ชมปราสาทหินพิมาย (ชาลา และระเบียงคต)


ชาลาเป็นภาษาขอมโบราณ  หมายถึง  ทางเดินหรือทางไป  ทำขึ้นเพื่อเชื่อมต่อระหว่างโคปุระกับระเบียงคต โดยชาลาจะเป็นทางเดินของพระมหากษัตริย์และ

เชื้อพระวงศ์เท่านั้น  จะสังเกตเห็นว่า  ที่ชาลาจะมีหลุมขนาดใหญ่อยู่ ๔ หลุม 

หลุมเหล่านี้ในสมัยก่อนสันนิษฐานว่า  น่าจะใช้ระบายน้ำจากหลังคา  โดยสมัยก่อนบริเวณนี้จะมีการมุงหลังคาซึ่งปลายหลังคาก็จะไปเกยกับปากหลุมพอดี  เมื่อฝนตกลงมาน้ำก็จะไหลลงสู่หลุมซึ่งก้นหลุมเป็นทราย ทรายมีคุณสมบัติไม่อุ้มน้ำ  ส่วนสาเหตุที่ไม่สันนิษฐานว่าเป็นหลุมกักเก็บน้ำก็เพราะว่าเราจะสังเกตเห็นบริเวณผนังของหลุมจะมีการแกะสลักลวดลายซึ่งถ้ามีน้ำบรรจุอยู่จริงน้ำก็จะกัดเซาะลวดลายจางหายไป  เนื่องจากหินทรายสีแดงไม่คงทนต่อน้ำ  แต่ในปัจจุบันเรายังเห็นลวดลายแกะสลักอย่างชัดเจน จึงสันนิษฐานว่า  น่าจะเป็นหลุมระบายน้ำ  ไม่ใช่หลุมกักเก็บน้ำ และอีกนัยหนึ่งนั้นสันนิษฐาน ว่า  หลุมทั้ง 4 นี้ เปรียบเหมือนแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์  4 สาย คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู ซึ่งไว้ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งมีหลักฐานบนแผ่นทับหลัง ว่า มีศาสนาพุทธ เข้ามาแล้ว  และกำลังรุ่งเรือง  จริงๆแล้ว ในปราสาทหิน พิมาย นั้นมีบ่อน้ำจริง  4 บ่อด้วยกัน  อยู่มุม ทั้ง 4 มุม  ด้านในติดกำแพงชั้นนอก นอกจากนี้ ในตัวเมืองพิมายก็มีบ่อน้ำโบราณ   นอกตัวปราสาทอีก 4 บ่อ   ชื่อ สระเพลง  สระพลุ่ง   สระแก้ว   และสระขวัญ  

 

 

ระเบียงคต

ระเบียงคต คือ กำแพงที่ล้อมรอบองค์ปรางค์ทั้งสามปรางค์ไว้  โดยลักษณะของกำแพงจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสด้านในมีทางเดินเอาไว้สำหรับให้พระมหากษัตริย์เดิน ทักษิณาวัตร หรือการเดินหันแขนขวาให้กับสิ่งที่เคารพทั้งหมดสามรอบ เพื่อสงบจิตใจก่อนเข้าไปด้านใน

            ด้านหน้าจะมีทับหลัง  เป็นทับหลังรูปพระกฤษณะยกช้างสาร ๒ เชือก อยู่เหนือตัวหน้ากาล เพื่อแสดงถึงพละกำลังของตน  ตัวหน้ากาลเกิดจากดวงตาที่สามได้เบิกขึ้นและหน้ากาลจะออกมาจากดวงตาที่สามของพระศิวะ  ซึ่งมันอยู่ในดวงตาที่สามของพระศิวะ  เป็นร้อยเป็นพันปี  เมื่อมันออกมามันจึงหิวจัด  ได้กลืนกินทุกอย่างแม้กระทั้งกาลเวลาและตัวของมันเองจึงทำให้เหลือเพียงส่วนหัวและส่วนแขนที่ใช้หยิบกินเท่านั้น  โดยของโปรดของหน้ากาล คือ ความชั่วร้าย  คนโบราณจึงเชื่อว่า  เมื่อเราเดินผ่านทับหลังชิ้นนี้ไปมันจะดูดกลืนกินความชั่วร้ายที่ติดตัวเรามา  จึงทำให้เราเป็นผู้บริสุทธิ์  ก่อนที่จะเข้าด้านใน

สำหรับทับหลังนั้นเอาเป็นว่า ถ้ามาเที่ยวแล้วจะชี้ให้ดูรายละเอียด ก็แล้วกันค่ะ

หลุมบรรจุวัตถุมงคล

หลุมบรรจุวัตถุมงคล  ซึ่งการวางหลุมบรรจุวัตถุมงคลนั้น  ก็เปรียบเสมือนกับเป็นการวางศิลาฤกษ์  ในการสร้างปราสาท  โดยจะบรรจุของมีค่าไว้ด้านใน  แบ่งออกเป็น ๓ จำพวก  พวกแรกจะมี ๙ หลุม ๙ หลุมนี้จะบรรจุแร่รัตนชาติจำพวกพลอยแดงพลอยขาว  ส่วน ๕ หลุมโดยรอบ จะเป็นหลุมบรรจุแผ่นทองคำ  ซึ่งแกะสลักเป็นรูปดอกบัวแปดกลีบ

หมายถึง มงคลสี่ประการ  แปดพยางค์  คือ

ชัยยะ  คือ  ขอให้มีชัย

ฤทธิ  คือ  ขอให้มีฤทธิ์

สวัสดิ  คือ  ขอให้มีความสุข

ลาภ  คือ  ขอให้มีลาภ

และหลุมทางด้านสามเหลี่ยมเป็นหลุมที่บรรจุพระพิมพ์ดินเผารูปพระพุทธรูป

ปางนาคปรก  ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูปที่อยู่ด้านในปรางค์ประธานแต่มีขนาดเล็กกว่า

            หลุมบรรจุวัตถุมงคลนี้  ได้พบก่อนวันที่ ๑๒  เมษายน ๒๕๓๒  เมื่อครั้งที่

สมเด็จพระเทพฯ ได้เสด็จมาเป็นองค์ประธาน  เปิดปราสาทหินพิมายให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย  โดยทหารได้นำเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด  มาตรวจพื้นที่โดยรอบปราสาทโดยเมื่อผ่านบริเวณนี้แผ่นทองคำ  ได้ทำปฏิกิริยากับเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดเหล่าทหารจึงได้งัดแผ่นหินบริเวณนี้ออกมา  จึงพบกับหลุมบรรจุวัตถุมงคลเหล่านี้และได้นำของมงคลเหล่านี้ไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพิมาย

 

ศิลาจารึก

จารึกภาษาขอมโบราณ  แปลเป็นภาษาไทยโดย อาจารย์ฉ่ำ  ทองคำวัน  ซึ่งเป็นนักภาษาโบราณคดีของกรมศิลปากร  โดยจารึกนี้จะบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสมัยก่อนโดยจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทำพิธีกรรม “สังควัชรปุณมี”ซึ่งจะทำขึ้น

ในวันพุธ  แรมหกค่ำ  เดือนอ้ายของทุกๆปี  และได้บอกถึงชื่อเดิมของปราสาทหินพิมาย คือ “ศรีวิเรนทราศรม” หมายถึง  อาศรมของผู้ยิ่งใหญ่  และชื่อเดิมของเมืองพิมาย 

คือ  “วิมายะปุระ” ซึ่งหมายถึงเมืองที่ปราศจากมายา นั้นเอง

ตรงนี้หารูปยาก เดี๋ยวไว้มาเที่ยวจะชี้ให้ดูอีกที   มันต้องมาดูของจริงจะได้อรรถรส 

        บันทึกหน้าจะพาไปเที่ยวลานชั้นใน  และปรางค์ต่างๆแล้วค่ะ  โปรดติดตามอตอนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 489823เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 23:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เที่ยวทางบันทึกไว้ก่อน แล้วจะย้อนมาเที่ยวให้ประจักษ์

Thank you (on behalf of คนถางทาง) for this "...ศิลาจารึก จารึกภาษาขอมโบราณ แปลเป็นภาษาไทยโดย อาจารย์ฉ่ำ ทองคำวัน..."

I checked จารึกปราสาทหินพิมาย ๓
http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/th/main.php?p=ZGV0YWls&id=233
...
อักษรที่มีในจารึก     ขอมโบราณ
...
ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “จารึกหลักที่ ๖๑ จารึกที่กรอบประตูซุ้มระเบียงคดปราสาทหินพิมาย,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๓ : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๐๘), ๑๓๑ - ๑๓๔.

But I found this on a government department (กระทรวงวัฒนธรรม) website: http://www.thaiwhic.go.th/tentative1.aspx


อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

               ตั้งอยู่ในอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ห่างจากตัวเมืองนครราชสีมาประมาณ ๖๐ เมตร เป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน
               ชื่อ พิมาย นั้น น่าจะเป็นคำเดียวกันกับชื่อ วิมาย ที่ปรากฏอยู่ในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาทพิมาย

What can we say? But shame on กระทรวงวัฒนธรรม - They can't even see the difference between ขอม and เขมร. Do they have to be told how to do the right things?

ขอบคุณท่าน SR ชลัญผิดเองแหล่ะ จริงๆต้อง เป็นภาษา ขอม แต่ด้วย ภาษาเขมรนั้นมีต้นกำเนิดมาจากภาษาขอม นั่นเอง ก็เลยเวลาพิมพ์ลงไปอาจเกืดจากความคุ้นมือ

 http://www.baanmaha.com/community/thread31574.html

                                                          *** ... Congratulations ! Na  Kah...*** 

                                        

ขอบคุณ Blank Quantumphysics  ที่ให้กำลังใจ  อยากมาเที่ยวเมื่อไรมาได้เลย  สำหรับกัลยาณมิตร  GTK ชลัญพาเที่ยวฟรี แถมที่พักพร้อมถ้าต้องการ  mail มาล่วงหน้าได้จ้า 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท