สันนิษฐานที่มาของพระเนื้อชินเงิน


ในพื้นที่รอบๆเมืองเก่าหลายแห่ง ผมเคยพบเศษตะกรันหลอมเหล็ก ที่มีความแข็ง แต่เปราะ เกิดสนิมผุพังช้า ยังคงสภาพเดิมๆอยู่ได้นาน

หลังจากที่ผมศึกษาพระเนื้อชินเงินมาระยะหนึ่ง ทำให้ผมฉุกคิดว่า ความรู้นี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

ที่อาจเป็นการทดลองผสมโลหะต่างๆด้วยกัน แบบสำริด ที่ทำให้เกิดความแกร่งและทนทานของโลหะ เพื่อการใช้งานด้านต่างๆ

หรืออาจจะเป็นการใช้ของที่เหลือให้เป็นประโยชน์มากกว่าเดิม

หรืออาจจะเป็นความรู้จากการสังเกตของคนที่ถลุงแร่เหล็ก และนำเศษตะกรันมาใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ก็เป็นได้

ในการเยี่ยมเยือนเมืองโบราณของผมในระยะหลายปีที่ผ่านมา

ผมพบว่า

ในพื้นที่รอบๆเมืองเก่าหลายแห่ง ผมเคยพบเศษตะกรันหลอมเหล็กรอบๆเตาหลอม ที่มีความแข็ง แต่เปราะ เกิดสนิมผุพังช้า ยังคงสภาพเดิมๆอยู่ได้นานจนถึงปัจจุบัน

ทำให้ผมนำมาเชื่อมต่อกับที่มาของพระเนื้อชินเงิน

ที่มีความแข็งทนทานต่อการใช้งาน

และคงกระพันแบบพระเนื้อชิน

แต่ข้อสันนิษฐานนี้ ก็ต้องหาหลักฐานอื่นมาสนับสนุนต่อไปครับ

 

หมายเลขบันทึก: 491745เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท