ชมสวน(9) : สูตรปลูกผักหวานป่าที่ประหยัดที่สุด ตอนที่21


ชีวิตไม่ใช่เรื่องง่าย กว่าจะถึงฝั่งฝันทุกคนคงต้องผ่านอุปสรรคปัญหามามากมายที่เรียกว่าประสบการณ์และแรงผลัก แต่เชื่อว่าเมื่อทุกๆคนได้มองย้อนหลังกลับไปดูสิ่งที่ผ่านมาไม่ว่าน้ำตาหรืรอยยิ้มมันก็เป็นสิ่งที่ภาคภูมิใจกับตัวเองในสิ่งที่ทำสุดใจสุดแรง...

 

     เมื่อวานช่วงเช้าเก็บเม็ดสุกผักหวานป่าลงจากต้นมาล้างเตรียมปลูก(หยอด)ในสวน ช่วงบ่ายสองตายายช่วยกันปลูกซ่อมต้นตะขบที่ตายช่วงแล้งที่ผ่านมาแบบเรียกน้ำย่อยไปก่อน10หลุม ฝนฟ้าไม่ตกมา4-5วันอากาศร้อนอบอ้าวแดดจ้า(น้ำมันพรายหยดติ๋งๆ).

 

     เกือบ6โมงเย็นจึงปลูกแล้วเสร็จ ปลูกตะขบหลุมสุดท้ายฟ้าร้องครืนๆมาแต่ไกล ลมแรงชนิดต้องร้องขอ(กลัวต้นไม้โค่นล้มคงได้"งานเข้า") หกโมงเย็นฝนเทลงมาไม่ขาดสายตกไปเรื่อยจนถึง23นาฬิกา.

 

     เทวดาคงเห็นใจคนปลูกต้นไม้ช่วยมารดน้ำเพราะติดตามข่าวพยากรณ์อากาศไม่มีทีท่าว่าฝนจะตกหรือมีฝนโซนนี้เลย(แต่พยากรณ์จากธรรมชาติก็ชวนให้นึกสงสัยว่าฝนอาจจะตก มดดำขนไข่ออกจากรัง แมงเม่าออกมาเล่นไฟ งูออกมาหาอาหาร)

 

     จากการติดตามข่าวสภาพอากาศฝนฟ้าในปีนี้อีกมุมก็ชวนคิดกับข้อมูลข่าวที่พูดคนละเสียงบางครั้งไปคนละทาง แต่สิ่งที่รู้สึกได้แน่นอนคือความไม่แน่นอนของสภาพอากาศ เป็นสิ่งที่แน่นอนสำหรับโลกในปัจจุบัน.


     สิ่งที่มนุษย์เราต้องนำมาใช้ให้มากคือตำราชีวิตที่คนโบราณสอนไว้คือการรู้จักสังเกตธรรมชาติ(อย่าเชื่อเพียงสถิติ ตำรา อย่านั่งรอฟังข่าว) การรู้จักปรับตัวให้สอดคล้องกับธรรมชาติ(อย่ารอคอยเพียงได้รับการช่วยเหลือควรร่วมแรงร่วมใจ).

 

     หลังจากที่เมื่อคืนที่ผ่านมาฝนฟ้าช่วยให้สวนชุ่มชื้น วันนี้ถือโอกาสหยุดพักงานในสวนจึงมีเวลามานั่งเขียนบันทึก หลังจากที่นำภาพบรรยากาศในสวนให้ทุกท่านได้เที่ยวชมในหลายโซนไปแล้ว ยังเหลือ4-5โซนที่จะนำมาให้ทุกๆท่านได้เที่ยวชมค่ะ.

 

     วันนี้จะขอนำทุกท่านมาเที่ยวชมบรรยากาศในโซนที่เรียกว่าเรือนเพาะชำค่ะ แปลงนี้แต่เดิมเป็นพื้นที่โล่งแจ้งเนื้อที่ไม่ถึง1ไร่แต่มีเรื่องราวมากมายที่เกิดขึ้นในพื้นที่แห่งนี้ที่ชวนให้ข้าพเจ้าจดจำได้ดีไม่มีวันลืม ทั้งมุมสุขและมุมทุกข์.

 

  ...โซนเรือนเพาะชำแปลงนี้เถือเป็นห้องค้นคว้า-วิจัย-ทดลองผักหวานป่าก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสานพันธุ์ เกี่ยวกับไม้พี่เลี้ยง เกี่ยวกับดิน เกี่ยวกับระบบราก เกี่ยวกับระบบน้ำ เกี่ยวกับชนิดปุ๋ย เกี่ยวกับรูปแบบการจัดเตรียมแปลง เกี่ยวกับลักษะณะดอก การติดเมล็ดฯลฯ พื้นที่แห่งนี้จึงเปรียบได้กับหนังสือตำราที่มีชื่อว่า"ผักหวานป่า"...

 

1. รูปภาพเมื่อพ.ศ.2535(ถ่ายมุมเข้าสวน) สมัยที่คุณโอภาส ไชยจันทร์ดี มาอยู่และปลูกต้นมะขามหวานอายุ 5ปี บริเวณพื้นที่โล่งปัจจุบันคือแปลงเรือนเพาะชำ.

 

2.รูปภาพเมื่อพ.ศ.2535(ถ่ายมุมเข้าหาตัวบ้าน) ในภาพเป็นถนนทางเข้าสวนและบ้านหลังแรกๆของสวน.

 

3.ภาพถ่ายเมื่อพ.ศ.2540 สมัยที่ข้าพเจ้าพึ่งเข้ามาอยู่ที่นี่ใหม่ๆ สภาพดินอย่างที่เห็นในฤดูฝนรถยนต์ที่เข้ามาส่วนมากเป็นต้องได้เข็นเพราะดินเหนียวลูกรังเกาะล้อรถทำให้ติดลื่น และแม้ในฤดูฝนหญ้าก็แทบไม่ขึ้น.

 

4.ภาพถ่ายเมื่อ2548 จากพื้นที่โล่งๆ(ภาพที่1-3)นำหินมาถมปรับพื้นทำเป็นเรือนสำหรับเพาะชำต้นไม้(หลังจากมั่นใจไม้ให้ร่มเงาที่ผักหวานป่าเลือกคือต้นตะขบ เข้าร่วมโครงการแปลงสินทรัพย์์เป็นทุน กู้เงินกับธกส.โครงการปลูกผักหวานป่า).

 

5.ต้นตะขบหักโค่น.

 

6.ภาพที่5,6(พ.ศ.2551)จากจุดเริ่มแรกที่เข้าร่วมโครงการแปลงสินทรัพย์ฯ ปลูกต้นตะขบและปลูกต้นกล้าผักหวานใหม่ๆ ผ่านไป2ปีย่างเข้าปีที่3ตามอายุผักหวานป่าจากความหวังเรืองรองต้นผักหวานป่าโตวันโตคืน บางต้นมีดอกให้เห็น แต่เพียงชั่วข้ามคืนความสุขกลายเป็นความทุกข์เกิดขึ้นในใจ(ภาวะหนี้) ต้นผักหวานกลายเป็นต้นท้อแท้.

 

        

7. แต่ในบทเรียนจากธรรมชาติครั้งนี้ทำให้เรียนรู้หลักธรรมะข้อใหญ่กับตัวเอง"ความไม่แน่นอน แน่นอนที่สุด" แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เกิดความรู้ตรงที่ต้นตะขบต้องควบคุมความสูง(ทำสาว).

 

        

8. จากเหตุการณ์ลมพายุหมุนทำต้นตะขบหักโค่นผักหวานล้มในครั้งนี้ อีกหนึ่งตำราความรู้ที่ได้เรียนรู้คือ วิธีการแก้ปัญหาเมื่อเกิดเหตุการเช่นนี้กับผักหวานป่า(ผักหวานโค่นล้มรากพลิกลอยขึ้นมา) โดยธรรมชาติที่เกิดจากการกระทำของฝีมือธรรมชาติ(ไม่ใช่มนุษย์ทำ)ต้นไม้ซึ่งเป็นธรรมชาติด้วยกันเขาจะรับรู้กันและปรับตัวได้(แค่เจ็บไม่ถึงตาย).

    จากจุดนี้จึงแก้ปัญหา"ด้วยการนำดินเข้าใส่แทนที่ช่องว่างของรากผักหวานแทนการพลิกต้นผักหวานป่าให้ตั้งตรงเช่นเดิมส่วนต้นตะขบก็ตัดกิ่งแขนงและส่วนปลายยอดส่วนลำต้นปล่อยให้ผุกร่อนตามระบบของธรรมชาติ.

มีเพียง1-2กอที่ทดลองพลิกต้นให้ตรง คำตอบที่ได้ปรากฎว่าต้นผักหวานกอที่ไม่พลิกต้นกลับไม่ตายและตั้งกิ่งกระโดงสร้างลำต้นขึ้นมาใหม่"แต่ต้องใช้เวลาปรับตัว ปีนี้2555จากการฟื้นตัว มีหลายต้นที่ออกดอกให้เห็น.

 

        

9. อีกหนึ่งตำราความรู้ที่ได้รับจากเหตุการณ์ครั้งนี้อีกหนึ่งเรื่องคือระบบรากของผักหวานป่า(จากเมื่อก่อนเพียงแค่คิดจินตนาการและเห็นเพียงรากของต้นกล้าแต่ครั้งนี้ได้คำตอบชนิดหายสงสัย).

 

10. จากภาพที่1นี้ไปจนถึงภาพสุดท้ายเป็นสภาพปัจจุบันของแปลงเรือยเพาะชำ ที่นอกจากตะขบและผักหวานแล้วต้นไม้ต่างๆบรรดานกช่วยปลูก.

 

11. มุมขอบเรือนเพาะชำที่อยู่ติดกับแปลงมะขามหวาน.

 

12. เขียวๆที่อยู่ติดโคนตะขบคือผักหวานที่ล้มตั้งลำต้นขึ้นใหม่.

 

13. จากแปลงเพาะชำต้องหาที่ใหม่เพราะต้นไม้ขึ้นเต็มแทนที่.

14. แปลงนี้อยู่ใกล้ๆบ้านกลายเป็นจุกดูงานวางแผนปลูกผักหวานสำหรับผู้ที่มาเยี่ยมเยือน.

 

15. ฝั่งนี้ต้นตะขบไม่ค่อยล้มผักหวานป่าจึงโตกว่าผักหวานที่อยู่อีกด้านของแปลง.

 

16. ในภาพเป็นฝั่งที่ต้นตะขบล้มผักหวานจึงโตช้ากว่า(ภาพที่15)ได้ทำการปลูกตะขบขึ้นใหม่ผักหวานเริ่มฟื้นตัวและออกดอก.

17. จากพื้นที่โล่งกลายเป็นป่าผักหวาน.

18. ถนนแบ่งกลางเรือนเพาะชำ ต้นตะขบก็ล้มแบ่งกลางคนละฝั่งผตำราด้านที่ผักหวานล้มและด้านผักหวานไม่ล้ม).

 

19. มุมรอบๆเรือนเพาะชำปลูกขยายผักหวานป่าให้เต็มพื้นที่.

20. จากภาพที่3ข้างบนจุดนี้คือบริเวณต้นพุทราใหญ่ที่เห็นในภาพ มีเหตุการณ์ที่ไม่อาจลืมได้กับการเห็นฟ้าผ่าต้นพุทราต่อหน้าต่อตาประมาณปี2543(ขณะนั้นหลบฝนอยู่ตัวบ้าน).

 

21. มุมเดียวกับภาพที่20จากต้นพุทรากลายเป็นต้นจามจุรีแทนที่ และมีผักหวานอยู่ใต้ร่มเงาและตามโคนต้นไม้ธรรมชาติ.

 

22. มุมถนนด้านข้างเรือนเพาะชำที่อยู่ตรงข้ามกับเกาะจันผา บริเวณประตูทางเข้าสวน.

 

... เพียงพื้นที่เล็กๆยังพบผ่านประสบการณ์เรื่องราวมากมายในชีวิตนับประสาอะไรกับโลกใบใหญ่ที่ต้องมีสิ่งต่างๆเกิดขึ้นมากมาย"ทุกประสบการณ์ที่เกิดคือความรู้ตำราสำหรับชีวิตเพื่อก้าวเดิน...

 

***เรื่องราวและต้นไม้ในวันนี้คงมีประโยชน์และให้ความเพลิดเพลินสำหรับทุกๆท่านนะคะ   ขอบพระคุณและสวัสดีค่ะ***

 

หมายเลขบันทึก: 487929เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบคุณค่ะ..เพลิดเพลินและเป็นประโยชน์มาก..

 สวัสดีค่ะคุณใหญ่(ขออนุญาตเรียกแบบสั้นๆนะคะ)...ขอบพระคุณที่กรุณาเข้ามาเยี่ยมชมและมอบดอกไม้กำลังใจค่ะ ดีใจที่พื้นที่เล็กๆสามารถให้ความเพลิดเพลินกับทุกๆท่านได้ค่ะ...

 สวัสดีค่ะคุณครุอ้อย แซ่เฮ  พี่หนูรี  คุณปริม  คุณดอกราตรี  และท่านอ.นุ   ขอบพระคุณทุกๆท่านที่กรุณาเข้ามาเยี่ยมชมและมอบดอกไม้กำลังใจค่ะ...

 สวัสดีค่ะคุณหมอ ป. ขอบพระคุณที่กรุณาเข้ามาเยี่ยมชมและมอบดอกไม้กำลังใจค่ะ...

 สวัสดีค่ะคุณโอ๋...ขอบพระคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ...

 สวัสดีค่ะคุณหมอ chaichomphu..ขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ.

  ชมสวนผักหวานป่ามา1-2เดือนแล้ว ตอนนี้ปลูกแคบ้าน พร้อมๆกับ เอาเมล็ดผักหวานที่เพาะงอกแล้วลง ปลูกข้างกันได้ใช่ไหมคะ

 

 สวัสดีค่ะคุณสุภาภรณ์...

...ที่คุณถามมาว่าเอาเมล็ดผักหวานป่าที่เพาะงอก(เข้าใจว่าเพาะแป็นถั่วงอก)แล้วลงปลูกข้างๆต้นแคบ้านได้ใช่ไหม?.

...ตอบว่า ได้ค่ะ! แต่การเจริญเติบโตของผักหวานป่าที่ปลูกคู่กับต้นแคจะโตช้ากว่าปลูกคู่กับต้นตะขบหรือภยใต้ร่มเงาของต้นตะขบค่ะ.

...ครั้งต่อไปหากจะปลูกผักหวานป่าด้วยวิธีหยอดเมล็ดแนะนำให้นำเม็ดผักหวานหยอด(ปลูก)ลงดินไปเลยค่ะ โดยไม่ต้องนำไปเพาะให้ออกราก เพราะวิธีดังกล่าวทำให้รากผักหวานป่าบบอช้ำและแห้ง ตารากฝอยตายซึ่งทำให้ผักหวานที่ปลูกไม่ค่อยเจริญเติบโต.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท