ฝึกทักษะการผลิตและขยายจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืชในแปลงนา


อบรมเกษตรกรหลักสูตรการผลิตขยายจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืช

                         เมื่อวันที่ ๒๑-๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ณ.ศาลาวัดสร้อยสุวรรณ หมู่ที่ ๒๒ ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ทางศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร ได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมเกษตรกรหลักสูตรการผลิตขยายจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืช โดยมีเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายคือสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนหนองปิ้งไก่ จำนวน ๕0 คน(ประกอบด้วยสมาชิกหมู่ ๒,๒๒,๑๓,๑๙ ตำบลนาบ่อคำ)  โดยทางผมและทีมงานก็ไปร่วมกิจกรรมด้วยครับ

 

       

 

       

 

  

                          ในช่วงแรกของวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ทางเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร( นายคำปริว จันทร์ประทักษ์ ) ได้มาพบปะพร้อมสร้างความเข้าใจแก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรนี้ จากนั้นทางทีมวิทยากรจากศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดพิษณุโลก ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการผลิตขยายจุลินทรีย์ เพื่อใช้ในการควบคุมศัตรูพืชในแปลงนา แต่ครั้งนี้ทางวิทยากรและทีมงานมุ่งเน้นจะฝึกภาคปฏิบัติในการผลิตจุลินทรีย์แก่เกษตรกรทุกราย ตามหลักสูตรนี้

 

 

                        จากนั้นคุณพจน์ จรูญชัย (นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ) มาจากศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดพิษรุโลก ได้นำทีมวิทยากรมาฝึกทักษะพร้อมอธิบายในการผลิตขยายจุลินทรีย์เพื่อควบคุมศัตรูข้าว โดยมีการปฏิบัติดังนี้

 

                    ๑. นำเมล็ดข้าวฟ่าง ประมาณ ๘o กิโลกรัม มาล้างให้สะอาดและแช่น้ำไว้ ๑๒-๒๔ ชั่วโมง     

                    ๒.นำเมล็ดข้าวฟ่างที่แช่น้ำแล้ว  ไปต้มพอน้ำเดือด( ประมาณ ๑๕ นาที แล้วตักไปผึ่งบนตะแกรงให้แห้งพอหมาดๆ

                     ๓. นำไปบรรจุถุงพลาสติกทนความร้อน ขนาด ๖X ๑๒ นิ้ว ถุงละ ๕oo กรัม( ๕ ขีด)

                     ๔. ใส่คอขวดพลาสติกแล้วปิดด้วยจุกสำลี  แล้วใช้กระดาษปิดอีกชั้นหนึ่ง มัดด้วยยางวงให้แน่น

                      ๕. นำถุงเมล็ดข้างฟ่าง ไปนึ่งในหม้อนึ่งความดัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคด้วยอุณหภูมิ ๑๒๑องศาเซนเซียส ความดัน ๑๕ ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นาน ๓o-๖o วินาที(ถ้าเป็นหม้อนึ่งลูกทุ่ง ใช้เวลานาน ๓ ชั่วโมง นับจากน้ำเดือด)

                      ๖. เมื่อนึ่งครบเวลาแล้ว นำถุงเมล็ดข้าวฟ่างออกจากหม้อนึ่งไว้ให้เย็น

                       ๗. นำถุงเมล็ดข้าวฟ่างไปใส่หัวเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ในห้องที่ปิดมิดชิด(ก่อนเขี่ยเชื้อให้ทำความสะอาดพื้นโต๊ะและมือด้วยแอลกอฮอล์ ๗o % ทุกครั้ง

                       ๘. เมื่อใส่หัวเชื้อราในถุงเมล็ดข้าวฟ่างเสร็จแล้ว ให้นำไปเก็บไว้ในห้องหรือในที่ร่มใต้ถุนบ้านไม่ให้ถูแสงแดด รออีกประมาณ ๗-๑o วัน ก็สามารถนำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าไปใช้ได้

 

          

       

          

                                 ขั้นตอน ๑-๔

 

                     สำหรับวิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน สำหรับนาข้าวเกษตรกรนิยมการฉีดพ่น เป็นวิธีที่สะดวก ง่ายต่อการปฏิบัติ โดยฉีดพ่นส่วนบนของต้นพืช การใช้เชื้อสดผสมน้ำ จำเป็นต้อองกรองเอาเฉพาะน้ำเชื้อออกมา เพื่อไม่ให้เมล็ดข้าวฟ่างอุดตันหัวฉีด กรณีฉีดพ่นส่วนบนของพืชใช้อัตรา ๒ กิโลกรัม ผสมน้ำ ๒oo ลิตร  เพื่อป้องกันกำจัดโรคใบไหม้ของข้าว

        

           เตรียมใส่ถังนึ่งฆ่าเชื้อ                              สาธิตการเขี่ยเชื้อลงถุง

 

 

         

                              เกษตรกรลงมือทำเอง

 

 

                    การฝึกทักษะในการอบรมหลักสูตรนี้ นอกจากการผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าแล้ว ยังมีการฝึกการผลิตขยายเชื้อราบิวเวอเรีย ซึ่งมีคุณสมบัติในการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว นอกจากนี้แล้วยังมีการผลิตขยายเชื้อแบคทีเรียบาซิลัส ซับทีลิส(บีเอส) ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ทีนำมาใช้ทดแทนสารเคมีในการควบคุมโรคพืช ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าหากเกษตรกรสามารถผลิตมาใช้เองได้ก็จะช่วยลดการใช้สารเคมีลดความเสี่ยงอันตรายจากสารเคมีและลดต้นทุนการผลิตในเรื่องควบคุมศัตรูพืชได้

 

 

 

        เขียวมรกต

        ๒๓ พค.๕๕

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 488961เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 19:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 14:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากลองทำดูครับ แต่ว่าผมจะหาข้าวฟ่างได้ที่ไหนครับอาจารย์

  • ขอบคุณท่านยางลบฯ
  • ทีแวะมาทักทายกัน
  • สำหรับเมล็ดข้างฟ่าง ส่วนใหญ่จะมีขายที่ร้านรับซื้อพืชไร่ในท้องถิ่นนั้นๆ
  • อีกแหล่งหนึ่งจะมีขายที่ร้ายขายอาหารสัตว์ หรืออาหารนก ใกล้บ้านท่าน
  • ถ้าจะหาแหล่งที่เกษตรกรปลูกก็ควรสอบถามที่สนง.เกษตรอำเภอใกล้บ้านท่านครับ
  • ขอขอบคุณ คุณปริม
  • ที่แวะมาให้กำลังใจครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท