ถั่วอบสมุนไพร ศรีไพรสถิต โอท็อปดีเด่นของกลุ่มแม่บ้านศรีสถิต อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น


ความหลังของการต่อสู้ เพิ่มมูลค่าถั่วลิสง ถ้าไม่เล่า แล้วจะลืมรากเหง้า จึงขอบอกกล่าว ก่อนที่จะมีผลิตภัณฑ์ โอท็อป เกี่ยวกับถั่วลิสง ความเป็นมาอย่างไร โดยเฉพาะที่ทำชื่อเสียง ให้ชาวอำเภอกระนวน คือถั่วอบสมุนไพร ศรีไพรสถิต

   

 ภาพตอนเป็นนักศึกษายืนตรงกลาง ฟรีเซนท์ โอท็อป และวิสาหกิจชุมชนคืออะไร ภาพนี้ 6 ปีมาแล้วนะคะ ช่วงนั้นอายุเกือบจะ 50 แล้วคะจะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์เริ่มพัฒนาการการบรรจุห่อ ที่สวยงาม มีถ้วยให้ชิมด้วย พัฒนาการขาย ไปทุกที่ ที่ที่มีการแสดงสินค้าพื้นเมือง หรือโอท็อป

 ภาพ นางนวย พาระแพน เสื้อสีเหลือง ทางซ้ายมือ ประธานกลุ่มแม่บ้าน ที่เป็นผู้ริเริ่ม ให้กลุ่มแม่บ้านได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการตั้งกลุ่มถั่ว  และจะออกไปขายทุกที่ ที่มีคนแจ้งมา วันนั้น ผู้เขียนฟรีเซนท์ เลยเชิญประธานมาสัมภาษณ์ ไปรับไปส่งถึงที่บ้าน ให้เล่าความเป็นไป พร้อมเอาผลิตภัณฑ์มาโชว์ด้วย และในวันนั้นก็ทำให้ได้ขาย ให้นักศึกษา ทีมาเรียนในวันนั้น ได้เงิน 2 พันบาท ไม่เสียเที่ยว ได้ทั้งความรู้ ได้ทั้งลิ้มลอง สุดยอดจริงๆๆ ใหม่ จะกลมกล่อมมาก เหมาะที่จะเป็นของฝากของต้อน หลากหลายผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่ว

ภาพนี้ เป็นผลิตภัณฑ์เริ่มแรกที่รวมกลุ่มกันทำได้ คือการนำถั่วที่คั่วแล้ว มาใส่ถุง ขายถุงละบาท แต่ขายส่ง เป็นพวง พวงหนึ่งจะมี 14 ถุง ขายพวงละ 8 บาท ผู้นำไปขาย จะได้ 6 บาท แต่สมัยปัจจุบันนี้ ได้ทำเป็นพวง ถุงละ 5 บาทส่วนที่เกิน ได้เท่าไหร่นั้น ไม่ได้ถามในปัจจุบัน

 

พี่น้องกัลยาณมิตรทุกท่านคะ ภาพที่เห็นนี้ เป็นภาพที่ถ่ายออกจากภาพถ่าย อีกทีหนึ่ง เป็นภาพในอดีตที่หายากมาก และในภาพที่เห็นมีแต่ผู้สูงอายุ นั่งบรรจุถั่วอยู่ แสดงให้เห็นว่า เป็นงานเบาๆๆ ผู้สูงอายุก็ทำได้พอแก้เหงา แล้วยังมีรายได้พอได้ซื้อหมากซื้อพลู และที่แน่ๆๆ ตอนนี้เหล่าท่านผู้สูงอายุทั้งหลาย คงจะไม่มีชีวิตอีกแล้ว เพราะนานมากๆๆ 6-7 ปีแล้วคะ

นอกจากผู้สูงอายุแล้ว ก็เป็นกลุ่มแม่บ้าน ที่กำลังเริ่มสร้างฐานะ ตอนนั้นคงประมาณอายุ 30-40 ปี ส่วนในช่วงนี้ก็ก็บวกเข้าไป 7 ปี แก่แล้ว ถ้าได้มาเห็นภาพตนเองในช่วงนี้ ก็คงจะนึกย้อนถึงความหลัง ของการเริ่มต้นทำถั่วลิสง ซึ่งถือว่าเชยมาก มาทำถุงละบาทกัน ก็เหมาะสมกับค่าของเงินในสมัยนั้น ดูภาพยังเอ๊าะๆๆ กัน แต่ทุกวันนี้ เป็นเช่นไร หนา

ภาพนี้จะเล็งให้เห็นว่า ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพิ่มขึ้น แม้แต่การแต่งตัว ก็เริ่มพัฒนาใส่เสื้อผ้าที่ดูดี ใส่หมวกกันเปื้อน รักษาสุขอนามัย นี่ยังเป็นภาพในอดีตที่พัฒนาขึ้นมาบ้าง ส่วนปัจจุบัน ก็คงไปดูเว็บไซค์ของกลุ่มแม่บ้านที่ทันสมัย ใหม่เสมอ ที่พัฒนาแล้วในปัจจุบัน คงต้องไปดูเอง 

ภาพนี้เป็นภาพที่ถ่ายจากการแสดงวิธีการผลิต ที่ไปแสดงในบูธโอท็อปต่างๆ ของจะสดๆๆกลมกล่อม และจะผลิตขายทุกวัน จนกว่างานโอท็อปจะเลิก งานนี้เป็นศูนย์รวมโอท็อปจากภาคต่างๆๆมาแสดงรวมกัน เป็นเครือข่าย จะมีเต้นท์กางให้ในแต่ละบูธ หลวงในท้องถิ่นจัดการให้

 

ผู้เขียนสนใจ เพราะติดตามกระแสถั่วลิสงหมู่บ้านศรีสถิตมาตลอด เพราะเป็นกิจกรรมที่ยั่งยืน และพัฒนาอยู่ตลอด ไม่ว่าผลิตภัณฑ์ที่หลากกลายจุงใจผู้ซื้อ  การบริหารจัดการ  การประชาสัมพันธ์ มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ปัจจุบันใครๆๆก็รู้จัก

เมื่อกู้ถั่วขึ้นจากดินแล้ว ก็มาเด็ด มาปลิดออกจากต้น ที่เห็นนี้ หลังจากว่างเว้นเกี่ยวข้าวแล้ว ช่วงเดือนมีนาคม ก็จะมารับจ้างปลิดถั่วกัน ระหว่างนั้นเลือกเอา จะรับจ้างเกี่ยวข้าว หรือรับจ้างปลิดถั่ว เป็นถังเป็นปิ๊บ ในสมัยนั้น ค่าจ้างปิ๊บละ 10 บาท ใครขยันก็ได้หลายปิ๊บ หลายบาท ดีกว่าอยู่เปล่าๆๆ และยังได้แลกเปลี่ยน ได้สมาคมกัน พบปะกัน ทานอาหารด้วยกัน สร้างความปรองดองและสามัคคี

1 .กว่าจะตัดสินใจเขียน

                พี่น้องที่รักทุกท่านคะผู้เขียนนั่งคิดอยู่หลายวัน ว่าจะเขียนเรื่องนี้ดีไหม ในที่สุดก็ตัดสินใจ เขียน เพราะอย่างน้อยก็จะเก็บไว้เป็นตำนานเรื่องราวในอดีต ที่พี่น้องเรากลุ่มแม่บ้านหมู่บ้านศรีสถิตต้องต่อสู้กับราคาถั่ว ที่ตกต่ำ เนื่องจากใครๆๆก็ปลูก ถั่วล้นตลาด จะทำอย่างไร ที่จะทำให้ถั่วที่เคยล้นตลาด ราคาตก มีราคามูลค่าเพิ่มขึ้น  และทำให้พี่น้องผู้ที่ปลูกถั่วมีรายได้เสริมเพิ่ม มีความหวัง ว่าจะขายถั่วได้ราคาดี และพอจะมีกำลังใจปลูกกันต่อไป 

2.ภาพที่ได้มาถ่ายจากภาพถ่าย บางภาพถ่ายจากกล้อง

         สำหรับภาพ ต้องขออภัย ภาพไม่ค่อยคมชัด เพราะถ่ายมาจากภาพที่ถ่ายเป็นรูปไว้แล้ว  ซึ่งเป็นภาพในอดีต ประมาณ 8-9 ปี แล้ว ซึ่งสมัยเป็นนักศึกษา ยังไม่เก่งคอม จึงเป็นภาพที่เก็บไว้เป็นเพียงภาพถ่ายเท่านั้น  จึงใช้วิธีถ่ายจากภาพ มาเก็บในโกทูโนอีกที บางครั้ง ลืมสูตร แก้ไขไปแก้ไขมา แต่ก็มีความพยายามเหมือนเดิมคะ ไว้ว่างเมื่อไหร่จะมาศึกษาการทำภาพจากภาพที่ถ่ายไว้แล้ว เป็นภาพถ่าย มาใส่คอมที่สวยงาม เรื่องราวทุกอย่างที่เขียน ภาพทุกอย่างที่มี ล้วนได้ศึกษามาจากโกทูโนทั้งนั้น ถ้าไม่พบโกทูโน ก็ไม่มี สุ คนนี้ ซึ่งแต่ก่อนล้าหลังมากๆๆ

3. เรื่องนี้ เก็บไว้สมัยตั้งแต่เป็นนักศึกษานาน  7-8 ปีผ่านมาแล้ว

อาจารย์ให้นักศึกษา ทำความเข้าใจ คำว่า โอท็อป และวิสาหกิจชุมชน

       จากการที่เป็นนักศึกษา อาจารย์ได้ให้ไปค้นหา โอท็อปที่เด่นดังและยั่งยืนในอำเภอกระนวน หรือท้องถิ่นตน การดั้นด้นไป ในที่นี้ ก็คือ ไปเจาะลึก ตั้งแต่เริ่มต้นความเป็นมา เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ได้เดินทางไปสอบถามผู้รู้ ผู้สูงอายุ ที่ได้คลุกคลีกับถั่ว เล่าถึงความเป็นมา จนได้เป็นโอท็อปในปัจจุบัน ของอำเภอกระนวน  ในผลิตภัณฑ์ถั่วลิสง ในรูปแบบต่างๆๆ พร้อมกับพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ของถั่ว  ถั่วคั่ว ถั่วอบสมุนไพร ถั่วตัด ถั่วแกะบดสำหรับใส่กล้วยเตี๋ยว และพัฒนาห่อบรรจุที่สวยงาม เหมาะเป็นของฝากของต้อนได้เหมาะสมทีเดียว เป็นของขบเคี้ยวที่มีคุณค่าทางโภชนาการ พี่น้องคะ และเมื่อได้มาแล้ว ก็ให้ทำรายงานส่งคะ ภาพและเรื่องมันจึงมีอยู่ ที่นำมาเขียน ด้วยว่าเป็นเรื่องราวการเริ่มต้นในอดีต ที่ต่อไป ลูกหลานอาจจะลืมเลือน จึงขอบันทึกเก็บไว้ ให้ลูกหลานได้เรียนรู้สืบไป

 ภาพก็มีมากมาย แต่เป็นภาพถ่าย กว่าจะได้มาอยู่ในเรื่องราว ใช้เวลามากมายในการบรรจุ เดี๋ยวหายเดี่ยวมา คนมันไม่ว่างเหมือนก่อน ก็คงได้รูปภาพเพียงเท่านี้นะคะ

4.ประวัติคร่าวๆของหมู่บ้านศรีสถิต จุดเริ่มต้นของเรื่องราว

                ขอกล่าวถึงความเป็นไปเป็นมา ของหมู่บ้านศรีสถิต อยู่หมู่ที่ 12 ตำบลหนองโก อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น  อาชีพหลักคือการทำนา ทำไร่อ้อย คนที่มีพื้นที่มากก็ปลูกยางพารา เป็นชุมชนที่ขยันขันแข็ง ไม่ปล่อยเวลาให้เปล่าประโยชน์ มีกิจกรรมหลายอย่าง ที่มารวมกันทำเป็นกลุ่ม แต่กลุ่มกิจกรรมถั่วลิสง ยั่งยืนที่สุด และมีชื่อเสียงที่สุด และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากชาวบ้านโดยตรง วัตถุดิบคือถั่ว ทำให้ชาวบ้านนิยมปลูกถั่วกันมาก ในช่วงที่พากันหว่านกล้าข้าวเสร็จแล้ว และพอใกล้จะเกี่ยวข้าว หลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จก็พากันกู้ถั่ว ในช่วงกู้ถั่วจะมีการรับจ้างอยู่ 2 อย่าง จะรับจ้างเกี่ยวข้าว หรือรับจ้างเด็ดถั่วออกจากรากที่กู้มาแล้ว  

  

 ผลิตภัณฑ์ถั่ว ที่เป็นผลิตภัณฑ์แรกที่พอคิดได้ ในช่วงนั้น ก็คือถั่วคั่ว นั่นคือนำเอาถั่วที่ตากแห้งแล้ว มาคั่วใส่ดินทราย เพื่อให้สุกเร็วนำมาใส่ถุง ทำเป็นโหล ขายส่งตามร้านขายของชำ  แต่ ปัจจุบันนี้ มีมากมายหลายผลิตภัณฑ์  พัฒนาถึงการห่อที่สวยงามเป็นของฝากของต้อน ติดชื่อ ผู้ผลิต ผู้แทนจำหน่าย พัฒนาการขาย เป็นโอท็อป ทุกที่ที่มีงานโอท็อปแสดง ไม่ว่าใกล้ ไม่ว่าไกล ไปทุกที่ เพื่อต้องการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านตนเอง

5.ถั่วลิสงเป็นพืชที่ปลูกง่ายใช้เวลาสั้นๆ 

       ถั่วลิสง เป็นพืชที่ปลูกง่าย ใช้เวลาไม่มาก 3-4 เดือน ก็นำมาผลิตได้แล้ว  หลังจากเกี่ยวข้าวกันในเดือน ธันวาคมเสร็จ  ก็จะไปต่ออีกงาน คือ เริ่มนำอ้อยสู่โรงงานในระยะเดือนมีนาคม เมษายน ในช่วงที่มีกิจกรรมใหญ่เหล่านี้นั้น แม่บ้านบางบ้าน ก็จะปลูกถั่วลิสงกัน เพราะเริ่มมีที่ว่างนา จากเกี่ยวข้าว  และที่ว่างจากการตัดอ้อยไปขายโรงงานแล้ว การปลูกถั่วเป็นการเพิ่มแร่ธาตุให้แก่ดิน จึงเป็นการได้โอกาสเปลี่ยนแปลงปรับปรุงดิน เพื่อรอ การปลูกอ้อยใหม่ในเดือนตุลา และปลูกข้าวในหน้าฝน

6.     ถั่วล้นตลาด  

          ฉะนั้น ในช่วงเดือน มิถุนายน กรกฏาคม สิงหาคม จะมีถั่วลิสงมากมาย นำมาตาก เพื่อรอการขายในหมู่บ้านศรีสถิตและหมู่บ้านใกล้เคียง ถั่วลิสงล้นตลาด ราคาตกต่ำทุกปี ให้กันกินฟรีๆ พี่น้องมาหา ก็ให้ห่อกลับไป ถ้าอยากได้ราคาดี ต้องนำเข้ามาขายในเมือง บางทีก็ไม่คุ้มในการเดินทางไปขาย นั่งขายอยู่บ้าน นำไปต้มขาย ยังตลาด เสียดายเวลา เพราะมันล้นเหลือ ราคาตกต่ำมาก มีพ่อค้าจากถิ่นอื่นมารับซื้อ เป็นพ่อค้าคนกลาง เขาก็ตั้งราคาเอง ปิ๊บละเท่านั้น เท่านี้ ก็ให้เขาไป ขอแต่ได้ขาย  ทำให้พ่อค้าคนกลางรวย  และยังเป็นพ่อค้าจากถิ่นอื่นด้วย ไม่ใช่คนในท้องถิ่นตนเอง คิดแล้วน่าเจ็บใจ จะทำอย่างไรถึงจะเป็นคนตั้งราคาเอง ขายเองแบบได้กำไร ให้คุ้มค่ากับความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า

หลวงสนับสนุนให้มีโอท็อป หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ในตอนนั้น 

      7. ในที่สุด จากการที่กลุ่มแม่บ้าน ได้ไปเปิดหูเปิดตา คือหน่วยงานในองค์กรนี้ โดยรัฐบาลส่งเสริมให้กลุ่มแม่บ้าน ให้ออกไปชมกิจกรรมหมู่บ้านอื่น ที่เขาแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆๆในหมู่บ้านที่มีวัตถุดิบให้เกิดมูลค่าซึ่งวัตถุดิบนี้ ถือเป็นทุน เช่นมีทรัพยากรธรรมชาติมาก มีภูมิปัญญา มีวัตถุดิบ ในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกันออกไป จึงได้นำวัตถุดิบที่มีอยู่ มาเพิ่มมูลค่าเช่น การทำปลาร้า เพราะมีปลามาก ทำกล้วยฉาบเพราะมีกล้วยมาก ทำข้าวแตน เพราะมีข้าวอยู่แล้ว และบางแห่งมีเศษผ้า เศษผักตบชวา ซึ่งต่างก็นำมาแปรรูปที่หลากหลาย ตามที่ท้องถิ่นตนมีทุน หรือวัตถุดิบนั้นๆๆ บางท้องถิ่นก็ต้องหาสิ่งมาทำ เพื่อแก้ปัญหาความยากจน

เกิดการรวมกลุ่มกันขึ้น เป็นสมาชิก เพื่อจะได้การสนับสนุนจากหลวง

           เมื่อได้ออกไปเห็นหมู่บ้านท้องถิ่นอื่นแปรรูป ผลิตภัณฑ์ที่มีในหมู่บ้านที่แตกต่างกันออกไป  จึงได้คิดรวมกลุ่มกันขึ้นอย่างเข้มแข็ง  มีประธาน รองประธาน เหรัญญิก ฝ่ายประชาสัมพันธ์ และมีสมาชิกมาร่วมหุ้นลงทุนกัน  มีการอบรมจากหลวง เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจตรงกัน มีนักวิชาการอุตสาหกรรมเข้ามาอบรมดูแล รู้จักจักทำบัญชีรายรับรายจ่าย การบรหารการจัดการในที่สุด ก็เข้มแข็งขึ้น  รู้จักพัฒนาการห่อผลิตให้ดูดี น่าซื้อ และพัฒนาถั่วลิสงให้มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย  และรสชาติก็ดีขึ้น โดยเฉพาะจุดขายที่ทำให้ขายได้ ขายดีตลอด นั่นคือ  ถั่วอบสมุนไพร  ซึ่งมีเครื่องเทศ ของหอมพร้อมบำรุงสุขภาพ เช่น ตะไคร้หอม กระชาย ใบมะกรูด พริก คั่วพร้อมถั่ว  ในที่สุดจากจากวงแคบๆๆ เริ่มกระจายการขายออกไป กว้างขึ้น มีเครือข่าย สามารถส่งออกเป็นขายส่ง ตามร้านขายของทั่วไป

       8.   และในปัจจุบันนี้ กลุ่มแม่บ้านผลิตแทบไม่ทัน เนื่องจากว่า จะต้อง ออกบูธ ไปตั้งร้านขายของตามจังหวัดต่างๆ ที่มีงานโชว์โอท็อป เรื่อยๆๆ พร้อมผลิต ทำให้เห็นกันทันที ได้ขายสดๆๆ รสชาติกลมกล่อมอยู่แล้ว ยิ่งขายดี เพราะเหมาะจะเป็นของฝากของต้อน

         9.  สอบถามเรื่องรายได้ รายจ่าย และแบ่งสันปันส่วน ใครที่มาทำงานในแต่ละครั้ง ขายแต่ละงาน แบ่งต้นทุนออกแล้ว เหลือกำไร ให้รายวันคนที่ทำ ตามความสำคัญ ถามคนที่มานั่งขาย ได้วันละ 120 บาท ถ้าขายได้มาก ถ้าขายไม่ได้มาก ก็เข้ากองทุนกองกลางไว้ก่อน ถือว่าเป็นจิตอาสาและทุกงานที่ออกบูธ จะเห็นด้วยกัน  และที่ยั่งยืนมาได้ทุกวันนี้ก็เพราะความโปร่งใส และความสามัคคี บริหารงานแบบพี่น้อง เวลาออกไปตั้งบูธโอท็อป ก็แบ่งคนไปขาย นำไปผลิตพร้อม คนไม่ไปก็ผลิตไว้ให้คนที่ไปขาย ทุกอย่างลงตัว และบางวันก็ออกไปโชว์ขายหลายพื้นที่ตามเครือข่ายโอท็อปที่แจ้งมา  มีรายได้เข้ามาประจำ และมีจำนวนรายได้มากขึ้น ทำให้กลุ่มแม่บ้านมีกำลังใจสู้มากขึ้น

          10. สอบถามว่า แล้วเงินไม่รั่วไหลหรือ  มีเหรัญญิก เป็นคนมานั่งกำกับเงิน ว่าวันนี้ขายได้เท่าไหร่ เข้าธนาคารไว้ เห็นๆๆกันอยู่แล้ว แล้วค่อยมาแบ่งสันปันส่วนเป็นค่าจ่างรายวัน ให้แก่คนที่ทำงานก็คือกลุ่มแม่บ้านนั่นเอง  พอให้เป็นกำลังใจ และมุ่งมั่นต่อไป ก็ถือว่ามีรายได้ จากที่เคยนั่งอยู่เฉยๆๆ หลังจากยามว่างงาน ก็มีรายได้เสริม  และยิ่งขยันออกตลาดไปขาย ตามที่ต่างๆที่เขาจัดบูธกัน ก็ยิ่งมีรายได้ประจำบางคนชอบมาก ไปขายในที่ไกลๆๆ  ได้พบผู้คนมากมาย ได้แต่งตัวสวย ได้แสดงความสามารถและบางวันอาจไปขายหลายพื้นที่ แล้วก็ยังมีค่าจ้างมีรายได้ทุกวัน จากที่อยู่เฉยๆๆ ทำให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

        11. เคยมีปัญหาเรื่องเงินหรือเปล่า  กำไรหรือขาดทุน ส่วนมากมีกำไร แบ่งสันให้ผู้ที่ทำรายวันวันนั้นที่ออกบูธแล้ว ก็เข้ากองกลางเพื่อเก็บไว้เป็นทุนรับซื้อถั่วจากแม่บ้าน บางครั้งก็ช่วยกันทำหลายคน สิ้นเดือนมา ก็ค่อยมาคำนวณค่าใช้จ่าย ค่าน้ำมัน ค่าอาหาร ค่าแรงกัน ที่เหลือก็เข้ากองกลาง ใส่ธนาคารไว้ เพื่อเก็บไว้เป็นทุนรับซื้อถั่ว ไว้เป็นค่าน้ำมัน ค่าแรงงาน จากกลุ่มแม่บ้านตนเองในคราวต่อๆๆไป

       12.   มีคนถามว่า ประธาน ยักยอกเงินบ้างไหม ท่านประธานบอกว่า ไม่เกี่ยวข้องเงินเลย ให้เหรัญญิกกำกับ มีกรรมการหลายคนดูแล ตนก็คอยดูแล แต่แค่ดูแลความเป็นไป ตามความความเหมาะสมอยู่ใกล้ๆ และเงิน จะเบิกหรือถอนได้ จะฝาก ประธานต้องเซ็นกำกับ  ดูแลอยู่แล้ว ต้องเซ็นผ่านถึง 3 คน  ส่วนมากไม่มีปัญหา ถือว่าทุกอย่างลงตัว และพร้อมที่จะลุยไปข้างหน้าอย่างเข้มแข็ง       

               13.   ทุกคนรู้บทบาทและหน้าที่ของตนเอง และพยายามช่วยเหลือกันอย่างที่สุด เริ่มแรกก็ล้มลุกคลุกคลาน เพราะประสบการณ์ยังไม่ถึง แต่ในขณะนี้ เข้าอกเข้าใจกัน ลงตัวแล้วใครทำใครก็ต้องรับผิดชอบ ในวันนั้น เช่นวันนี้ จะนำผลิตภัณฑ์ไปขายในกิจกรรมงานไหมงานประจำปีของจังหวัดขอนแก่น หรือ กิจกรรมโอท็อปต่างถิ่น ต่างจังหวัด ในงานประจำปี ที่มีข่าวมา ตามเครือข่ายจะแจ้งถึงกันที่สามารถนำไปโชว์ ไปขายได้ ก็จะมารวมกลุ่มช่วยกันทำเป็นพิเศษ เพื่อไปขายในงานต่างๆๆ ให้ลุล่วงไปด้วยดี และคนที่ไปขายหรือผลิต ก็จะแบ่งรายราย รายวันให้ ที่เหลือ ก็เข้ากองทุนกลุ่ม เพื่อเป็นทุนต่อไป

         สอบถามเริ่มทำกิจกรรมถั่วนี้ตั้งแต่ปี พศ. 2543 ปัจจุบัน 2555 เป็นเวลา 12 ปีผ่านมาแล้ว ตอนเริ่มแรกก็ล้มลุกคลุกคลานมาตลอด ไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรณ์ไหนเข้ามาช่วย หรือให้ความสำคัญ เพราะคิดว่าชาวบ้านหารายได้ให้นางนวย พาระแพน ให้คนคนหนึ่งที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม ช่วงนั้นคือ นางนวย พาระแพน เป็นประธานกลุ่ม   ไม่ใช่เพื่อชุมชน แม้แต่ชาวบ้านเองก็เข้าใจแบบนั้นเช่นกัน

          แต่พอมาแบ่งสันปันส่วน หักค่าใช้จ่ายทั้งหมด หักต้นทุนทั้งหมด แลเงินที่เหลือนำไปสมทบเป็นทุนให้สูงขึ้นไปอีก เพื่อให้กิจการนี้เข้มแข็งยั่งยืนและมั่นคง  เริ่มมีเงินในกองทุน เพิ่มตามลำดับ จาก สี่หมื่นเป็น ห้าหมื่น ในตอนนั้น (และวันเวลาผ่านมา 12 ปีแล้ว จะมีเงินเพิ่มขึ้นอีกเท่าไร เพื่อการพัฒนากลุ่ม)พอสิ้นปีมานำเงินปันผลมาแบ่งกัน เมื่อมีการแบ่งเงินปันผล ชาวบ้านจึงเห็นและเริ่มเข้าใจ เป็นรูปธรรมมากขึ้นเริ่มเข้ามาเรียนรู้ และคลุกคลี ทำให้มีแรงงานมาช่วยกันมากขึ้น เริ่มมาให้ความสนับสนุนร่วมมือ และเล็งเห็นความสำคัญ และพอไปได้คลุกคลี เริ่มเห็นการทำงานอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่เข้ากระเป๋าคนเดียว

            

 

ถั่วกว่าจะออกมาเป็นเม็ด ก็ผ่านหลายกระบวน ตั้งแต่ปลูก ใส่ปุ๋ยบำรุง แล้วไปกู้ถั่ว ภาษาอีสาน เรียกว่ากู้ถั่ว คือไปดึงมันออกมาจากดิน แล้วนำมาปลิดออกจากต้น รายได้ค่าปลิดถั่ว ก็เป็นปิ๊บ ละเท่านั้นเท่านี้ ซึ่งสมัยก่อนถูกมาก ถ้าเป็นผู้เขียนขอบอกขอพูดว่าเสียเวลา แต่ด้วยเขาไม่มีงานทำ จึงมีคุณค่าสำหรับเขา แต่ทุกวันนี้คงจะให้ค่าจ้างดีขึ้น เพราะมูลค่าที่นำไปผลิตมันมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และมีความสามารถในการผลิตถั่วหลากหลายผลิตภัณฑ์ มีประสบการณ์มากขึ้น   

          14.   และที่สำคัญ ที่ทำให้ ลืมตาอ้าปากได้เพราะมรายได้เสริมประจำ นั่นก็คือ  กลุ่มที่เป็นสมาชิก นำถั่วที่ตนเองปลูก นำมาขายที่นี่ ได้ราคาดี ไม่มีกดราคา และส่วนมากก็เป็นกลุ่มแม่บ้านเองที่พากันปลูกถั่ว มีงานทำ ปลูกมากเท่าไหร่ ก็นำมาขายได้ตลอด เพราะกลุ่มแม่บ้าน รับซื้อเสมอ จนขณะนี้ถั่ว ในหมู่บ้านไม่พอ ต้องออกไปหาซื้อที่หมู่บ้านอื่น และในขณะเดียวกัน สมาชิกก็เพิ่มจำนวนการปลูกเพิ่มขึ้น เพื่อไม่ให้ขาดแคลน ไม่จำเป็นต้องไปนำมาจากที่อื่น มีแต่ที่อื่นจะต้องมาซื้อที่นี่ และต้องกำกับราคาด้วยตนเองเป็น ไม่ให้ต่ำจากราคากลางที่สมควร

 

รูปภาพช่วงเป็นนักศึกษาผู้สูงวัย(สว) ไปค้นหาเรื่องใดมาแล้วก็ต้องนำมาฟรีเซ้นท์ให้นักศึกด้วยกัน ได้เรียนรู้ด้วย ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีหลากหลายผลิตภัณฑ์ที่ไปค้นหามาเช่นกัน ช่วงนั้นทำเพาเวอร์พอยไม่เก่ง ต้องออกมาในลักษณะนี้คะ ทำเป็นบอร์ด ฟรีเซ็นท์แล้วก็ไปติดให้เพื่อนดู ว่าเป็นฉากๆๆ อ่านเป็นฉากๆๆ คิดแล้วก็น่าขำ

15.พี่น้องกัลยามิตรที่รักทุกท่าน คะ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เรื่องราวเหล่านี้ คงจะเป็นตำนานในอดีต และยาวนานไปจนชั่วลูก ชั่วหลาน ในเรื่องราวความเป็นมาและเป็นไป ซึ่งอาจจะหาคนมาเขียนบันทึกเรื่องราวเหล่านี้ไว้ไม่มี  ไม่รู้รากเหง้า เพราะดูในเวบไซค์ของกลุ่มศรีสถิต   ส่วนมากก็เป็นภาพปัจจุบันและวิธีการผลิตถั่วเพื่อการประชาสัมพันธ์เท่านั้น ภาพจะทันสมัย  ส่วนภาพของดิฉัน ก็เป็นภาพในอดีตที่ถ่ายจากกล้อง สมัยก่อนเป็นรูป ที่นำมาผู้เขียนต้องนำภาพเหล่านั้นมาถ่ายใหม่ ลงคอมใหม่ ภาพอาจจะเบลอ ด้วยว่ายังไม่รู้เทคนิค การถ่ายจากรูปภาพ ในอดีต ไม่ได้มาจากของจริง                                                       

  ภาพเก่าๆๆที่นำมา ด้วยเหตุผลว่า ภาพในอดีตมันหายากและมีคุณค่ามากคะ ขอจบเพียงเท่านี้ก่อนคะ 

 16.วิสาหกิจชุมชน หมายถึงการประกอบการขนาดเล็ก ขนาดจิ๋วที่ชุมชนหรือองค์กรชุมชนร่วมกันดำเนินการ เพื่อจัดการทุนชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพสร้างสรรค์เพื่อการพึ่งพาตนเอง อาจเป็นการผลิต การแปรรูป การจัดการตลาด ทั้งด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม การบริการ เช่นการท่องเที่ยว สุขภาพ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการออมทรัพย์ และการจัดสวัสดิการชุมชน

   จากการสัมภาษณ์ หัวหน้ากลุ่มในสมัยนั้น คือนางนวย พาระแพน เป็นผู้ริเริ่ม ตอนแรกก็ต้องทำใจเข้มแข็งเหมือนกัน กว่าชาวบ้านในท้องถิ่น ชุมชนตน จะเข้าใจ ประสบปัญหามากมาย เพราะเริ่มแรก การบริหารจัดการแบบชาวบ้าน เรียนรู้ผิด เรียนรู้ถูก ให้ประสบการณ์สั่งสอนมาตลอด  ณ ปัจจุบัน 12 ปีแล้ว ก็นับได้ว่ามีความเข้มแข็ง ยั่งยืนจริงจัง เมื่อ 8 ปีที่แล้วเริ่มทำงานอย่างเป็นระบบ เริ่มออกงานทุกที่ เริ่มมีชื่อเสียง และเมื่อปี พ.ศ.2549 ได้ขออนุญาตจัดตั้งเป็นวิสาหกิจขนาดย่อมและจดเป็นวิสาหกิจชุมชนเรียบร้อยแล้ว

 เหตุผลที่สำคัญทำให้กิจกรรมเจริญเติบโตและยั่งยืน

1. จัดการให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาผลิตภัณฑ์ กับกลุ่มแม่บ้านอื่น และเครือข่ายต่างจังหวัด อยู่เสมอเพื่อการพัฒนา

2.ให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกในชุมชน และเครือข่าย ทำความเข้าใจตลอด

3.พบปะสังสรรค์ มีความสำพันธ์ระหว่างเครือข่ายสมาชิก ตามความเหมาะสม

4.โอกาส เวลา สถานที่ ที่เครือข่ายหรือสมาชิกจะได้พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน

5.แบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ ความคิด แนวทาง วิธีการแก้ปัญหา แบ่งปันทรัพยากร

17.วิสาหกิจชุมชนมีคุณลักษณะอย่างน้อย 7 ประการ คือ

-ชุมชนเป็นเจ้าของและเป็นผู้ดำเนินการหลัก

-ผลผลิตมาจากกระบวนการในชุมชน

-ริเริ่มและสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมโดยคนในชุมชน

-มีฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับภูมิปัญญาสากลและอื่นๆๆ

-มีลักษณะบูรณาการ เชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆแบบเกื้อกูลกัน

-มีการเรียนรู้เป็นหัวใจของกระบวนการทั้งหมด

-และมีการพึ่งพาตนเองเป็เป้าหมายสำคัญที่สุดของการประกอบการ

18.เมื่อได้ครบ 7 ประการ ก็จะกลายเป็นสินค้าโอท็อป หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

 

ขอขอบคุณอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครทุกๆท่านที่ทำให้คนสูงวัย ได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ และจะนำไปเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตน  หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้ คงจะให้กำลังใจ กลุ่มแม่บ้านที่รวมตัวกันแล้วยังล้มลุกคลุกคลานอยู่ อย่าพึ่งท้อแท้ ทุกอย่างจะสำเร็จได้ อยู่ที่ความสามัคคี จะทำให้กลุ่มเข้มแข็ง และประสบผลสำเร็จได้ และที่สำคัญประธานกลุ่มยิ่งต้องเข้มแข็งกว่า แล้วจะยืนหยัดอยู่ได้ อย่างทรนง สามารถแก้ไขปัญหาความยากจน และส่งเสริมให้สตรีมีบทบาทมากยิ่งขึ้น

 

หมายเลขบันทึก: 488419เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 18:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท