ร่องรอยโรคเรื้อน


เมื่อกล่าวถึงโรค “เรื้อน “หลายคนคงจะรู้สึกขนลุกกับโรคนี้ เป็นอีกโรคหนึ่งที่สังคมรังเกลียดที่เดียว  โรคนี้ ในความรู้สึกของคนทั่วไป รู้สึกว่ามันหายไปแล้ว  วันนี้มีคนไข้คนหนึ่งมาตรวจที่ โรงพยาบาล  เป็นคุณตาอายุ 68 ปี  ท่านมาพร้อมกับร่องรอยของโรคเรื้อน  ที่ท่านเคยเป็นเมื่อ  20 ปี ก่อน   ทำให้คุณตามีร่อยรอยของโรคเรื้อนมาจนถึงทุกวันนี้  สงสารความรู้สึกตา มีแต่คนรังเกลียดทั้งๆที่หายแล้ว 

คำพูดของตาทำให้ชลัญ นึกถึงเมื่อครั้งไปฝึกงานชุมชน ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง  ชลัญได้เข้าไปในพื้นที่ ไปเยี่ยมบ้าน พบบ้านยายคนหนึ่งเคยเป็นโรคเรื้อน  ปัจจุบันมีความพิการจาการเหลือเพียงร่องรอยของโรคเรื้อน  บ้านดูเหงียบเหงา ยายอยู่บ้านคนเดียว  บ้านยายเป็นบ้านชั้นเดียว  ดูแล้วไม่น่าเป็นบ้าน  เพราะต่ออยู่ข้างยุ้งข้าว  อีกที  ถัดไปเป็นบ้านหลังใหญ่   ดูมีฐานะทีเดียว  จากการไปสำรวจบ้านพบว่า  ยายเคยเป็นโรค เรื้อน ลูกก็เลยต่อบ้านให้ยายอยู่ข้างยุ้งข้าว  แต่ยายรักษาหายมา 20 ปี เห็นจะได้แต่ยังมีร่องรอยของโรคเรื้อนให้เห็นเหมือนเช่นคุณตาคนนี้   ส่วนบ้านหลังใหญ่นั้นเป็นบ้านของลูกยาย   มีอาชีพเป็นทั้งสามีภรรยา  ขณะที่ไปเยี่ยมยายห่อข้าวต้ม  กล้วยเพิ่งเสร็จใหม่ๆ  ยายยกมือไหว้ชลัญ  ชลัญรับไหว้แทบไม่ทัน  เพราะตั้งใจจะไหว้ยายก่อน  ยายยกหม้อข้าวต้มลงจากเตา  ตักออกมาพึ่งให้มันเย็น 

ชลัญ :  หอมจังเลยยาย

ยาย  :  อร่อยด้วยนะ  แต่หมอไม่กล้ากินหรอก

ชลัญ : รู้สึกงงที่ยายพูดแบบนั้น  “ ทำไม่ยายคิดอย่างนั้นล่ะ “ 

ยาย : ขนาดลูกฉันยังไม่กล้ากินเลย

ชลัญ  รู้สึกเสียววาบในหัวใจ    ยายไม่ว่าอย่างไร  เดินไปนั่งบนแคร่ถัดออกไป  พร้อมจานที่ยายแกะข้าวต้มไว้  แล้วใช้ช้อนตักกินเพราะร้อน  เข้าใจความรู้สึกของยาย ถึงไม่บอกว่าอย่างไรก็รู้สึกสะท้อนใจ มากกับสิ่งที่ได้เห็นได้ยิน 

ชลัญเดินตามยายไปนั่งใกล้ๆ  แล้วหยิบเอาช้อนที่อยู่  ในตะกร้าที่อยู่ใกล้ๆ ยาย  นั้นตักข้าวต้มที่ยายกิน  ใส่ปาก

ยายเงยหน้ามองชลัญ

“หมอไม่รังเกลียดฉันเหรอ  เดี๋ยวติดโรคเรื้อนจากยายนะ 

ชลัญ :  คุณยายรักษาหายมา 20 กว่าปี ชลัญไม่กลัวหรอก  มากินเร็วหนูไม่ได้ทานข้าวมาด้วย

ยายนั่งนิ่งน้ำตาไหล  ชลัญมัวอร่อยกับข้าวต้ม  เงยขึ้นไปเห็นอีกที ตกใจ

“ยาย  ยายเป็นอะไร  ไม่พอใจชลัญหรือเปล่า “

ยายเอามือปาดน้ำตา  บอก ไม่หรอก หมอลูกฉันยังไม่กล้ากินเลย  แล้วหมอเป็นใคร ถึงกล้ากินของฉัน

ชลัญ  :  ก็เป็นพยาบาลไง  หนูได้รับยาฆ่าเชื้อจาก รพ.เรียบร้อย รับรอง  อ๋อ  ฉีดยาป้องกันพิษสุนัขบ้าแล้ว  ยายไม่ต้องกลัวติดเชื้อจากหนูนะ  ( ทำท่าขี้เล่น )

ยาย : ยิ้มออก   บอก หมอจะอาไปกินอีกมั๊ยยายห่อให้

ชลัญ :  โหย ดีทีเดียวยาย เดียวชลัญจะเอาไปฝากเพื่อนด้วย ยายจึงหยิบให้ 2 ห่อ  จากนั้นก็ซักถามให้คำแนะนำในการดูแลตัวเองอีกเล็กน้อย  พอดีกับเพื่อคนอื่นๆมาสมทบ เพราะได้เวลากลับ โรงพยาบาล  ชลัญถือข้าวต้มมาวางไว้ ที่ห้องพัก  เพื่อถามข้าต้มใครเอามาจากไหน  ชลัญบอก อ๋อ กินได้ของยายที่เราไปเยี่ยมให้มา  เท่านั้นแหล่ะเพื่อมันวางมัดข้าวต้ม  แล้วลุกหนีไป  ................

จากการพบคุณตาผู้เคยเป็นโรคเรื้อน และการนั่งนึกถึงยาย ทำให้ชลัญมานึกสะท้อน  ถึงความรู้สึกของยาย  เพราะวันนี้ชลัญเป็นพาร์กินสันเวลาอาการกำเริบนั้น ไม่ต่างจากคนพิการเลย  คนอื่นเขาจะนึกรังเกลียดเราบ้างหรือเปล่าน้อ  ....  สามีครอบครัวลูก  จะนึกรังเกลียดเรา  หรือเห็นว่าเราเป็นภาระมั๊ยนี่  ขนานลูกยายแท้ๆ  เขายังรู้สึก ตะขิดตะขวางใจไม่ยอมให้แม่อยู่ในบ้านด้วย 

..........................แล้วชลัญล่ะ ถ้าวันหนึ่งอาการมันมากกว่านี้ .....................................?????

คำสำคัญ (Tags): #ร่องรอยโรค
หมายเลขบันทึก: 488127เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 19:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ขอให้กำลังใจผู้่่ป่วย..ครอบครัว และผู้ดูแลค่ะ..

I bet you felt great too to see people walked away from something you could hold your head up high. It is not easy to go beyond fear and 'avijja'. I will look at to you next time I feel like walking away from distasteful people.

Salute!

 ขอบคุณ Ico24 sr และ Ico24 นาง นงนาท สนธิสุวรรณ ที่ให้กำลังใจ  บางครั้งคนเรา มันก็มีช่วงเวลาของความอ่อนแออยู่ 

เป็นกำลังใจให้ครับ หมอชลัญธร

สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อนรายนั้น คุณชลัญธรให้สิ่งที่มีค่าที่สุด คือ การยอมรับในฐานะมนุษย์ ค่ะ สำหรับโรคประจำตัว คุณค่านั้นอยู่ภายในค่ะ ในหนังสือเข็มทิศชีวิต (อีกแล้ว) กล่าวไว้ดีมาก "สิ่งที่คนอื่นกระทำต่อเรา คือสิ่งแสดงคุณค่าเขา ไม่ใช่เรา" ... ปล. โรคเรื้อน (leprosy) ตั้งแต่เรียนจนจบมายังไม่เคยเห็น วินิจฉัยรายใหม่เลยค่ะ ถ้าเจอจริงๆ จะวินิจฉัยได้ไหมนี่

ขอบคุณ  Ico48  Ico48  ที่มาให้กำลังใจ  ชลัญก็ไม่เคยเห็น case ใหม่เหมือนกันเห็แต่รอยโรค ก็เลยถ่ารูปเก็บไว้น่ะ 

   

 

ความคิดเห็นของท่าน  Ico24  นั้น น่าคิด  การเอาชนะอวิชา  ได้นั้นมันยากมาก  ชลัญเองยังงงเลยว่าตัวเองผ่านมาได้อย่างไร  แต่ที่รู้ทุกวันนี้ สำหรับชลัญ ความโลภ และหลง แทบจะไม่มีเลย  ความโกธร  มีบ้างแต่ควบคุมได้   ความรักมีแต่ไม่ ยึดติด  ยังรู้สึกแปลกว่าตัวเองทำได้อย่างไร 

          เมื่อก่อนความรู้สึกรัก  โลภ  โกธร  หลง  นี่มาก  แต่พอเราได้เรียนรู้กับชีวิตทุกช่วงของเรา แล้ว หันกลับไปมอง ชีวิต ของคนอื่น  และสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว รวมถึง ปรับกระบวนการคิดกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิต  มันกลับทำให้เรา ปล่อย  วาง  ชีวิตรู้สึกว่าง มากกว่า  ที่ทำงานมักหยอกล้อเสมอว่า  ไม่มีสมอง  ทำผลงานแล้วยกให้คนอื่นได้หน้าประจำ  ถามว่า รู้สึกอะไร มั๊ยไม่  ใครอยากได้หน้าก็รับไป  เราได้ความภูมิใจสุขใจก็ OK แล้ว

แต่เหลืออีกตัวเอาออกไม่ได้สักที คือความบ้าบิ่น ติงต๊อง นี่แหล่ะชลัญธร

จริงๆ เรื่องนี้ที่เขียนนี่ไม่ได้เขียนเพื่อให้ใครรู้สึกสงสารหรอก เพียงอยากให้คนที่อ่านกลับไปคิดสะท้อน ถึงความรู้สึกของคนที่อยู่รอบข้างบ้าง ความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน ละเมียด บางครั้งเหมือนไม่มีอะไร แต่ มันมีอะไรในความไม่มี ชลัญรู้สึกเสมอว่าตราบใดที่มีชีวิตอยู่ จะไม่ทำให้ใครที่ออยู่ใกล้รู้สึก ช้ำใจ หรือไม่สบายใจ จะรู้สึกมากกับความรู้สึก คนที่อยู่รอบตัว ชีวิตเรามันไม่ยาวนักหรอก การรักษาความรู้สึกที่ดีๆ ไว้ ชลัญว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะบางที เราอาจไม่มีโอกาส เอาความรู้สึกที่อยู่ในใจแล้วไม่ได้แสดงออกมา บอกคนที่เรารู้สึกดีด้วยไปตลอดชีวิต ช่วงชีวิตที่เหลือ ชลัญจึงอยากทำอะไรให้คนที่เรารัก ให้ดีที่สุด ตามความสมดุลที่เหมาะสม แต่จะไม่ทำร้ายจิตใจเขาไม่ว่าจะด้วยพฤติกรม หรือ วจีกรม ซึ่งชลัญสามารถทำได้ ไม่ว้าจะตีฝ่าวงรอบครอบครัวคนจีนที่อยู่ในกรอบ หรือ เพื่อร่วมงานที่เคย Negative กับเรา แม่แต่ครอบครัว ชลัญถนอมมากที่สุด ..........ความรู้สึก ที่ลึกซึ้งของจิตใจ ............เพียงถ้ารู้ว่าสิ่งที่ทำจะกระทบความรู้สึกเขา เราจะหยุด ทันที แต่จากที่เราเจอในสังคมปัจจุบัน คนเรามักไม่นึกถึงความรู้สึกของคนอื่น จะนึกถึงตนเอง เป็นหลัก มันถึงทำให้เกิดปัญหา ตั้งแต่ระดับครอบครัวสังคม ประเทศชาติ

โชคดีของคุณยาย.. ที่ได้เจอ "หมอชลัญ"

โชคดีของ "หมอชลัญ" ที่มีโอกาส ทำสิ่งดีๆ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท