รักการอ่าน


หวังเพียงจะมีคนบ้าอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นสักคนก็เท่านั้น

ถึงแม้ว่าจะมีการรายงานว่าคนไทยมีการอ่านที่น้อยกว่าเท่านั้นบรรทัด เท่านี้บรรทัด แต่สำหรับครูไทยอย่างผม อ่านไม่ต่ำกว่าวันละ ๑ เล่ม ผมชอบอ่านทุกอย่างที่อยากอ่าน ทั้งบันเทิงคดี สารคดี จิตวิทยา ความรู้ นิยาย เทคโนโลยี เป็นต้น ผมได้รับหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายและแผน ผู้ช่วยพัสดุ และยังเป็นเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์อีกต่างหาก  เนื่องด้วยความที่ใจเรารักที่จะอ่าน

                งานพัสดุก็เป็นงานหลักที่ผมไม่ค่อยชอบนัก  เบื่อและไม่มีความใหม่ ซ้ำซากก จำเจ แต่ก็ต้องทำ เพราะเป็นงานที่ได้รับมอบหมายแล้วต้องทำให้ดีที่สุด งานห้องสมุดที่ทำ ถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายโอกาส ท้าทายความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพราะโรงเรียนมีงบค่อนข้างน้อย  เมื่อเทียบกับโรงเรียนมัธยมอื่นๆ

                ทุกวันผมต้องรับหนังสือพิมพ์ แล้วก็มีวารสาร ไม่ก็นิตยสารที่ร้านโชว์ห่วย แถวๆที่ผมรอรถ กลับบ้าน มันเป็นความจำใจที่ต้องจำทำ เพราะจำเป็นจะต้องใช้ อันที่จริงแล้วตัวผมเองนั้นไม่ชอบอ่านหนังสือพิมพ์เลยก็ว่าได้ เนื่องจากไม่ค่อยที่จะมีข่าวจรรโลงใจเท่าใดนัก ชอบก็แต่คอลัมน์เทคโนโลยี /วิทยาศาสตร์ เพราะจะได้นำไปเล่าให้เด็กๆ ฟังเวลา นำเข้าสู่บทเรียน

                ผมสอบวิทยาศาสตร์  ม. ต้นได้กลุ่มกลาง และสอบครูบรรณารักษ์ได้เป็นมาสเตอร์ทีเชอร์ หรือครูแกนนำ (ที่ได้ก็เพราะส่วนใหญ่ข้อสอบ จะออกเกี่ยวกับเนื้อหาเทคโนโลยี และการจัดการห้องสมุด ซึ่งผมเคยเรียนมาแล้วสมัย ป.ตรี เรียกง่ายๆ ว่า ฟลุ๊ค) ความรู้ที่ได้จากการอบรมครูแกนนำ ก็นำมาพัฒนาปรับปรุง บรรยากาศห้องสมุด ทั้งด้านการบริการยืม-คืน การช่วยสืบค้น ทำให้ห้องสมุดมีลมหายใจขึ้นมาบ้างบางคราว  ผมเป็นบรรณารักษ์เพียงคนเดียวในโรงเรียน เด็กก็ไม่มี เพราะโรงเรียนเห็นว่าชุมนุมห้องสมุดเป็นความจำเป็นที่ไม่เร่งด่วนเท่ากับการยกระดับคุณภาพคะแนนโอเน็ต มีเพียงนักเรียนในสังกัด จำนวน 3 คนที่พอช่วยแบ่งเบาภาระในการจัดการห้องสมุด แต่ไม่ท้อเพราะการทำงานห้องสมุดเป็นการทำบุญด้วยการอำนวยความสะดวกแก่ผู้คนในการค้นคว้าหาความรู้ เขาได้รับสิ่งที่ต้องการเราเองก็พลอยดีใจเป็นสุขกับเขาด้วย

                ปัญหาในการทำงานห้องสมุดแทบจะไม่ต้องกล่าวถึงเลย เพราะว่ามีครบ ครอบคลุม รอบด้านต้องคอยแก้ไขทีละปมๆ ที่เป็นปัญหาหลัก  คือ การที่เด็กไม่ชอบอ่าน ไม่ชอบค้นคว้า ไม่ชอบเก็บของ / หนังสือคืนที่เดิม ผมต้องคอยกำชับ และอธิบายถึงกฎเกณฑ์ในการใช้ และผลกระทบที่ตามมา

                ผมอยากให้เด็กๆอ่านหนังสือเยอะๆ เพราะมันช่วยเสริมสร้างปัญญา จินตนาการ สร้างสมาธิ และทำให้ใจเย็น นอกจากนี้ยังสามารถแก้ปัญหาในชีวิตของเราได้อีกด้วย ปัญหาหลายอย่างอุปสรรคหลายครั้งที่สามารถก้าวข้ามด้วยความรู้จากการอ่าน แบบที่ไม่ต้องปรึกษาใครให้เหนื่อยเปล่า อยากให้ครูไทย ผู้ปกครองช่วยกันส่งเสริมให้นักเรียนได้อ่าน

สร้างโอกาสให้เขาได้อ่าน อย่างผมเองก่อนสอนแทบทุกคาบผมจะนำหนังสือความรู้เล็กๆน้อย มานำเสนอเด็กๆ ให้พอเป็นกระษัยในการเรียน หวังก็เพียงว่าจะมีคนบ้าอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นอีกสักคนก็เท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 493085เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2012 01:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กรกฎาคม 2012 12:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านแล้วครับ...สมัยเป็นเด็ก ไม่เด็กเท่าไร ที่ วค.(ผมคนรุ่น วค.ไม่ใช่ราชภัฏ)ไม่อยากเข้าห้องสมุด เพราะบรรณารักษ์ขี้บ่น..

แต่ผมไม่ขี้บ่น รักเด็ก แต่เราอาจจะยังไม่ถูกใจเด็ก ในบางเรื่อง เช่น การจัดห้อง เป็นต้น ยังไงก็จะพยายามหลอกล่อเด็กๆให้จงได้

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท