รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์)
รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ครูตาล วงษ์ชื่น

ตามรอยพ่ออยู่อย่างพอเพียง :(๖)"ธนาคารขยะ -การจัดการขยะ"


 

         

ไม่ว่าโรงเรียนของเราจะสะอาดเพียงใด  ขยะก็ยังคงเป็นปัญหาหนึ่ง ทั้งขยะเปียก ขยะแห้ง โรงอาหารจะเป็นแหล่งผลิตขยะมากกว่าที่อื่น  เนื่องจากโรงเรียนอยู่ในเขตเทศบาล  รถเก็บขยะของเทศบาลจะเป็นคนเก็บออกไปจากโรงเรียน

โรงเรียนของเราไม่มีนักการ คุณครูทั้งหมดล้วนเป็นสุภาพสตรี ต้นไม้ต้นใหญ่รุ่นเก่าแก่ของโรงเรียนบางครั้งก็เป็นปัญหาให้กับครูและภาระหนักของคนตัวเล็ก ๆ ที่จะต้องช่วยกัน ทุก ๆ เช้า เด็ก ๆ จะรู้หน้าที่ของตัวเอง ว่าจะต้องรับผิดชอบดูแลเขตไหนของโรงเรียน  ซึ่งเด็ก ๆ ก็เต็มใจทำ  ส่วนที่เป็นใบไม้ กิ่งไม้  เด็ก ๆ ก็จะนำไปทิ้งในหลุมหมักขยะ เพื่อแปรสภาพเป็นปุ๋ยหมักต่อไป

 

 

เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน และสอดรับกับการเป็นโรงเรียนต้นแบบด้าน เศรษฐกิจพอเพียง  ปีการศึกษา 2554 ที่ผ่านมา โรงเรียนจึงได้่จัดกิจกรรม "ธนาคารขยะ" ขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่สอนให้เด็กรู้จักการแยกขยะอย่างจริง ๆ จัง  เชิญวิทยากรจาก "วงษ์วานิชย์" มาบรรยายให้ความรู้กับเด็ก ๆ จนเด็ก ๆ สามารถดำเนินการกันเองได้ เริ่มตั้งแต่ในห้องเรียน นักเรียนจะต้องฝึกทิ้งขยะให้ถูกต้อง

 


เมื่อฝึกนักเรียนในห้องเรียนเรื่องการทิ้งขยะให้ถูกต้อง การแยกประเภทของขยะให้เป็นแล้ว ต้องทำควบคู่ไปกับการปลุกจิตสำนึกให้นักเรียนไม่รังเกียจที่จะจัดการกับขยะ ไม่ว่าจะที่บ้านหรือที่โรงเรียน เพราะขยะสามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ ขณะที่นักเรียนเดินทางกลับบ้าน หากนักเรียนเจอขยะที่ขายได้ให้นักเรียนเก็บรวบรวมไว้  ส่วนขยะที่ขายไม่ได้นักเรียนก็ต้องเก็บทิ้งในถังขยะของเทศบาลให้เรียบร้อย



การสอนให้นักเรียนรู้จักจัดการกับขยะ ในครั้งแรก เด็กยังรู้สึกกล้า ๆ กลัวที่จะหยิบขยะ  แม้จะใช้ถุงใส่มือเพื่อไม่ให้เปื้อน  แต่เด็กก็ยังแสดงสีหน้าแบบกล้ำกลืนอยู่เหมือนกัน แต่สุดท้ายก็ต้องจำนนต่อเหตุผลของคุณครูที่ให้นักเรียนแยกขยะ ขยะที่แยกได้ก็จะนำไปไว้ที่ธนาคารขยะ  ซึ่งมีพื้นที่ 1 ห้องเรียน แบ่งสัดส่วนสำหรับขยะแต่ละชนิด



โรงเรียนของเราสะอาดสะอ้านด้วยฝีมือคนตัวเล็ก ๆ ที่ช่วยกัน ขยะกลายเป็นสิ่งมีค่าสำหรับเด็ก ๆ เขาจะรู้และเข้าใจว่า ขยะชนิดไหนสามารถทำเงินให้เขาได้ เขาก็จะเก็บทันทีค่ะ  

       บันทึกหน้าเราจะรับซื้อขยะแล้วค่ะ  มาดูกันหน่อยมั้ยว่า ธนาคารขยะจะได้ขยะจำนวนเท่าไหร่ในการซื้อวันแรก  และก็มาดูสิว่า ขยะเดินทางมาได้อย่างไร  อย่าลืมมาเป็นกำลังใจให้คนตัวเล็ก ๆ ทำความดีด้วยนะ...คร๊าบผม


หมายเลขบันทึก: 490357เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2013 07:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ขอบคุณค่ะ สำหรับกิจกรรมดีๆ ที่นำมาแบ่งปัน ชลัญชอบ blog อาจารย์มาก ดูสะอาดตาน่าอ่าน ขอบคุณค่ะ

May be this is a good project for hospitals, too.

If children can learn (and earn) to clean up their school, wht can't patients learn to keep their hospital clean? ;D

ชื่นชมกับกิจกรรมดีๆ ..ที่ปลูกฝังตัวอย่างที่ดีให้เด็กครับ

สวัสดีค่ะน้ิอง

Blank ชลัญธร
  • ขอบคุณนะคะ มาเป็นกำลังใจให้เป็นเจ้าแรกเสมอ ๆ เลย

สวัสดีค่ะ

Blank sr
  • โรงเรียนของเราต้องสะอาดเสมอค่ะ
  • ตอนนี้ขยะเป็นสิ่งที่เด็ก ๆ ชอบค่ะ  โดยเฉพาะขยะที่ขายได้ เด็กจะชอบมาก
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยือนค่ะ

สวัสดีค่ะคุณหมอ

Blank ทิมดาบ
  • ด้วยแนวคิดที่ว่า การใส่ใจสิ่งแวดล้อมควรปลูกฝังตั้งแต่เด็ก ๆ ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยมเยือน

สวัสดีค่ะพี่อิงดีมากเลยนะคะการจัดการขยะ อาจจะเป็นขยะทองคำได้นะคะ ให้ติดตามแบบ กบนอกกะลา ว่าขยะมาได้อย่างไร แล้วจะไปไหน ... น่าสนใจมากค่ะ .โปรดติดตาม...

สวัสดีค่ะพี่ใหญ่

Blank
  • ขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมเยือนและมอบกำลังใจให้กันเสมอ

สวัสดีค่ะน้องครูตูม

Blank Rinda 
  • ขอบคุณค่ะ  
  • เด็ก ๆ มีเงินเก็บจากการขายขยะกันเยอะเหมือนกันค่ะ 

มาชมความงามของขยะครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท