Scenario ระบบสุขภาพชุมชน (๑) : มองภาพอนาคตระบบสุขภาพชุมชน ปี ๒๕๖๐


          จากมติของคณะอนุกรรมการกำกับทิศทางแผนงานพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน โดยมี นพ.มงคล ณ สงขลา เป็นประธานอนุกรรมการฯ เมื่อ วันที่ ๑ พฤษภาคม ๕๕ ที่ห้องประชุมสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสาขาเขตพื้นที่สงขลา เรื่อง การทำความเข้าใจร่วมเรื่องขอบเขตและเป้าหมายปลายทางที่ต้องการเห็นของระบบสุขภาพชุมชน จึงได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ขึ้นในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๕๕ ณ โรงแรมริชมอนด์ โดยมีผู้แทนของแต่ละองค์กรส. เข้าร่วมประมาณ ๓๐ คนด้วยกัน ประกอบด้วยผู้แทนจากองค์กร ส.ในส่วนกลาง พี่เลี้ยงที่เป็นกลไกสนับสนุนของแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งผู้แทนจากพื้นที่ปฏิบัติการของสสส. โดยมี นพ.ชาตรี เจริญศิริ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขตพื้นที่พิษณุโลก และพญ.สุพัตรา ศรีวณิชชากร ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรหลักพร้อมด้วยทีมงานสำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน

          ภาพรวมช่วงเช้าของกิจกรรมเป็นการสื่อสารแบบ Interactive เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมทั้งสร้างความเข้าใจร่วมเรื่อง scenario ระบบสุขภาพชุมชน กระบวนการหลักใช้การตั้งคำถาม การใช้บัตรคำเพื่อสะท้อนความคิดด้วยคำสำคัญ และ การให้เวลาเพื่อขยายความและแลกเปลี่ยนความคิด รูปธรรม เรื่องราวจากประสบการณ์จริงระหว่างผู้เข้าร่วม จากนั้นประมวลและสรุปภาพรวมของฉากทัศน์ของระบบสุขภาพชุมชน

          ภาพรวมช่วงบ่ายเป็นการให้ข้อมูลจากผู้แทนที่มาจากแต่ละองค์กร ส.เกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนในมิติต่างๆ โดยแต่ละเครื่องมือทำหน้าที่ได้หลากหลายและเชื่อมโยงกันจากการเติม ชื่อเครื่องมือ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน จากนั้น ให้ผู้แทนแต่ละองค์กร ส. เสนอรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมแลกเปลี่ยนข้อซักถามในแง่ประสบการณ์ บทเรียนการใช้เครื่องมือ ข้อจำกัด และ ความเป็นไปได้ในการใช้เครื่องมืออื่นๆมาหนุนเสริมการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน

มองภาพอนาคตระบบสุขภาพชุมชน ปี ๒๕๖๐

          กิจกรรมเก็บความคิด นิ่ง นึก เขียน “เขียนสิ่งที่ฉันฝัน” (กระดาษสีเหลืองแปะ Flip chart) โดยให้คิดภาพฝันที่อยากจะเห็นด้วยคำถาม หากนึกถึงเรื่องระบบสุขภาพชุมชนในอนาคต “ท่านฝันเห็นเรื่องอะไรที่อยากให้เกิดที่สุด” (ตัวฉันฝันเห็นอะไร) จากนั้นให้มีเพื่อนในกลุ่มมาจัดเรียงความฝันลงกล่องตามมิติทั้ง ๔ ที่สะท้อนมิติความชัดเจนของการมองเรื่องสุขภาพในหลากหลายมิติ คือ ๑) ประชาชนได้รับผลชัด ๒) สุขภาพกายชัด ๓) สุขภาพมิติอื่นชัด ๔) ด้านสังคมชัด

          อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมแต่ละคนให้ขอบเขตและการจัดแบ่งกลุ่มเนื้อหาที่ได้ในแต่ละมิติแตกต่างกันบ้างตามหลักคิดและประสบการณ์ จึงสรุปเบื้องต้นตามน้ำหนักของความคิดเห็นได้ ดังนี้

เป้าหมายที่เกิดขึ้น/ผลลัพธ์ต่อประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

  • ชาวบ้านมีความรู้ความสามารถ ดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น
  • ชาวบ้านดูแลตนเองเบื้องต้นได้เมื่อเจ็บป่วย และสามารถเลือกใช้บริการที่เหมาะสมได้
  • ประชาชนในตำบลพึ่งตนเองได้มีความสุข อยู่อย่างพอเพียง
  • ประชาชนเป็นเจ้าของระบบสุขภาพ มีส่วนร่วมในการจัดการเรื่องสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน
  • ชุมชน ท้องถิ่นสามารถจัดการตนเองได้ /ชุมชนสามารถจัดการปัญหาสุขภาพของชุมชนได้
  • ชุมชนจัดการตนเอง/ดูแลสุขภาพคนในชุมชนให้มีสุขภาพดี
  • ชุมชนฉลาด พึ่งตนเองได้ มีศักดิ์ศรีและไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติขององค์กรภายนอก
  • ชุมชนมีศักยภาพพึ่งพาได้ มีความสามารถจัดการได้ทุกเรื่อง “อยู่ ดี มี สุข”
  • ชาวบ้านคิดได้ ทำเป็น มีส่วนร่วมและมีความสุข
  • คนในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ไม่เป็นหนี้นอกระบบ
  • ประชาชนยิ้มได้ ๒๔ ชั่วโมง

มิติกระบวนการ/การพัฒนา/กิจกรรมของประชาชน และกลไกสนับสนุนที่นำไปสู่ระบบสุขภาพชุมชน

  • ประชาชนทุกคนมีญาติเป็นหมอ
    ด้านร่างกาย บริโภคเนื้อสัตว์น้อยลง กินผักมากขึ้น ออกกำลังกายมากขึ้น
    ด้านจิตใจ รู้จักนั่งสมาธิ มีสติระงับอารมณ์และความต้องการมากขึ้น
    คนมีอาหารที่มีคุณค่ากิน และผลิตอาหารได้(มีความมั่นคงทางอาหาร)
  • กลไกการทำงานด้านสุขภาพของชุมชนที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพของชุมชนเพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพดีของคนในชุมชน
  • ชุมชนมีข้อตกลงร่วมของพื้นที่ในการสร้างชุมชนเข้มแข็งร่วมกัน และมีกระบวนการจัดการไปสู่ภาพอนาคตอย่างเป็นจริง
  • ประชาชน ชุมชน มีความเป็นเครือข่ายการเรียนรู้และเชื่อมโยงกันมากขึ้น
  • การดูแลผู้ด้อยโอกาส และสร้างความมีส่วนร่วมในทุกระดับ
  • เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมมือกับ อปท.และแกนนำชุมชน คิดค้นวางแผนจัดการร่วมกันดูแลสุขภาพของประชาชนแต่ละกลุ่มได้อย่างครอบคลุม
  • ชุมชนท้องถิ่นและประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการระบบการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง คนพิการ
  • อสม.เป็นนักจัดการสุขภาพชุมชนที่เข้มแข็ง
  • คนในแต่ละตำบลมีความเท่าทันและมีทักษะในการจัดการปัญหาในทุกระดับ
  • เครือข่ายภาคประชาชนเปลี่ยนวิสัยทัศน์จากผู้รับเป็นผู้พึ่งพา
  • ลดอัตราป่วย/ตาย/ทุพลภาพโดยมีหน่วยงานรัฐในชุมชน เช่น โรงพยาบาลเป็นพี่เลี้ยงและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง


-------------------------------------------
เรื่อง : Scenario ระบบสุขภาพชุมชน
ภาพ : ณัฐพัชร์ ทองคำ
สถานที่ : โรงแรมริชมอนด์
วัน เวลา : ๑๒ พฤษภาคม ๕๕

 

หมายเลขบันทึก: 488726เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 20:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 05:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

Scenario ระบบสุขภาพชุมชน

@ โดยชุมชน

@ ของชุมชน

@ เพื่อชุมชน

 

- ขอบคุณมาก สำหรับบทความดีๆ นี้นะคะ

ชอบบทความสุขภาพชุมชนของพี่เหมียวครับ

สวัสดีค่ะ พี่ Somsri  :

  • โดยภาพรวมทางแผนงานฯ มีความพยายามที่จะทำภาพของระบบสุขภาพให้ชัดและเชื่อมโยงทุกภาคส่วนให้ได้มากที่สุดเพื่อที่ส่งผลต่อการดำเนินงานเชิงระบบให้ได้ครบทุกมิติ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้ที่จะนำไปขับเคลื่อนเชิงพื้นที่ต่อไปหล่ะค่ะ
  • ขอบคุณเช่นกันค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ Dr.Pop : เป็นภาพและผลสะท้อนออกมาจากกลุ่มที่มาร่วมเวทีในวันนั้นหล่ะค่ะ ตั้งแต่ท่านรองปลัดฯ ท่านผู้ตรวจการฯ และผู้แทนจากองค์กรภาคเครือข่าย และยังมีภาคท้องถิ่น ภาควิชาการ และภาคประชาชนด้วยค่ะ เลยได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ชาวบ้าน ประชาชนได้เกือบจะครอบคลุมค่ะ

กราบนมัสการ และขอบคุณทุกท่านค่ะ ^^

สมาชิกที่ให้กำลังใจ:  Ico48 Ico48 Ico48 Ico48 Ico48 Ico48 Ico48

โห..เป็น มหากาพย์ ที่มีคุณค่า ต้องใช้เวลาค่อยๆ อ่าน เป็นกำลังใจให้ค่ะ :)

สวัสดีค่ะคุณหมอปัทมา Ico48 

  • ค่อยๆ อ่านนะคะมีคุณค่าจริงๆ ค่ะสำหรับชาวปฐมภูมิ บุคคลากรทางสุขภาพค่ะ
  • ขอบคุณค่ะสำหรับกำลังใจ ^^
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท