิงมีอาการไอจากไข้หวัดให้ผู้ที่เป็นลูกชายตนโตหรือคนชายเล็กไปเก็บ) : อาจจะเป็นเพราะว่า พี่คนโตสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ดี และเมื่อเกิดอะไรขึ้นกับน้อง ๆ พี่คนโตสามารถดูแลน้อง ๆ ได้ ส่วนที่เป็นน้องคนเล็ก เพราะว่า น้องคนเล็กน่าจะช่วยสืบทอดภิมิปัญญานี้ต่อไปได้

    3. พืชสมุนไพรที่ต้องเก็บทันทีเมื่อพบ เพื่อป้องกันการลืมตัวยาที่ต้องเก็บหรืออาจจะไม่ได้ย้อนกลับทางเดิมอีก : บรรพบุรุษอาจจะสอนให้ลูกหลาน “อย่าหวังน้ำบ่อหน้า”

    4. พืชสมุนไพรที่ต้องให้หญิงหม้ายวัยหมดประจำเดือนเก็บเท่านั้น ปราชญ์บอกว่าเพื่อต้องการให้ลูกหลานมีความเคารพและศรัทธาและทำให้หญิงหม้ายรู้สึกเห็นคุณค่าของตัวเอง

      ทุกสิ่งอย่างที่ถูกกำหนดขึ้นแม้อาจจะหาคำตอบทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ แต่บรรพบุรุษมักจะสอดแทรกสาระต่างไว้ให้คนรุ่นหลังคิดตามเสมอๆ และอาจจะเป็นกุศโลบายเพื่อให้ลูกหลานได้สืบทอดภูมิปัญญาสู่รุ่นต่อ ๆ ไป ชุมชนจะไม่นิยมนำพืชสมุนไพรมาเก็บไว้ในบ้าน และจะไม่เก็บครั้งละมากๆ จนเกินความจำเป็น เมื่อต้องการใช้ยาจึงจะเดินเข้าป่าไปเก็บ

 


 

ความเชื่อเกี่ยวกับการเก็บสมุนไพรมาใช้ของชาวบ้าน ไม่ได้หมดแค่นี้ จะทยอยนำมาเล่าสู่ให้กัลยาณมิตรได้อ่านต่อไปค่ะ

หมายเลขบันทึก: 493153เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2012 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2017 23:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

คนบ้านเราโชคดีที่ยังมีป่าให้พึ่งพาค่ะ ต้องรักษาเอาไว้ให้ดี...

ขอบคุณค่ะคุณ ...ปริม pirimarj. ป่ามีคุณอนันต์จริง ๆ ค่ะ

เก่งมากลูกศิษย์ ;)...

นี่แหละ "การจัดการความรู้" ชั้นดี ;)...

น้องดอกหญ้าน้ำลูกศิษย์อ.Wasawat Deemarn หรือคะครูหมูจ๋าขอชื่นชมทั้งครูและศิษย์ นะคะ ครูเด่นศิษย์เก่งค่ะ นับถือๆ

ขอบคุณค่ะอาจารย์ จะค่อย ๆ เขียนเพื่อฝึกปรือค่ะ ช่วยชี้แนะศิษย์คนนี้เรื่อย ๆ อย่าเพิ่งเบื่อนะค่ะ

ขอบคุณค่ะคุณหมูจ๋า อาจารย์ของหนูเก่งที่สุดแล้วค่ะ ส่วนหนูค่อย ๆ คืบคลานตามอาจารย์ไปค่ะ แต่ยังไปได้ไม่ถึงไหนเลยค่ะ

มีวาสนาได้อยู่ป่าดอย ธรรมชาติบริสุทธิ์ ชอบการวิเคราะห์จัง (ตัวหนังสือมีสี) รออ่าน ๆ ๆ ๆ อีก

ขอบคุณค่ะคุณหมอ ทพญ.ธิรัมภา อากาศบริสุทธิ์จริง ๆ ค่ะ ส่วนการวิเคราะห์ก็ลองแบบถูกแบบผิดนะค่ะ หากมีอะไรแนะนำเพิ่มเติมได้นะค่ะ หนูขอความรู้ด้วยค่ะ

  • เยี่ยมค่ะ..ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ดีค่ะ
  • อ้อ..เมื่อก่อนคุณพ่อเป็นครูสอนที่อมก๋อยค่ะ  บอกว่าเวลาหนาวๆนี่หนาวจับใจจริงๆเลย ใช่ไหมคะ ^^
  • ชอบสมุนไพรมากเลยครับ
  • ที่บ้านมีหลายชนิด
  • รออ่านอีกครับ
  • สบายดีไหมครับ

ขอบคุณค่ะอาจารย์พิชชา ธรรมชาติยังอุดมสมบูรณ์ใบพื้นที่ที่พืชเศรษฐกิจเข้ายังไม่ถึงค่ะ ส่วนอมก๋อยหนาวทั้งปีค่ะ โดยเฉาะหน้าหนาว ถ้าว่างลองเข้าไปอ่านบันทึก "แม่คะนิ้ง อมก๋อย" นะค่ะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์ขจิต ฝอยทอง หนูสบายดีค่ะ หวังว่าอาจารย์คงสบายดีเช่นกันนะค่ะ

ป่าเป็นได้ทั้งร้านขายยาและก็ตลาดสดเลยนะครับ

ใช่เลยค่ะคุณอักขณิช..ขอบคุณค่ะ

คุณดอกหญ้าน้ำเล่าเรื่องสนุกจังเลย สมุนไพรในป่าน่าสนใจมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท