ผู้บริหารต้องปรับเปลี่ยนมาเป็นผู้นำ จากบทความในHarvard Business Review


ผมได้อ่าน Harvard Business Review เล่มใหม่ บทความเขียนโดย Watkins ที่เน้นเรื่องผู้บริหารต้องปรับเปลี่ยนมาเป็นผู้นำ

ผมเคยใช้ตารางของผมเอง ดังนี้

Leadership roles (Chira Hongladarom style)

1. Crisis management การจัดการภาวะวิกฤต

2. Anticipate change การมีส่วนร่วมในความเปลี่ยนแปลง

3. Motivate others to excellent การกระตุ้นผู้คนสู่ความยอดเยี่ยม

4. Conflict resolution การแก้ไขความขัดแย้ง

5. Explore opportunities การสร้างโอกาสแก่ผู้อื่น

6. Rhythm & Speed รู้จักใช้จังหวะและความรวดเร็ว

7. Edge ( Decisiveness ) กล้าตัดสินใจ

8. Teamwork ทำงานเป็นทีม

9. การบริหารความไม่แน่นอน

แต่ในบทความล่าสุด ผมชอบมาก เพราะมีมุมมองที่ดี และน่าจะนำมาใช้ และปรับปรุงประเทศของเรา ดังนี้

-          สิ่งแรก คือ อย่างทีผู้ว่าสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) พูดไว้ว่า ถ้าขึ้นมาอยู่ตำแหน่งสูง ก็ต้องปรับตัวอีกมาก

-          ตัวอย่างที่เห็นคือ คนที่ทำการเงิน ก็จะสนแต่การเงิน ซึ่งจะขึ้นไประดับ CEO ลำบาก  แต่ฝรั่งที่เป็นพ่อครัว จะมาเป็นเบอร์ 1 ของโรงแรมก็มีโอกาสเป็นไปได้ เพราะเขาปรับตัวได้ เพราะฉะนั้นผู้นำต้องใช้คนอื่นทำ ไม่ใช่ทำเอง

การปรับตัวมีหลายมิติ ดังนี้

-          มิติที่ 1คือ ผู้นำต้องรู้ในหลายๆเรื่อง หรือเรียกว่าจาก Specialists มาเป็น Generalists

-          มิติที่ 2คือ  การเป็นผู้บริหารต้องเก่งในการวิเคราะห์ซึ่งมีความจำเป็น แต่ผู้นำจะต้องวิเคราะห์ก่อนแล้วบูรณาการ  นำการวิเคราะห์ของทุกๆฝ่ายมาเป็นแนวคิดของตัวเรา เพื่อนำมาปรับปรุงองค์กรให้ดีกว่าเดิม

ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่ดี  ถ้าวิเคราะห์เป็นก็จะช่วยได้เยอะ แต่ต้อง Integrate ที่วิเคราะห์มาแล้วและ นำความรู้หลายๆด้าน มารวมเข้าด้วยกัน

-          มิติที่ 3  คือ ผู้บริหารจะปฏิบัติตามยุทธวิธี (tactics) แต่ผู้นำ จะนำเอายุทธวิธี (tactics) มารวมกันเป็น Strategies ให้ได้

-          มิติที่ 4   คือ  การแก้ปัญหาของผู้บริหารเป็นสิ่งสำคัญมาก  ถ้าแก้เสร็จแล้วต้องมองไปถึงอนาคต ว่าวาระต่อไปขององค์กรจะอยู่รอดอย่างไร ซึ่งเรียกว่า Agenda Setter

-          ประเด็นสุดท้าย  ผู้นำต้องเป็น designer คือ นักออกแบบ ผมเคยใช้แนวคิดมาแล้ว เช่น HR Architecture ซึ่งหลายคนไม่เข้าใจ

องค์กร หรือ ประเทศจะอยู่รอดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการออกแบบสิ่งที่เกิดขึ้นว่าจะเป็นแบบไหน

ผู้บริหารอาจจะบริหารแบบเดิม  คือ ติดอยู่กับโครงสร้าง (Structure)  หรือ บริหารแบบเก่ง เรียกว่า การก่ออิฐ (Bricklayers) แต่เพราะต้องเป็น Organizational Architects คือต้องดูองค์กรว่าจะปรับยุทธวิธีใหม่ได้หรือไม่  มีแรงบันดาลใจให้คนมีความสุขในการทำงานหรือไม่

            ข้อเขียนของผมคงไม่ใช่แค่ผู้อ่าน blog ธรรมดา แต่จะให้ทางผู้นำรุ่น 8 ของกฟผ.ที่ผมฝึกอยู่ ได้เห็นว่าท่านและผู้บริหารในองค์กร ต้องเพิ่มศักยภาพอะไรอีกมากมายครับ

 

หมายเลขบันทึก: 489537เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 20:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท