การเตือนการระบาดศัตรูพืช


พยากรณ์ศัตรูพืช

การเตือนการระบาดศัตรูพืช

หลักการและเหตุผล

                ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ได้ผล  ประหยัด  และคุ้มค่านั้น  สิ่งสำคัญคือการดูแลพืชทุกระยะการเจริญเติบโต  ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจตรวจนับอย่างต่อเนื่องเป็นระบบสามารถนำมาใช้วางแผนเตือนการระบาดและป้องกันกำจัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์  และหากได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องหลาย ๆ ปี  สามารถนำไปพยากรณ์การระบาดล่วงหน้าได้               

ความหมาย  การพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืชเป็นคำรวมซึ่งสามารถแยกออกได้เป็นสองความหมายคือ

การพยากรณ์   หมายถึง  การคาดการณ์ล่วงหน้าว่าโอกาสที่จะเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อไร การคาดการณ์ที่แม่นยำจะต้องมีข้อมูลหรือประวัติย้อนหลังหลายๆปี (Historical profile) ซึ่งการเก็บข้อมูลจะต้องมีอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยหรือหลายๆปัจจัยบางครั้งการคาดการณ์ก็อาจจะผิดได้

การเตือนการระบาดศัตรูพืช   หมายถึง  การบอกให้รู้ล่วงหน้าในระยะสั้นๆว่าจะเกิดอะไรขึ้นในฤดูกาลนั้น ๆ (Seasonal profile) ซึ่งการเตือนการระบาดนี้จะได้จากประสบการณ์หรือในการเก็บข้อมูลในปีที่ผ่านมาโดยปกติแล้วการเตือนการระบาดของศัตรูพืชจะพิจารณาตามระยะของการเจริญเติบโตของพืชซึ่งศัตรูแต่ละชนิดมักจะเลือกเข้าทำลายตามช่วงที่มันชอบ  ยกเว้นศัตรูพืชบางชนิดจะทำลายได้ตลอดฤดูการเพาะปลูก

 

ปัจจัยที่มีผลต่อการระบาดของศัตรูพืช

                สิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะเจริญเติบโตได้ดี หรือแพร่พันธุ์ได้มากน้อยแค่ไหนจะต้องเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่าง ๆ มากมาย  และตามความต้องการของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ  ปัจจัยที่คิดว่าน่าจะมีอิทธิพลมากได้แก่

1. พันธุ์พืช เป็นอาหารของศัตรูพืช พืชที่ไม่สามารถทนทานหรือต้านทานต่อการเข้า

ทำลายของศัตรูพืชได้ก็จะได้รับความเสียหายและสูญพันธุ์ไปการพิจารณาพันธุ์พืชจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญประการแรก

2.ความชื้น   ความชื้นในที่นี้หมายถึงความชื้นสัมพัทธ์ซึ่งความชื้นสัมพัทธ์จะมีความสัมพันธ์กับฤดูกาลมากเช่น ฤดูฝนมักจะพบว่ามีความชื้นสัมพัทธ์สูง กว่าฤดูกาลอื่นๆ ความชื้นสัมพัทธ์ที่เกิน 80 % จะส่งผลให้เกิดโรคพืชและแมลงบางชนิดระบาดมากขึ้นตัวอย่างเช่น โรคไหม้เป็นต้น

3.  ฝน   เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการระบาดของศัตรูพืชทั้งทางบวกและทางลบ ตัวอย่างเช่นหอยเชอรี่ ที่ลอยไปตามน้ำเนื่องจากฝนตก การแพร่ระบาดของหนู เนื่องจากน้ำท่วมบริเวณที่อยู่อาศัย การเกิดโรคต่างๆ หลังฝนตก เช่นโรครากเน่า โคนเน่า และรวมไปถึงโรคพืชบางชนิดที่เกาะอาศัยตามใบและ  ลำต้น เป็นต้น

4.ลม ทิศทางและความเร็วของลมมีผลต่อการแพร่กระบาดของศัตรูพืชให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

5.อุณหภูมิ อุณหภูมิ เป็นปัจจัยหนึ่งของสิ่งมีชีวิตซึ่งทั้งพืชหรือสัตว์ต้องการ แต่ความต้องการของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น  จะแตกต่างกัน   บางชนิดมีความต้องการอุณหภูมิสูง บางชนิดต้องการอุณหภูมิต่ำ ขอยกตัวอย่างประกอบให้เห็นถึงความแตกต่าง เช่น โรคราแป้ง โรคราน้ำค้าง ต้องการอุณหภูมิต่ำ โรคไหม้ต้องการอุณหภูมิปานกลาง คือ 20-28 องศาเซลเซียสเป็นต้น

6.ระยะการเจริญเติบโตของพืช  ช่วงการเจริญเติบโตของพืชต่างๆจะเป็นตัวกระตุ้นให้ศัตรูพืชแต่ละชนิดเข้าทำลายในระยะหนึ่งของพืชเท่านั้น เช่น การเข้าทำลายของเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียนจะเข้าทำลายเฉพาะในช่วงทุเรียนแตกยอดอ่อน และใบอ่อนเท่านั้น

7. ความหนาแน่นของพืชต่อหน่วยพื้นที่    การปลูกพืชที่แน่นหรือชิดมากเกินไป ไม่เพียงแต่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแล้ว ยังเป็นการแย่งอาหารและเป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูพืชอีกด้วย

8.สภาพพื้นที่ปลูก   พืชที่ปลูกแต่ละชนิดต้องการสภาพดิน ระดับดิน ความสมบูรณ์ของดินที่แตกต่างกัน ซึ่งทั้งหมดจะมีผลโดยตรง ต่อการเจริญเติบโตของพืชถ้าพืชอ่อนแอ ก็ง่ายต่อการเข้าทำลายของศัตรูพืช

9. ศัตรูธรรมชาติ   หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกับพืชและสัตว์อื่น ๆ เป็นตัวสาเหตุทำให้เกิดการตายของพืชหรือสัตว์นั้น ได้แก่ ตัวห้ำ (Predators) ตัวเบียน (Parasites) และเชื้อโรค (Pathogens)    

10.มาตรการดูแลรักษาพืชของเกษตรกร  มาตรการดูแลรักษาพืชในที่นี้หมายถึงแนวทาง/การปฏิบัติที่สนับสนุนให้พืชเจริญเติบโต ได้ผลผลิตและทนทานต่อการเข้าทำลายของศัตรูพืช  ได้แก่

11 ปุ๋ย  เป็นอาหารที่สำคัญของพืช ซึ่งได้แก่   ปุ๋ยหมัก   ปุ๋ยคอก    ปุ๋ยพืชสดปุ๋ยอินทรีย์เป็นต้น ปุ๋ยเหล่านี้ทำให้พืชแข็งแรงเจริญเติบโตได้ดี  และให้ผลผลิต  ความต้องการปุ๋ยหรือธาตุอาหารในช่วงต่าง ๆ  ของการเจริญเติบโตก็จะแตกต่างกันไป   การใส่ปุ๋ยเคมีมากก็มีผลต่อการเจริญเติบโตของโรคและแมลงได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่นการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากในระยะกล้าของข้าวจนถึงระยะแตกกอ  จะทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและโรคไหม้ระบาดเป็นต้น

12 น้ำ   น้ำเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พืชเจริญเติบโตและน้ำเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของพืชและสัตว์ถ้าขาดน้ำจะทำให้พืชและสัตว์อ่อนแอ  ง่ายต่อการเข้าทำลายของศัตรูพืชได้  และอีกประการหนึ่งน้ำยังช่วยละลายธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช   แต่ถ้าน้ำมากเกินไปก็จะทำให้พืชตายได้เช่นกัน   และอาจเป็นตัวนำโรคให้แพร่กระจายหรือระบาดได้มากขึ้น  ตัวอย่างเช่นถ้ามีน้ำมากเกินไป โอกาสการเกิดโรครากเน่า-โคนเน่าก็จะมีมากขึ้น

13 การเขตกรรม    การไถพรวน การเตรียมแปลงที่ดี รากพืชได้รับอากาศมากขึ้นลดการเกิดโรครากเน่า -โคนเน่า และทำลายศัตรูพืชในดินบางชนิดอีกด้วย

14  การติดตามสถานการณ์ระยะต่าง ๆ ของการเจริญเติบโตของพืช  การสำรวจเป็นประจำจะทำให้รู้ปัญหาและหาทางป้องกันการแพร่ระบาดศัตรูพืชได้

15 การปฏิบัติการต่างๆด้านการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร  เช่นการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีต่างๆ

-   การวินิจฉัย

-   เครื่องพ่นสารเคมี

-    ฯลฯ

แนวทางการสำรวจตรวจตรวจนับศัตรูพืช/ศัตรูธรรมชาติ

1. การสุ่มสำรวจตรวจนับ

          ในการสำรวจแปลงจุดสุ่มสำรวจ (Sampling Unit)  ระยะห่างระหว่างจุดควรดูความเหมาะสมของแปลง ถ้าแปลงมีพื้นที่กว้างจุดควรอยู่ห่างกันพอสมควร  โดยการกำหนดก้าวเดิน เช่น 5 หรือ 10 ก้าวต่อหนึ่งจุดสำรวจ  ทั้งนี้จุดสำรวจตรวจนับฯ  ควรจะกระจายครอบคลุมพื้นที่แปลงปลูก  ถ้าเป็นแปลงที่ยกร่อง จุดควรเรียงเป็นแถว  ไปตามความยาวของแปลง จำนวนจุดไม่ควรน้อยกว่า 10 จุดต่อ 1 แปลง สำรวจยิ่งมากจุดความถูกต้องก็ยิ่งมีมากขึ้น  ในกรณีที่จำนวนศัตรูพืชที่สำรวจพบมีปริมาณมากเกินกว่าสัดส่วน 1:5 (ศัตรูธรรมชาติ : ศัตรูพืช) ควรสำรวจซ้ำอีกครั้ง โดยเปลี่ยนทิศทางการเดินเพื่อความถูกต้องในการตัดสินใจหาวิธีการกำจัด                                             

หมายเหตุ  :  การสำรวจควรสำรวจทุกต้นภายในระยะ  1  ตารางเมตร  

2. วิธีการสำรวจตรวจนับ

          แมลง นับจำนวนที่พบในแต่ละชุด

          โรค สำรวจการเกิดโรคในแต่ละจุด ถ้าพบใส่ 1 มาพบใส่ 0

          สัตว์ศัตรูพืช เช่น

                   หนู สำรวจร่องรอยการทำลายในแต่ละจุด ถ้าพบ ใส่ 1 ไม่พบใส่ 0

                   หอยเชอรี่ นับจำนวนตัวหอยรอบจุดสำรวจ พื้นที่ 1 ตารางเมตร

                   กลุ่มไข่หอยเชอรี่ นับจำนวนกลุ่มไข่รอบจุดสำรวจ พื้นที่ 1 ตารางเมตร

3. ขนาดแปลง 1-2 ไร่ สำรวจ 10 จุด กระจายทั่งแปลง นาดำ 1 กอ ต่อจุด นาหว่าน 10 ต้น ต่อจุด

4. เกณฑ์การตัดสินใจ

          4.1 การสำรวจครั้งแรก ถ้าพบศัตรูพืชมีปริมาณน้อย ปัจจัยอื่น ๆ ไม่เหมาะสมต่อการเพิ่มประชากร เช่น สภาพแวดล้อม อายุพืช ศัตรูธรรมชาติมีมาก (อัตราส่วนของศัตรูธรรมชาติต่อศัตรูพืช 1: 5 ตัว) การกระจายตัวของศัตรูพืชน้อย

          การปฏิบัติ รอดูข้อมูลในการสำรวจครั้งต่อไป

          4.2 กรณีพบศัตรูพืชมีปริมาณมากรและปัจจัยอื่น ๆ เหมาะสมต่อการระบาดเพิ่มมากขึ้น

          การปฏิบัติ ให้เดินสำรวจอีกครั้งโดยเปลี่ยนทิศทางการเดินใหม่(เส้นทแยงมุมแล้ว) แจ้งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต. ให้ประชาสัมพันธ์ ให้เกษตรกรข้างเคียงทราบสถานการณ์หรือพิจารณาเลือกช่องทางประชาสัมพันธ์ ตามความเหมาะสม

          4.3 กรณีสำรวจพบศัตรูพืช มีการระบาดรุนแรง ทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิต

          การปฏิบัติ วางแผนการป้องกันกำจัดโดยเร่งด่วน

          4.4 การสำรวจครั้งต่อไป การปฏิบัติเหมือนครั้งแรก

          4.5 ใช้วิธีวิเคราะห์  ข้อมูลตามวิธีการโรงเรียนเกษตรกร

วิธีการสำรวจตรวจนับใน  5กลุ่มพืช

 - ขนาดแปลงและจำนวนจุดที่สำรวจ

ไม้ผล  พื้นที่สำรวจ  แปลงละ 3 ไร่ ขึ้นไป

- สำรวจแปลงละ 10 ต้นๆละ 4 ทิศๆ ละ 5 ใบ  หรือ ยอด หรือ ดอก ต่อต้น รวม 20 ใบหรือยอด หรือดอก ต่อต้น กระจายทั่วแปลง

  ข้าว พื้นที่สำรวจ  แปลงละ  1 –2 ไร่ ขึ้นไป

- สำรวจแปลงละ 10  จุด นาดำ 1 กอ /จุด  นาหว่าน 10 ต้น /จุด กระจายทั่วแปลง

  พืชผัก พื้นที่สำรวจ แปลงละ  1- 2 งาน ขึ้นไป

- สำรวจแปลงละ 10 จุด กระจายทั่วแปลง

       
   พืชไร่ พื้นที่สำรวจ แปลงละ3 ไร่ ขึ้นไป

- สำรวจ แปลงละ 10 จุด กระจายทั่วแปลง

   ไม้ดอก-ไม้ประดับ     พื้นที่สำรวจ ประมาณ 1 งาน

- สำรวจ แปลงละ 10 จุด กระจายทั่วแปลง

 หมายเหตุ     ศัตรูพืชบางชนิดจำนวนจุดที่สำรวจหรือวิธีการสำรวจแตกต่างไปจากนี้ ให้ดูรายละเอียดในตารางชนิดศัตรูพืชที่สำคัญและวิธีการสำรวจ / ตรวจนับ 

ตารางชนิดศัตรูพืชที่สำคัญและวิธีการสำรวจ / ตรวจนับ

ชนิดพืช

                             ชนิดศัตรูพืช

วิธีการสำรวจ / ตรวจนับ

ไม้ผล

          ทุเรียน

เงาะ

ลองกอง

มะม่วง

มังคุด

ส้มเขียวหวาน

ลำไย ลิ้นจี่

  หนอนชอนใบ หนอนกินใบ ไรแดง  เพลี้ยไก่แจ้ หนอนกินดอก

เพลี้ยจักจั่นมะม่วง  เพลี้ยจักจั่นฝอย เพลี้ยไก่แจ้ส้ม หนอนแก้ว-ส้ม  มวนลำไย  ไรกำมะหยี่ 

- นับจำนวน ศัตรูพืช ที่เข้าทำลายตามส่วนต่างๆของพืช

   เพลี้ยไฟ

  -เคาะตัวเพลี้ยไฟ จากยอด หรือใบอ่อน หรือช่อดอก ลงบนกระดาษขาว แล้วนับจำนวน ตัว

  หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน 

-         ใช้กับดักแสงไฟสำรวจตัวเต็มวัย

-         สำรวจไข่ผีเสื้อที่ผลทุเรียนทั้งต้น หรือผลที่ถูกทำลาย

 -หนอนด้วงยาวเจาะลำต้นทุเรียน

-สำรวจดูร่องรอยการเจ้าทำลายที่ต้นและกิ่งใหญ่ ทุกกิ่ง

-สำรวจตัวเต็มวัย

-หนอนเจาะผลทุเรียน

-นับจำนวนผลที่พบการทำลายทุกผล / ต้น

- โรคราใบติด  โรคราแป้ง โรคแอนแทรกโนส  โรคแคงเกอร์

  โรคใบไหม้

-สำรวจที่ใบ  / ดอก / ผล คิดเป็น %  (เปอร์เซ็นต์ ) ของ ของโรคที่เกิดต่อต้น

- ผีเสื้อมวนหวาน

-         สำรวจผีเสื้อตัวเต็มวัยในกับดัก

- แมลงวันผลไม้

-         สำรวจแมลงในกับดัก

-โรครากเน่า-โคนเน่าทุเรียน

-         นับจำนวนต้นที่เป็นโรคทั้งแปลงใส่ผลรวม

 

ชนิดพืช

ชนิดศัตรูพืช

วิธีการสำรวจ / ตรวจนับ

 

ข้าว

หนอนม้วนใบ แมลงสิง หนอนกระทู้กล้า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

แมลงหล่า

 -นับจำนวนศัตรูพืชที่พบ / จุด

 

 

หนู

- สำรวจร่องรอย การทำลายของหนูทั้งแปลง พบกี่จุดใส่เป็นผลรวม

 

หอยเชอรี่

-นับจำนวนไข่ หรือตัวหอย ที่พบ ทั้งแปลงใส่เป็นผลรวม

 

 โรคไหม้  โรคใบหงิก (โรคจู๋) โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคเมล็ดด่าง

 - นับจำนวนใบ หรือ รวงที่เกิดโรค จุดละ 10 ใบ หรือรวง

 

พืชไร่       อ้อย

หนอนกอ  ด้วงหนวดยาว

- สำรวจต้นที่แสดงอาการ ยอดเหี่ยว ทั้งแปลง ใส่ผลรวม

 

โรคใบขาว  โรคเหี่ยวเน่าแดง

- สำรวจต้นที่แสดงอาการ ทั้งแปลง ใส่ผลรวม

 

ถั่วเหลือง

  หนอนเจาะฝัก  หนอนกระทู้ผัก  หนอนหลอดหอม

 -นับจำนวนตัว / จุด

 

 โรคราสนิม โรคใบจุดนูน

 -สำรวจอาการของโรคคิดเป็นเปอร์เซนต์ต่อต้น

 

 หนู

 -สำรวจร่องรอย การทำลายของหนูทั้งแปลง ใส่ผลรวม

 

พืชผัก

พืชตระกูลกะหล่ำ

หนอนใยผัก ด้วงหมัดผัก หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม

หนอนคืบกะหล่ำ

-นับจำนวนศัตรูพืชที่พบ ต่อ จุด

 

 

………………….

ตระกูลพริกมะเขือ

โรคใบจุด  โรคราน้ำค้าง

 - สำรวจอาการของโรคคิดเป็นเปอร์เซนต์ต่อต้น          

 
 

 หนอนเจาะผล

 -นับจำนวนตัว / จุด

 

 เพลี้ยไฟ

 - เคาะตัวเต็มวัยลงบนกระดาษขาว นับจำนวนตัว / จุด

 

 โรคเหี่ยว

 -สำรวจทั้งแปลง นับจำนวนต้นที่เป็นโรคใส่ผล รวม

 

โรคแอนแทรกโนส

 -สำรวจอาการของโรคคิดเป็นเปอร์เซนต์ต่อต้น

 

 

ชนิดพืช

ชนิดศัตรูพืช

วิธีการสำรวจ

ตระกูลถั่ว

 

 

หนอนเจาะฝัก

-สำรวจฝักที่ถูกทำลายต่อต้น

หนอนแมลงวันเจาะลำต้น  เพลี้ยอ่อน

 -สำรวจต้นที่ถูกทำลาย / แปลง

โรคราสนิม  โรคราน้ำค้าง

-สำรวจอาการของโรคคิดเป็นเปอร์เซนต์ต่อต้น

ตระกูลแตง

เพลี้ยไฟ

 - เคาะตัวเต็มวัยลงบนกระดาษขาว นับจำนวนตัว /จุด

โรคราน้ำค้าง

-สำรวจอาการของโรคคิดเป็นเปอร์เซนต์ต่อต้น

 

หน่อไม้ฝรั่ง

 

 

เพลี้ยไฟ

- เคาะตัวเต็มวัยลงบนกระดาษขาว นับจำนวนตัว /จุด

หนอนเจาะสมอฝ้าย  หนอนกระทู้หอม

 -นับจำนวนตัว/ จุด

โรคไหม้

-สำรวจทั้งแปลงนับจำนวนต้นที่เป็นโรค ใส่ผลรวม

กล้วยไม้

 เพลี้ยไฟ

 

 -เคาะตัวเต็มวัยลงบนกระดาษขาว นับจำนวนตัว / จุด

 

 

...................................................................

หมายเลขบันทึก: 490447เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท