วิจัยเพื่อพัฒนาตนเอง ทำไม อย่างไร?


"ฉันโง่ ฉันเขลา ฉันเยาว์ ฉันทึ่ง ฉันจึง ค้นหาความหมาย ฉันหวังเก็บอะไรมากมาย สุดท้ายฉันได้กระดาษแผ่นเดียว.... " .... จะยังเป็นจริงอยู่ตลอดไป หากเราไม่สามารถที่จะเข้าถึง การเข้าใจตนเอง และ การเป็นอิสระแห่งใจ..

ในปัจจุบัน คำว่า "วิจัย" ดูเหมือนทุกคนจะให้ความสำคัญ โดยเฉพาะในแวดวงวิชาการในปัจจุบัน วิจัยกลายเป็นอะไรที่ดูเหมือนวิเศษมาก  แต่วิจัยก็กลับกลายเป็นอะไรที่ยากสำหรับคนบางกลุ่ม  ปัจจุบันนี้เรามีผลงานวิจัยออกมาตีพิมพ์เผยแพร่มากมาย  งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่ออำนวยความสะดวก และศึกษาสิ่งนอกตัว...

วิจัยทางการศึกษาก็เช่นกัน  เราศึกษาพฤติกรรมของผู้เรียน พฤติกรรมของครู พฤติกรรมของผู้คนต่างๆ  และลืมไปที่จะศึกษาเรื่องใกล้ตัว โดยเฉพาะ เรื่องของ "ตนเอง"   ดิฉันเห็นว่า สิ่งนี้สำคัญยิ่ง .. หากเราสามารถที่จะบรรจุวิชาใหม่ "วิจัยเพื่อพัฒนาตนเอง"  เข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรในทุกชั้นปี  เราจะได้ผลงานวิจัยของทุกคน ที่มีความเปลี่ยนแปลงให้เห็นและได้เรียนรู้จากบทเรียนของกันและกัน    

การวิจัยเรื่องของตนเอง  จะทำให้เข้าใจตนเอง อันนำไปสู่การพัฒนาตนเอง  การพัฒนาตนเองได้ การที่คนหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีจะเป็นปัจจัยไปสู่การเปลี่ยนแปลงของผู้อื่น  เมื่อแต่ละคนเข้าใจตนเองมากขึ้น จนสามารถพัฒนาตัวเองได้ การที่จะเข้าใจผู้อื่น และสามารถอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนนั้นก็ไม่ยาก..


อย่างไรที่จะเรียกว่า "วิจัยเพื่อพัฒนาตนเอง"..
    การวิจัยตนเอง  เป็นกระบวนการศึกษาเกี่ยวกับตนเองเพื่อให้เข้าใจตนเอง โดยมี กาย และ ใจ เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการศึกษา  โดยมีการสังเกตเป็นกระบวนการเริ่มต้นที่สำคัญ ตามด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล ปฏิบัติทดลอง วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล โดยในแต่ละกระบวนการสามารถที่จะสลับขั้นตอนตามความเหมาะสมของการลงใจของแต่ละบุคคล  ไม่มีขั้นตอนที่แน่นอนตายตัว เพราะต้องอาศัยทักษะที่หลากหลาย  สติ และ ขันติ กลายเป็นกลไกสำคัญที่ต้องนำมาใช้ในทุกขั้นตอน 
       สังเกตอะไร สังเกตอย่างไร เป็นคำถามที่ตามมา.... ก็สังเกต กาย และ ใจ ของเรานี่ละ  สังเกตอย่างไร สังเกตการเปลี่ยนแปลง อาการที่เกิดในกาย และใจ  เก็บรวบรวมข้อมูลอะไร เก็บรวบรวมข้อมูลอย่างไร  ก็เก็บสิ่งที่เราสังเกตได้ โดยการบันทึกในความทรงจำของเรา เมื่อหน่วยความจำไม่พอ ก็เก็บไว้ในเครื่องมือ เช่น กระดาษ คอมพิวเตอร์... การบันทึกจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเราจำได้ไม่หมด  สำหรับการหาคำตอบนั้น มีหลากหลายวิธี อาจเรียกว่า เทคนิคต่างๆ  ได้แก่  การตั้งคำถาม ด้วยการถามเอง ตอบเอง? ถามจากผู้รู้ ? ท้ายที่สุด ก็ต้องนำไปสู่ การปฏิบัติทดลองด้วยตนเอง  ต้องอาศัยการทำซ้ำแล้วซ้ำล้ำ เพื่อให้สามารถสร้างข้อสรุปของตนเองได้.... การมีกัลยาณมิตร หรือ ครูบาอาจารย์ที่ดี ช่วยตรวจสอบเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง  ในเส้นทางของการค้นหาข้อสรุปต่างๆ บทสรุปของการเข้าใจตนเองจะเป็นอย่างไร ไม่มีใครรู้นอกจากตัวเรา จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร จะเข้าใจได้แค่ไหน เราต้องศึกษาเอง และตอบตนเอง...นี่แหละ การเรียนรู้ที่มีคุณค่าที่สุด..

เราไม่เห็นสิ่งใดยิ่งใหญ่ไปกว่า การศึกษาเรื่องตนเองและเข้าใจตนเอง เราได้ความรู้นี้จะพระพุทธศาสนา...เราจึงขอเชิดชูและบูชาครู คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และครูบาอาจารย์ทุกท่าน _/\_

วันนี้ เริ่มต้นการเขียนอีกครั้ง เพื่อลับปัญญาที่มี ยึดมั่นถือมั่นยังไม่ได้... การศึกษาตนเองก็เปลี่ยนไปทุกวัน  วันนี้พอใจแค่นี้ รู้เพียงแค่นี้..ก็ต้องสังเกตและศึกษาต่อไป

"ฉันโง่ ฉันเขลา ฉันเยาว์ ฉันทึ่ง ฉันจึง ค้นหาความหมาย ฉันหวังเก็บอะไรมากมาย สุดท้ายฉันได้กระดาษแผ่นเดียว.... " .... จะยังเป็นจริงอยู่ตลอดไป หากเราไม่สามารถที่จะเข้าถึง การเข้าใจตนเอง และ การเป็นอิสระแห่งใจ..
 

หมายเลขบันทึก: 492936เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2012 16:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เชื่อว่าการวิจัยพัฒนาตนเอง จะออกมาดีครับ

พัฒนาได้ต่อเนื่องและยั่งยืน

อาจารย์หายไปนานมากๆๆ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ขจิต   ขอบคุณมากๆ ค่ะ ที่แวะเข้ามาทัก... หายไปนานจริงๆค่ะ  แต่ยังคิดถึงมิตรภาพที่ Gotoknow นะคะ  .. จะแวะมาแลกเปลี่ยน บันทึกและแบ่งปัน ตามโอกาสนะคะ 

สุขสันต์วันจันทร์ค่ะ 
^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท