Facebook สื่อสารสร้างสรรค์ ปฏิสัมพันธ์และการเรียนรู้


Facebook สื่อสารสร้างสรรค์ ปฏิสัมพันธ์และการเรียนรู้

 

สื่อสารสร้างสรรค์ปฏิสัมพันธ์และการเรียนรู้

 

นางสาวณัฎฐิรา  ปัญญาอินทร์

              

ที่มา :  http://webboard.ladytips.com/topic/8847

 

เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือ Social Network ที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยมีผู้ใช้บริการมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก อย่าง Facebook (เฟซบุ๊ค) หรือ www.facebook.com ย่อมต้องมีสิ่งที่น่าสนใจดึงดูดผู้คนเข้าใช้บริการ  Facebook เปิดให้ใช้งานเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2547  โดย มาร์ค  ซักเคอร์เบิร์ก นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ในช่วงแรกนั้นเฟซบุ๊คเปิดให้ใช้งานเฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ซึ่งต่อมาได้ขยายตัวออกไปสำหรับมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐอเมริกา และตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้ขยายให้สามารถใช้งานได้สำหรับผู้ใช้ทั่วไปเช่นในปัจจุบัน  ทำไมเฟซบุ๊ค จึงเป็นที่นิยมมากที่สุด อาจเนื่องมาจาก ผู้ใช้งานสามารถใช้ เฟซบุ๊คเพื่อติดต่อสื่อสารหรือร่วมทำกิจกรรมร่วมกับผู้ใช้อื่นได้ รวมไปถึงทำกิจกรรมต่างๆ ผ่านแอพลิเคชั่น (Applications) ที่มีอยู่อย่างมากมาย ความน่าสนใจของเฟซบุ๊คยังไม่หมดเพียงเท่านี้ มาทำความรู้จักเฟซบุ๊ค ในแง่มุมต่างๆ ให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากเฟซบุ๊คได้ อย่างเต็มที่

 

ที่มา :  http://facebook.kapook.com/about_facebook.php

Facebook  (เฟซบุ๊ค) คือ บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่ผู้ใช้สามารถสร้างข้อมูลส่วนตัว เพิ่มรายชื่อผู้ใช้อื่นในฐานะเพื่อนและแลกเปลี่ยนข้อความ ติดต่อสื่อสาร  ตั้งประเด็นถามตอบในเรื่องที่สนใจ  โพสต์รูปภาพ โพสต์คลิปวิดีโอ  เขียนบทความหรือบล็อก สนทนาแบบโต้ตอบทันที  นอกจากนั้นผู้ใช้ยังสามารถร่วมกลุ่มความสนใจส่วนตัว จัดระบบตาม สถานที่ทำงาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรืออื่นๆ  และสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ผ่านแอพลิเคชั่นเสริม (Applications) ที่มีอยู่มากมาย ซึ่งแอพลิเคชั่นดังกล่าวได้ถูกพัฒนาเพิ่มเติมขึ้นอย่างต่อเนื่อง การใช้งานเฟซบุ๊ค ผู้ใช้จะคอยอัพเดทแบ่งปันข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน ทั้งกลุ่มที่อยู่ในเฟซบุ๊คหรือแม้แต่ผู้ใช้เว็บไซต์อื่นที่เชื่อมต่อกับเฟซบุ๊ค ยังสามารถสื่อสาร ส่งต่อหรือแบ่งปันข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทำให้สังคมออนไลน์บนเฟซบุ๊คเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางและเข้มแข็งมาก

 

 ที่มา :  http://facebook.kapook.com/about_facebook.php

 

สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ผ่าน Facebook

 

ที่มา :  http://www.i3.in.th/content/view/4544

การใช้เฟซบุ๊คสื่อสารอย่างสร้างสรรค์  คือ การสื่อสารทางบวกหรือในทางที่ดี  เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ผู้อื่นและสังคม  ตัวอย่างการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ทำได้ดังนี้

ผู้ใช้สามารถใช้เฟซบุ๊คเปิดเผยตัวตนของตนเองต่อสังคม ช่วยทำให้มีความกล้า มีความมั่นใจที่จะแสดงตัวตนออกมามากขึ้น ทำให้ไม่กดดันเมื่อต้องการเขียนเล่าสิ่งที่ตัวเองคิดลงในเฟซบุ๊คเหมือนกับการพูดกันต่อหน้า เฟซบุ๊คยังเป็นตัวช่วยในการรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนๆ เอาไว้ได้ ถ้าหากมีเพื่อนอยู่แล้ว การใช้เฟซบุ๊ค ติดต่อสื่อสารกับเพื่อนอยู่เป็นประจำ จะเป็นตัวช่วยที่จะทำให้รักษาความสัมพันธ์ ที่ดีกับเพื่อนเอาไว้ได้  การที่เฟซบุ๊คได้รวมเครื่องมือต่างๆ ไว้หลายอย่าง ทั้ง การส่งข้อความ ลิงค์ รูปภาพ คลิป และสนทนาพร้อมกันได้ครั้งละหลายๆ คน เพื่อให้เกิดการสื่อสารที่รวดเร็ว สะดวกและเป็นประโยชน์ ทั้งกับการเรียนและการทำงาน ใช้เพื่อขอความช่วยเหลือและให้ความช่วยเหลือต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที  นอกจากนี้สามารถใช้หาข้อมูล ติดตาม ในเรื่องที่สนใจ ทั้งข่าวสารธุรกิจ การค้า บันเทิง หรือผลิตภัณฑ์ และยังสามารถสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องได้โดยตรง และรวดเร็ว อยากสอบถามพูดคุยเพิ่มเติมทำได้สะดวก  สามารถใช้สำหรับโฆษณาประชาสัมพันธ์และสร้างรายได้อีกด้วย

 

Facebook กับการสร้างปฏิสัมพันธ์

 

ที่มา :  http://webboard.ladytips.com/topic/8847

 

ปฏิสัมพันธ์หรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้ในเฟซบุ๊ค เรียกว่า “friend หรือ เพื่อน” เมื่อเราเป็นเพื่อนกับผู้ใช้คนอื่น ก็สามารถรับรู้สิ่งต่างๆ ของผู้ใช้คนนั้นๆ พูดคุยกับเพื่อน ทั้งเพื่อนใหม่ เพื่อนเก่าและรู้จักกับเพื่อนใหม่จากการแนะนำของเพื่อนในเฟซบุ๊ค ซึ่งสามารถตั้งค่าและเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ได้ เมื่อเราต้องการเป็นเพื่อนกับผู้ใช้คนอื่น ทำได้โดยการเพิ่มเป็นเพื่อนหรือตอบรับคำขอเป็นเพื่อนจากผู้ใช้คนอื่น หรือเมื่อไม่ต้องการเป็นเพื่อนกับผู้ใช้คนอื่นก็สามารถเลิกเป็นเพื่อนได้เช่นกัน

กลุ่มการตั้งกลุ่มตามความสัมพันธ์หรือความสนใจในเรื่องเดียวกัน สามารถแสดงความคิดเห็นหรือแบ่งปันสิ่งต่างๆ ร่วมกัน เช่น ครอบครัว กลุ่มเพื่อน  กลุ่มห้องเรียนกลุ่มโรงเรียน กลุ่มศิษย์เก่า กลุ่มตามความสนใจ  ฯลฯ โดยคนในกลุ่มสามารถเพิ่มเพื่อนเข้าไปในกลุ่มต่ำไม่สามารถลบเพื่อนในกลุ่มออกได ผู้ที่สามารถลบเพื่อนในกลุ่มได้คือผู้ที่ตั้งกลุ่มเท่านั้น

Fanpage การสร้าง Fanpage คือเป็นการรวมกลุ่มจากสิ่งที่สนใจร่วมกันให้ผู้อื่นติดตาม เช่น Fanpage เรารักในหลวง เพื่อเป็นการเผยแพร่สิ่งที่สนใจแก่ผู้ใช้คนอื่น

การติดตาม เมื่อเราสนใจในเรื่องราว หรือความเคลื่อนไหวผู้ที่เราไม่ได้เป็นเพื่อนในเฟซบุ๊ค เมื่อเราเลือกติดตาม เราก็สามารถรับรู้ข่าวคราวความเคลื่อนไหวของเขาได้

Facebook กับการเรียนรู้

 

ที่มา :  http://www.npc-se.co.th/read/npc_read_detail.asp?cate_id=2&read_id=1140

                  ในเฟซบุ๊คมีการแบ่งปันเรื่องราว  ความรู้ แง่คิด ประสบการณ์ ทำให้เราเรียนรู้เรื่องราวชีวิตของผู้อื่น สามารถนำสิ่งที่ได้มาปรับใช้ได้  การเรียนรู้รวมกันผ่านเฟซบุ๊คทำได้โดยสร้างกลุ่มเพื่อการเรียนรู้เรื่องที่สนใจร่วมกัน และสามารถนำเฟซบุ๊คไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยใช้เป็นกิจกรรมหลัก หรือการเสริมบทเรียน โดยการสร้างเป็นกลุ่มเรียนแล้วนำเสนอสื่อการสอนในรูปแบบของเนื้อหา บทความ สื่อมัลติมีเดีย การนำ เสนองาน ผลงาน ฯลฯ   ทำให้เกิดความน่าสนใจ เรียนรู้ได้ตลอดเวลา ครูและนักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านการพูดคุย แสดงความคิดเห็น การสอบถาม การให้คำแนะนำและคำปรึกษา ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลา ผู้ที่มีโอกาสเรียนรู้มากย่อมได้เปรียบ จะเห็นได้ว่าเฟซบุ๊คสามารถสร้างประโยชน์โดยเป็นแหล่งเรียนรู้ได้อีกช่องทางหนึ่ง

                เฟซบุ๊คในฐานะเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมจากคนทั่วโลก และกำลังได้รับความนิยมในทุกกลุ่มของคนไทย มีสิ่งที่ได้น่าสนใจและประโยชน์ทั้งด้านการติดต่อสื่อสาร สร้างปฏิสัมพันธ์ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไม่เพียงเท่านั้น ผู้ใช้สามารถใช้ประโยชน์จากเฟซบุ๊คได้อีกมากมาย แต่เราต้องรู้จักความพอดี มีสติ มีความระมัดระวัง และเปิดใจฟังความเห็นที่แตกต่าง เราก็จะสามารถใช้เฟซบุ๊คได้อย่างมีประโยชน์และมีความสุข  คำถามทิ้งท้ายที่อยากฝากไว้สำหรับผู้อ่าน คือ “ คุณใช้เฟซบุ๊คให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่แล้วหรือยัง? ”

 

ที่มา :  http://www.dmc.tv/pages/top_of_week/

อ้างอิง

 

โซลมาสเตอร์. 2553. Facebook..คืออะไร??  (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.iqraforum.com/forum/index.php?topic=3043.0. (วันที่ค้นข้อมูล : 26 มีนาคม 2555).

สารานุกรมเสรี. 2555.  เฟซบุ๊ก. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/.

(วันที่ค้นข้อมูล : 26 มีนาคม 2555).

Dhamma Media Channel. 2554. Facebook คืออะไร ประวัติของ Facebook และวิธีการสมัคร

Facebook(ออนไลน์). แหล่งที่มา :  http://www.dmc.tv/pages/top_of_week/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4Facebook-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A3Facebook.html (วันที่ค้นข้อมูล : 26 มีนาคม 2555).

KTC Join.  2554.  เฟสบุ๊ค พระเอกของสังคมออนไลน์.  (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.facebook.com/note.php?note_id=223609224337342.  (วันที่ค้นข้อมูล : 3 พฤษภาคม 2555).

Makewebeasy. 2553. FaceBook คืออะไร. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.makewebeasy.com/article/facebook.html. (วันที่ค้นข้อมูล : 26 มีนาคม 2555).

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 488506เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณคุณครูมากครับ ถ้าว่างมาเขียนเรื่องการเรียนการสอนบ้างนะครับ...

โอกาสหน้าจะลองเขียนเกี่ยวกับการเรียนการสอนดูค่ะ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำและกำลังใจนะคะ

จุดดำ ... คงมี

มองดี ... ทุกแ่ง่มุม

แอบตามอาจารย์ Ico48 ขจิต ฝอยทอง มาครับ ;)...

บ่อยครั้งที่ได้ยินได้ฟังผลเสียของ facebook
ก็อยากให้ผู้อ่านมอง facebook ในอีกมุมหนึ่ง มุมที่เป็นข้อดีและการใช้ประโยชน์จาก facebook ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท