รู้ชัด


อีกไม่กี่วันก็จะถึงวันวิสาขบูชาแห่งพุทธชยันตี ขอให้กัลยาณมิตรทั้งหลายเร่งเพียรนำธรรมเข้าสู่ใจให้มาก ๆ ด้วยหนอ

 

เมื่อวานนี้พาลูก ๆ ไป 7-11 ได้หนังสือดีราคาถูกมากมาเล่มหนึ่งครับ ชื่อหนังสือ "อริยสัจ เพื่อความพ้นทุกข์" จากพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช

ท่านเป็นศิษย์องค์สำคัญของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล สายการฝึกด้าน "การดูจิต" (จิตตานุปัสสนา) ที่เด่นชัดมากในปัจจุบันนี้

ประกอบกับช่วงนี้นิสิต กศ.ม.การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ศูนย์สุรินทร์ รุ่น 4 กำลังปฏิบัติธรรม ระหว่าง 1- 3 มิถุนายน 2555
ณ วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์
ซึ่งเป็นวัดสายหลวงปู่อีกวัดหนึ่งครับ

 

 

 

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเดินอยู่ให้ "รู้ชัด" ว่าเดินอยู่
เมื่อนั่งอยู่ให้ "รู้ชัด" ว่านั่งอยู่

 

 

 

           คำว่า “รู้ชัด” ไม่ได้แปลว่ารู้ชัด ๆ รู้ชัดหมายถึงสองอย่าง อันแรกเลยรู้ว่ารูปนี้เคลื่อนไหว เห็นร่างกายมันเคลื่อนไหว อันที่สองรู้ชัดถึงความเป็นไตรลักษณ์ของรูปนั้น รู้ว่าไอ้ตัวที่เดินอยู่ไม่ใช่เราหรอก วัตถุมันกำลังเคลื่อนไหว

           ยกตัวอย่าง หายใจเข้า หายใจออก ก็คอยรู้ รู้ว่าอันแรกก็รู้ว่าตอนนี้มีธาตุไหลเข้า มีธาตุไหลออก การหายใจเข้าหายใจออกนี่มีสติรู้ มีปัญญาเข้าใจว่า ไอ้สิ่งที่ไหลเข้าไหลออก ไม่ใช่เราหายใจนะ ธาตุมันกระเพื่อม ธาตุมันไหว ธาตุมันไหลเข้า ธาตุมันไหลออก นี้ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์อะไร

             เพราะฉะนั้นที่ว่าให้รู้ ให้รู้นี่ มันจะคลุมนัยยะ ๒ อย่าง

(๑) อันหนึ่ง มีสติรู้สภาวะ เช่นยืน เดิน นั่ง นอน หายใจเข้า หายใจออก มีสติระลึกรู้

(๒) มีปัญญาเข้าใจลักษณะของ รูปธรรมนามธรรมนั้น เช่นเราเข้าใจอย่างเราขยับ เราจะรู้สึกเลย ถ้าเรารู้สึกถูกต้องนะ ใจจะโปร่งๆ ไม่มีน้ำหนักนะ ถ้าใจเกิดมีน้ำหนักขึ้นมานี่…ของปลอม รู้ปลอม ถ้ารู้ถูกต้องใจจะไม่มีน้ำหนัก จะรู้สึกถึงความไหวอยู่ แล้วก็มีปัญญารู้ด้วย นี่แค่รูปเท่านั้นเอง รูปมันเคลื่อนไหว แต่ไม่ใช่คิดเอานะ เป็นความรู้สึก…วิปัสสนารู้สึกเอา ไม่ได้คิดเอา

              

                 ฉะนั้น อย่าไปรู้แค่ "สติ" ต้องรู้ด้วย "ปัญญา" ด้วย อย่างบางคนดูท้องพองยุบนะ ท้องขยับรู้หมดเลยแต่ไม่มีปัญญา ไม่เห็นหลอกว่า ตัวนี้ไม่ใช่เรา ฉะนั้นการรู้ตัองรู้สองชั้น คือ รู้ด้วย "สติ" กับรู้ด้วย "ปัญญา"


                 ดูจิตดูใจเหมือนกัน ความรู้สึกโกรธเกิดขึ้น เรารู้ทันก็เรียกว่า เรามีสติ เราเห็นอีกว่า ความโกรธก็ไม่ใช่จิต เป็นสภาวธรรมที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วครั้งชั่วคราว มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ บังคังไม่ได้ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เท่านั้นเอง อย่างนี้เห็นด้วยปัญญา รู้ว่าความโกรธตกอยู่ภายใต้กฏพระไตรลักษณ์หนอ


 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 489856เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 12:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 13:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ไม่ได้มาเยี่ยมในพื้นที่ตรงนี้ตั้งนาน..
จากนี้ไป มีอะไรมาชวนแลกเปลี่ยนมากมาย
ค่อยคุย กันนะครับ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ แวะมาบ่อย ๆ นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท