การออกแบบห้องน้ำเป็นเรื่องสำคัญ ผมละเอียดขนาดว่า ห้องน้ำชายต้องอยู่ก่อนห้องน้ำหญิง แต่ส่วนใหญ่ที่เห็นตามศูนย์การค้า หรือ ตามปั๊มคือ หญิงอยู่ก่อนชาย คือชายต้องเดินผ่านห้องน้ำหญิงไป
ที่ชายต้องอยู่ก่อนหญิงเพราะชายจะได้แอบมองหญิงไม่ได้ อีกทั้งยังเรื่องความปลอดภัยของหญิงด้วย โดยเฉพาะตามปั๊มเวลาเปลี่ยวดึก ถ้าชายเดินผ่านหญิง เห็นหญิงเข้าห้องน้ำคนเดียว อาจกลัดมันเข้าไปจี้ปล้นข่มขืนได้ แต่ถ้าหญิงอยู่หลัง ชายจะมองไม่เห็น เพราะไม่เดินผ่าน แต่ถ้าชายเดินผ่านก็พิรุธแล้วว่าเดินไปทำอะไร
จำนวนปริมาณห้องน้ำ ไปดูเถิดครับ ร้อยทั้งร้อย ชายเท่าหญิง แถมชายมีโถฉี่เพิ่มด้วย
เพราะประเมินได้ว่ามีการเบา 80% หนักเสีย 20% ได้กระมัง และหญิงใช้เวลาเบานานกว่าชายอีกด้วย (ต้องซับเช็ด) โดยหญิงไม่ว่าหนักหรือเบาก็ต้องใช้ห้องน้ำ ส่วนชายใช้โถเบา โถหนักแยกกัน ดังนั้นถ้าทำห้องน้ำรองรับการเข้าครั้งละ 10 คน ต้องมีห้องน้ำหญิง 10 ห้อง ส่วนห้องน้ำชายมีแค่ 2 ห้องก็พอ และมีโถฉี่เสีย 8
สังเกตไหมครับตามปั๊มน้ำมันเวลารถทัวร์ลง หรือแม้ในศูนย์การค้า ห้องน้ำชายว่างโล่ง แต่ห้องน้ำหญิงเข้าคิวยาว
เรื่องออกแบบห้องส้วม ไม่ใช่เรื่องขี้ๆ นะครับสิบ่อกไห่
ผมได้ทำการออกแบบอาคารหนึ่งในมหาลัย น่าจะเป็นอาคารเดียวในมหาลัยไทยที่ถูกออกแบบโดยผู้ใช้งานโดยตรง อาคารนั้นเป็นอาคารศูนย์วิจัยเฉพาะทาง เป็นอาคารเล็กๆ ราคาประมาณ 50 ล้าน ที่เหนื่อยที่สุดคือ การเถียงกับสถาปนิกซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ตรวจแบบ ผมโดนแก้แบบห้องน้ำอีกตามเคย ทั้งการวางทิศทางและจำนวนโถส้วม
จนตอนหลังๆ ผมงอน ไม่เข้าประชุมด้วยแล้ว (โดดประชุม) แต่แบบก็ออกมาประมาณ 90% ที่ผมออกไว้นั่นแหละ
โอ๊ยปวดท้องแล้ว..ขอตัวไปเข้าห้องน้ำก่อนนะ
...คนถางทาง (๑๒-๕-๕๕)
ไปเที่ยวห้องน้ำมา อิิิอิ เรื่องนี้มันสะสมมานานแล้วครับ จากการขับรถเดินทางรอบประเทศไทยหลายรอบในรอบสิบปีที่ผ่านมา เพื่อหาของโบราณคร่ำครึมาไว้ที่พภ.เทคฯไทยโบราณ ก็เลยถือโอกาสสำรวจข้อมูลประเทศไทยในหลายมิติพร้อมกันไป
โถฉี่ห้องน้ำชายตามปั้มน้ำมันมักจะอยู่ด้านหลังห้องน้ำด้วยครับ เป็น "outdoor" ลมเย็น วิวสวย และการหมุนเวียนเข้าออกก็ทำได้สะดวกมาก น่าจะเป็นอีกประเด็นที่ห้องน้ำชายไม่มีต้องคอยกันเลยครับ