โต๊ะกาแฟ ริมถนน


แม้ว่าวัฒนธรรมถิ่นจะดูไม่หวือหวา เหมือนลงแขกเกี่ยวข้าว หรือเอาแรงวิดบ่อยับปลา แต่ไม่อาจปฎิเสธว่า วิถีชุมชนนี้มีอยู่จริง ยิ่งในยุคที่ผู้คน ดูแต่ทีวี คุยแต่โทรศัพย์มือถือ จนการปฎิสัมพันธ์กับคนเบื้องหน้าแย่ลง หรือไม่ดีพอ

กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นระหว่างการนั่งกิน(ดื่ม) กาแฟริมถนนของคนชายแดน(เบตง)ถือเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่คนถิ่นนี้ นัดหมายเพื่อนๆขาประจำ วงของใครของคนนั้น พบปะนั่งคุยกัน โดยมีกาแฟโบราณแบบดั้งเดิม ซึ่งเดี๋ยวนี้เริ่มมี เนส ออ หรือ เนสซอง เข้ามาแทนที่ ถ้าเป็นตอนเช้าก็มีปาท่องโก๋ ถ้าเป็นรอบกลางคืน ก็จะเป็นขนมปังปิ้ง ทายเนย สังขยา ถ้าไม่ชอบกาแฟ หรือดื่มมาหลายแก้วแล้ว ก็จะสั่งเป็น ชาร้อน ก็คือชานม ถ้าไม่ชอบนม ก็เป็น แต่ - ออ คือชา ใส่น้ำตาล ต่อจากนั้น ก็เป็น กาน้ำชา ที่ต้องเติมน้ำร้อน อยู่เนื่องๆ ขึ้นอยู่กับว่า จะนั่งแช่กันนานแค่ใหน

ทำไมถึงเป็นกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนท้องถิ่นได้

1.ใช้เป็นที่แจ้งข่าวสารประจำวัน

2.ฝากซองผ้าป่า กฐิน การ์ดแต่งงาน งานศพ

3.ขอความช่วยเหลือในเรื่องอาชีพการงาน เรื่องส่วนตัว

4.วิพากษ์วิจารณ์ การทำงานของรัฐบาล เทศบาล อบต.

5.ปรึกษาหารือปัญหาความขัดแย้ง การประนีประนอม

6.วิจารณ์ บอลล์ มวย การแข่งนกเขา นกกรงหัวจุก

 ซึ่ง ร้อยละ 80 ของเวลา วงกาแฟ หรือ สภากาแฟ จะหมดไปกับเรื่องเหล่านี้

นอกจากนี้ หากมีใครผ่านไป มา เหลือบไปเห็นเข้า ก็เอาเรื่องของคนนั้นมาคุยบ้าง แต่ถ้าไม่มีคนน่าสนใจผ่าน คนที่ลุกขึ้นไป ก็อาจถุกหยิบยกมาพูด จนมีเรื่อง ต้องเตือนใจตัวเองว่า ถ้าไม่อยากให้ใครนินทา ให้ลุกเป็นคนสุดท้าย แต่ไม่ต้องกลัวว่า ถ้าลุกคนสุดท้ายต้องจ่ายสตางค์ เพราะวัฒนธรรมการจ่ายก็เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ไม่ใช่แบบแชร์กัน หรือต่างคนต่างออก เพราะวงกาแฟ กินกันทุกวัน เจอกันวันละรอบ หรือสองรอบ เช้า ค่ำ บางทีมีรอบบ่าย จึงมักหมุนเวียนกันเป็นเจ้ามือ

คนที่ชอบนั่งวงกาแฟ จะมีธรรมชาติ (นิสัย) เป็นอย่างไร

1.กล้าแสดงออก กล้าวิจารณ์ และรับคำวิจารณ์

2.มีระดับของการวิจารณ์ที่แรง เพราะโดนบ่อย จนชาชินก็มี (หน้าด้านไปเลย)

3.เป็นคนไม่ค่อยขยันทำงานถ้านั่งนานและนั่งแช่บ่อยๆ จนดูเป็นคนเกียจคร้าน

4.เป็นเถ้าแก่เจ้าของสวนยาง ที่นั่งรอลูกจ้างขายยาง มาเรียกไปช่างยางขาย

5.ต้องการความกว้างขวาง ทางสังคม ทางการเมืองท้องถิ่น หรือหัวคะแนน

6.เป็นคนขี้เหงา อยากมีเพื่อนคุย เบื่อเมียที่บ้านบ่น หรือเมียชอบดูแต่ละคร

 

เรียนรู้เพิ่มพูนปัญญาได้จริงหรือ อยากรู้ลองทำวิจัยดูสิ

คนที่ใช้ชีวิตประจำวัน สัมผัสอารมณ์ความรู้สึกแบบนั้น ออกมาบอกเล่าคนเดียว ยังไม่เพียงพอที่จะยอมรับถือเป็นบรรทัดฐานได้ ว่าแต่คนที่ทำวิจัยจริงในประเทศนี้ งานวิจัยก็อยุ่แต่ในหิ้ง ใช่ว่าจะก่อประโยชน์แก่สังคม ชุมชน เน้น สังคมโดยร่วมได้ แต่อย่างไรก็ เอาเป็นว่า ข้อเขียนอย่างนี้ อะไรที่มีประโยชน์ หยิบกันไปใช้ อะไรที่ยังสงสัย ลองค้นคว้าหาคำตอบกันดู

จะพัฒนาให้เป็นแนวทางสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้จากวงกาแฟ ได้อย่างไร

1. ต้องมีผู้นำ มีกลุ่มจิตอาสา วุฒิอาสา ทำหน้าที่ชวนให้พูดคุย

2. เมื่อผ่านการถกเถียง วิจารณ์กันหน้าดำครำเครียด ต้องเสนอแนะทางออก

3.ใช้เป็นเวทีสร้างผู้นำทางความคิดที่ก่อประโยชน์ส่วนรวมได้

4.เป็นศูนย์กลางเล็กๆ ในการระดมทุน ระดมแรงคนได้

5.เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายท้องถิ่น เป็นชุมชน เป็นประชาคมชมรมสร้างสรรค์ 

ในข้อ 4 ข้างต้น มีตัวอย่าง เหตุการจริงที่จะยกมาประกอบ คือเรื่องของศพไร้ญาติ เช้าวันหนึ่งมีคนของโรงพยาบาล มาแจ้งข่าวว่ามีศพคนไข้ไร้ญาติ ซึ่งต้องทำการณาปนกิจ จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่ง เพียงบอกข่าวมาที่วงน้ำกาแฟ วางกล่องกลางโต๊ะ เชิญชวนสมาชิก แม้เพื่อนฝูงที่ผ่านไปมา ร่วมทำบุญ ก็ได้เงินจำนวนเพียงพอ สำหรับกิจกรรมดังกล่าว นับเป็นเรื่องดีมาก

แม้ว่า วัฒนธรรมถิ่นอย่างนี้ดูไม่หวือหวา เหมือนลงแขกเกี่ยวข้าว หรือ เอาแรงวิดบ่อจับปลา แต่ไม่อาจปฎิเสธว่า วิถีชุมชนนี้มีอยู่จริง ยิ่งในยุคที่ผู้คน ดูแต่ทีวี คุยแต่โทรศัพท์มือถือ จนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนเบื้องหน้า แย่ลง หรือไม่ดีพอ

การได้นั่งลงดื่มการแฟริมจนถนน ซึ่งให้ความหมายว่าไม่แพงจนเกินไป และมีกันบ่อยครั้ง ย่อมเป็นเรื่องที่คนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อให้สังคมอุดมปัญญา จะเอามันมาเป็นแง่คิดให้ได้ดี ได้อย่างไร ความคิดเห็นข้างต้นอาจจะบอกได้บ้างเรื่อง ยังไม่บอกอีกหลายเรื่อง คงเป็นเพราะภุมิรุ้อันจำกัดของผู้เขียน หรือ คำตั้งใจจะสื่อออกมาไม่ครบ ก็ต้องขอคำแนะนำจากผู้รู้ทั้งหลายด้วย

 

หมายเลขบันทึก: 492685เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2012 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มิถุนายน 2012 06:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  1. ต้องมีผู้นำ มีกลุ่มจิตอาสา วุฒิอาสา ทำหน้าที่ชวนให้พูดคุย

  2. เมื่อผ่านการถกเถียง วิจารณ์กันหน้าดำครำเครียด ต้องเสนอแนะทางออก

3.ใช้เป็นเวทีสร้างผู้นำทางความคิดที่ก่อประโยชน์ส่วนรวมได้

4.เป็นศูนย์กลางเล็กๆ ในการระดมทุน ระดมแรงคนได้

5.เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายท้องถิ่น เป็นชุมชน เป็นประชาคมชมรมสร้างสรรค์ """"

จิบ...จอย...จูน จำเอาไปทำและไม่ทำตามที่ได้รับฟังจากวงน้ำชา หรือนำพา จิบ จอย จูน ไปปฏิบัติร่วมกัน

งานหลายอย่างสำเร็จจากวงจิบจอยจูน

...วัฒนธรรมถิ่นอย่างนี้ดูไม่หวือหวา เหมือนลงแขกเกี่ยวข้าว หรือ เอาแรงวิดบ่อจับปลา แต่ไม่อาจปฎิเสธว่า วิถีชุมชนนี้มีอยู่จริง...

วงกาแฟริมถนน is a social network for information exchange --an old fashion 'facebook'(?) but ลงแขกเกี่ยวข้าว หรือ เอาแรงวิดบ่อจับปลา is a bit more -- a collaboration and skill training for multiple networks -- all learning and sharing while working towards a common goal ;-) These comminty collaboration activities form more long lasting bonds among people -- I think ;D

เดี๋ยวนี้สภากาแฟ ในลักษณะนี้ ไม่ค่อยพบแล้ว แม้แต่การลงแขกเกี่ยวข้าว นับวันจะหมดไป เพราะความเจริญทางเทกโนโลยี ไม่ต้องพี่งพาแรงคนอีก แต่ผู้คนจะห่างเหินกัน ความผูกพันไม่มีเหมือนแต่ก่อน ต่างคนต่างอยู่ สำหรับสภากาแฟเป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้ได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิดเพื่อสร้างสรรค์ ในวิถีชีวิต แบบกันเอง

ชอบที่สุดค่ะ กับการนั่งจิบกาแฟยามเช้า นั่งมองวิถีชีวิตของผู้คนยามเช้า นั่งพูดคุยแบบไม่ต้องเร่งรีบ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท