กลยุทธ์ในการสอบป้องกันเค้าโครงวิทยานิพนธ์


 

 

1 การเตรียมตัวก่อนสอบ

1.1 รู้เขารู้เรา-ใครเป็นกรรมการ

1.1.1 Research Methodogist หรือ Statistician

1.1.2 Content Specialist

1.2 พูดคุยกับอาจาย์ที่ปรึกษา

1.2.1 สิ่งที่ต้องดำเนินการในที่ประชุมการสอบ

1.3 ฟังการสอบป้องกันเค้าโครงฯของคนอื่น

1.4 พบกรรมการสอบเค้าโครงบางคนเป็นรายบุคคลเพื่อหยั่งเสียง

1.4.1 ประเมินทีท่าข้อคิดเห็น

1.4.2 อาจได้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุง

1.5 สร้างความคุ้นเคยกับกรรมการก่อนสอบเค้าโครงฯ

1.6 พูดคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษาถึง บทบาทอาจารย์ในที่ประชุมกรรมการสอบ

1.6.1 เป็นผู้แก้ต่าง (Advocate)

1.6.2 เป็นผู้สนับสนุน (Supporter)

1.6.3 เป็นคนกลาง (Arbitrator)

1.6.4 เป็นคู่ปรับ (Adversary)

1.7 คาดคะเนคำถามต่างๆ ที่กรรมการสอบ อาจจะถามไว้ล่วงหน้า พร้อมเตรียมคำตอบ ที่มีเหตุผลและหลักฐานสนับสนุนไว้ด้วย

2 ตัวอย่างคำถามการวิจัยเชิงปริมาณ

2.1 เกี่ยวกับแบบการวิจัย

2.1.1 ปัญหาวิจัยเป็นเรื่องพื้นๆ ไม่สลักสำคัญใช่หรือไม่

2.1.2 คำถามวิจัยบอกอะไรแก่เราบ้าง

2.1.3 ทฤษฎีที่ใช้ดีแล้วหรือไม่

2.1.4 งานวิจัยมีความตรงภายในหรือไม่

2.2 กี่ยวกับ การเก็บรวบรวมข้อมูลและ การวิเคราะห์ข้อมูล

2.2.1 รายละเอียดและ.วิธีการต่างๆเป็นอย่างไร

2.2.2 วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้ดีที่สุดหรือไม่

2.2.3 เครื่องมือมีความตรงเชิงโครงสร้างหรือไม่

2.2.4 ข้อคำถามในเครื่องมือต้องปรับปรุงแก้ไขอีกหรือไม่

2.2.5 เครื่องมือที่เลือกใช้ในงานวิจัยดีแล้วหรือไม่

2.2.6 สถิติทดสอบที่เลือกใช้เหมาะสมที่สุดแล้วหรือไม่

3 ตัวอย่างคำถามการวิจัยเชิงคุณภาพ

3.1 เกี่ยวกับแบบวิจัย

3.1.1 ทำไมจึงเลือกการวิจัยเชิงคุณภาพ (แทนการวิจัยเชิงปริมาณ)

3.1.2 การวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้เป็นประเภทไหน (ชาติพันธุ์วรรณา ,ทฤษฎีราก)

3.1.3 งานวิจัยมีความตรงภายในหรือไม่

3.2 คำถามเชิงปริมาณที่เกี่ยวกับการวิจัยเชิงคุณภาพ

3.3 ท่านจะสรุปอ้างอิงผลงานวิจัยไปใช้กับกลุ่มประชากรได้อย่างไร

3.4 ตัวแปรต่างๆวัดได้หรือไม่ มีความตรงหรือไม่

3.5 ท่านวางแผนจะใช้ทฤษฎีในการศึกษาครั้งนี้หรือไม่

4 คำถามเกี่ยวกับความถูกต้องชอบธรรมของการวิจัย

4.1 มีวารสารทางวิชาการที่ตีพิมพ์งานวิจัยประเภทนี้หรือไม่

4.2 งานวิจัยประเภทนี้มีวิธีการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเพียงพอหรือไม่

4.3 ตัวผู้วิจัยมีอิทธิพลต่อผลการวิจัยหรือไม่

5 การปฏิบัติตัวในที่ประชุมสอบป้องกันเค้าโครง

5.1 ควรนำเสนอเค้าโครงให้กระชับ ไม่เกิน 15 นาที

5.2 ควรรับฟังความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแสดงความกระตือรือร้นในการตอบคำถามของกรรมการ

5.3 ควรทวนคำถามของกรรมการสอบด้วยภาษาของตนเอง เพื่อแสดงว่านักศึกษาเข้าถึงหัวใจของคำถามนั้น

5.4 ควรแสดงอาการเต็มใจรับฟังคำถามหรือความเห็นที่ไม่เกี่ยวข้อง กับเค้าโครงวิทยานิพนธ์

5.5 ในบางกรณีอาจารย์ที่ปรึกษาอาจช่วยไกล่เกลี่ยหรือขอร้องที่ประชุม เมื่อเห็นคำถามนั้นไม่ยุติธรรมหรือไม่เกี่ยวกับเค้าโครงฯ กรณีเช่นนี้นักศึกษาควรอยู่ในอาการสงบ

5.6 ควรตั้งใจฟังข้อเสนอแนะทางวิชาการเพื่อนำไปปรับปรุงเค้าโครงฯ และจดบันทึก

6 การปฏิบัติภายหลังการประชุมสอบป้องกันเค้าโครงฯ

6.1 ควรทบทวนเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับอาจารย์ที่ปรึกษา

6.2 ควรบันทึกข้อเสนอแนะที่ต้องมาปรับปรุงแก้ไข แลกเปลี่ยนกับอาจารย์ที่ปรึกษา-เรื่องใดต้องพบกรรมการรายบุคคล

6.3 พูดคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนที่ต้องดำเนินการต่อไป

6.3.1 การสร้างเครื่องมือ

6.3.2 การเก็บรวบรวมข้อมูล

6.3.3 การวิเคราะห์ข้อมูล

6.3.4 การเขียนรายงานการวิจัย

 

หมายเลขบันทึก: 487541เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 20:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบพระคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท