กางเกงของน้องเหมียว


อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการตรวจวินิจฉัย ข้อเสนอแนะของผู้รับบริการนำมาสู่การสร้างกางเกงสำหรับใช้ในการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่อง Ultrasound

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอภาพถ่ายของน้องเหมียว

น้องเหมียวที่ผมกล่าวถึง เป็นคน... ไม่ใช่แมว นะครับ

น้องต้องการนำเสนอ นวัตกรรมที่ตนเองมีส่วนในการจัดสร้างขึ้นมา สำหรับใช้ประกอบการตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound)



น้องเหมียวได้เล่าถึงที่มาที่ไปของสาเหตุที่จัดสร้างกางเกงแบบนี้ขึ้นมา เนื่องจากน้องยังขาดทักษะการเขียน เพื่อเล่าสู่กันฟัง ผมจึงได้รับอาสาเขียนจากข้อมูลที่ได้รับฟังมา แล้วถ่ายทอดสู่ผู้สนใจดังนี้ ครับ



ที่มาของปัญหา : ในการตรวจวินิจฉัยต่อมลูกหมาก (Prostate gland) หรือ การตรวจสำไส้ใหญ่ด้วยเครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (Endorectal  Ultrasound) ก่อนที่จะทำการตรวจวินิจฉัย ผู้รับบริการต้องถอดกางเกงออก แล้วขึ้นนอนบนเตียงตรวจ จากนั้นแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยโดยใช้หัววัดตรวจ (Probe) ของเครื่องวางชิดกับอวัยวะที่จะตรวจวินิจฉัย  ถ้าตรวจต่อมลูกหมากจะวางหัวตรวจชิดต่อมลูกหมาก ถ้าตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย จะสอดหัวตรวจเข้าทางทวารหนัก

          จากที่กล่าวมานั้น พบว่า ระยะเวลาที่ผู้รับบริการถอดกางเกงนั้น แต่ละคนจะใช้เวลาที่แตกต่างกัน บางรายสามารถถอดกางออกได้รวดเร็ว แต่บางรายทำได้ล่าช้า เมื่อมีผู้รับบริการจำนวนมาก ระยะเวลาที่สูญเสียไปในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น จะมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ระยะเวลาในการรอคอยการตรวจของผู้รับบริการจะนานขึ้น ตามไปด้วย เพื่อเป็นการลดระยะเวลารอคอย และอำนวยความสะดวกให้กับแพทย์ผู้ตรวจวินิจฉัย จึงได้สร้างกางเกงที่มีรูเปิดด้าน หรือ ด้านหลัง เพื่อให้ผู้รับบริการได้สวมก่อนตรวจ หรือ นั่งรอตรวจ นอกจากนี้กางเกงที่สวมสามารถทำให้แพทย์สามารถวางหัวตรวจได้เหมือนเดิม ไม่รบกวนการปฏิบัติงานเดิม

 

ลักษณะของผลงาน :  เป็นการจัดสร้างนวัตกรรม

 

วิธีดำเนินการ (How to) : จากการสังเกตในการทำงานที่ผ่านมา พบว่า มีปัญหาความล่าช้าที่เกิดขึ้นจากตัวผู้รับบริการ ในการถอดหรือสวมกางเกงระหว่างการตรวจ ทีมงานผู้ปฏิบัติงาน จึงได้ออกแบบและตัดเย็บกางเกงขายาว ชนิดที่มีรูเปิดด้านหน้า หรือ ด้านหลัง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการ ได้เปลี่ยนเพื่อสวมใส่ในการตรวจ

 

ผลสัมฤทธิ์ :  ผู้รับบริการได้เปลี่ยนและสวมกางเกงที่จัดสร้างขึ้น ช่วยทำให้ลดระยะเวลาในการรอตรวจของผู้รับบริการได้ ช่วยลดความเขินอาย ที่อาจเกิดขึ้นจากการถอดกางเกงออกต่อหน้าคนแปลกหน้าหรือคนที่ไม่รู้จัก

 

ความภาคภูมิใจ :  กางเกงที่จัดสร้างขึ้น มีส่วนช่วยให้ผู้รับบริการได้สวม ได้นั่งรอ มีความสะดวกในการปฏิบัติงานของบุคลากร ทีมงานมีความสุขและสนุกในการทำงานมากขึ้น


ข้อเสนอแนะ : ผมพบว่า... กางเกงที่เจาะด้านหน้าสำหรับผู้รอตรวจต่อมลูกหมาก เมื่อเวลานั่งรอ อาจมีรูเปิด สามารถผ่านรูเปิดมองเห็นอวัยวะดังกล่าวได้ ดังนั้น น่าจะจัดทำผ้าอีกชิ้น ปิดที่ด้านหน้าไว้ เมื่อต้องการใช้งานสามารถเปิดขึ้นได้ (ดังรูป) สามารถประยุกต์ใช้สำหรับกางเกงที่มีรูเปิดด้านหลังก็ได้


หรือ จัดทำกางเกงที่มีรูเปิด พร้อมผ้าปิด ที่ผู้รับบริการ สามารถสวมเป็นด้านหน้าหรือได้หลังได้ในตัวเดียวกัน 


 

นอกจากนี้ เมื่อแสดงให้เห็นว่า กางเกงนี้มีประโยชน์ ควรเก็บข้อมูลเพิ่มเติม เช่น

1.เปรียบเทียบระยะเวลาการรอคอยของผู้รับ ก่อนและหลังการใช้งาน เช่น ผู้รับบริการที่เปลี่ยนกางเกงนาน(ก่อนมีกางเกงตัวนี้) ส่งผลต่อผู้รับบริการรายอื่นๆที่ต้องรอ ลดลงอย่างไร? เมื่อใช้กางเกงนี้ ลดระยะเวลาดังกล่าวลงมากน้อยเพียงใด


2.ความพึงพอใจของผู้รับบริการและแพทย์ที่มีต่อการเกง  


นี่เป็นส่วนหนึ่ง ที่ผมถอดบทเรียนที่ได้เรียนรู้มาจากน้องเหมียว ครับ






หมายเลขบันทึก: 488375เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ถอดบทเรียน...ที่ได้เรียนรู้...ได้ดีมากขอชื่นชมนะคะ

ชื่นชมค่ะ 

อาจารย์ค่ะหากมีประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้บัตรประชาชน อยากรบกวนให้ช่วยเขียนถ่ายทอดด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ "สรอ. ขอความรู้" เชิญร่วมเขียนบันทึกตามประเด็น 18-31 พค. 55

เรียน อ.ต้อม ดีจังเลยค่ะ เป็นนวัตกรรมที่มีประโยชน์มากค่ะ จะรอดูประสิทธิภาพการใช้งานค่ะว่าช่วยลดเวลาได้มากน้อยเพียงใด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท