ธุรกิจเพื่อสังคม : แบบจำลองธุรกิจใหม่เพื่อสหัสวรรษใหม่


Social Business : A New Business Model for the New Millennium

ผมได้รับเชิญเข้าร่วมงานเสวนา "ธุรกิจเพื่อสังคม แบบจำลองธุรกิจใหม่เพื่อสหัสวรรษใหม่" หรือชื่อภาษาอังกฤษ "Social Business: A New Business Model for the New Millennium" ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ที่ Plaza Athenee Bangkok จัดโดย Asian Institute of Technology, Yunus Center at AIT,Thai Health,Thai Social Enterprise Office (TSEO) และ TMA สนับสนุนโดยบางจาก

ก่อนเข้าเรื่องเสวนา ต้องขอโทษที่การเขียนของผมทั้งนี้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษปนกัน เนื่องจากผู้จัดใช้ภาษาอังกฤษ ทั้งการเสวนาและเอกสาร ผมพยายามเขียนออกมาเป็นภาษาไทย แต่เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการอ้างอิงผมจึงจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษที่ผู้จัดให้มาในบางประโยค

การเสวนาครั้งนี้เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการเรียนรู้ของผู้ประกอบการ นักธุรกิจ นักบริหาร ในทุกภาคส่วนของธุรกิจทั้งใหญ่และเล็ก ธนาคาร ผู้มีฐานะการเงิน นักการเมือง ข้าราชการ ตลอดจนนักวิชาการ สถาบันการศึกษา มูลนิธิ สมาคม ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนทั่วไป

หลังจากเสร็จสิ้นพิธีการเปิดงานเสวนาอย่างเป็นทางการ  ศาสตราจารย์ มูฮัมหมัด ยูนุส Professor Muhammad Yunus เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2549 ผู้ก่อตั้งธนาคารกรามีน ปาฐกถาหัวข้อ "ธุรกิจเพื่อสังคม แบบจำลองธุรกิจใหม่เพื่อสหัสวรรษใหม่"

ท่านศาสตราจารย์ ยูนุส ได้กล่าวถึง ธุรกิจธนาคาร เป็นธุรกิจที่หวังผลตอบแทนสูงและเสี่ยงน้อย ดังนั้นจึงเลือกทำธุรกิจกับคนที่มีโอกาส ทำให้คนเป็นจำนวนมากไม่ได้รับโอกาสในการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนจากธนาคาร

ศาสตราจารย์ ยูนุส เลือกแนวทางทำธุรกิจที่ตรงกันข้ามกับธนาคาร สิ่งไหนที่ธนาคารไม่ทำ ท่านจะทำในสิ่งนั้น ท่านเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีความสามารถสูงโดยไม่มีที่สิ้นสุด เพียงแต่ยังขาดโอกาสที่จะนำความสามารถออกมาใช้ให้ประสบผลสำเร็จ

ศาสตราจารย์ ยูนุส เลือกลูกค้าของท่านจากคนที่ยากจน ใครคือผู้ที่ยากจน ? ท่านดูจากครอบครัวที่อยู่รวมกันในห้องเดียว คนเหล่านี้ไม่ยอมรับเงินจากผู้ที่นำเงินไปเสนอให้ เพราะเขากลัวและผ่านสิ่งเลวร้ายมามาก ดังนั้นจะต้องหมั่นเข้าไปหาและศึกษาให้แน่ใจว่า เขามีปัญหาอะไร แล้วจึงนำปัญหานั้นมาคิดให้เกิดขบวนการแก้ปัญหาในรูปแบบธุรกิจ นี่คือที่มาของ "ธุรกิจเพื่อสังคม"

ธุรกิจเพื่อสังคม ไม่ต้องการเงินมาก สิ่งที่สำคัญคือ "ความคิดสร้างสรรค์" มีความจำเป็นถึง 80% และความต้องการทางเงินแค่ 20% การทำธุรกิจเพื่อสังคม เอาปัญหาเป็นโจทย์ สร้างแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาให้กับผู้ที่มีปัญหาในกรอบของการทำธุรกิจ

ท่านเอ่ยถึงคนที่ไม่มีเหตุผล และได้ถามว่าใครคือผู้ที่ไม่มีเหตุผลกันแน่ คนมักคิดว่าตัวเองมีเหตุผลแต่คนอื่นไม่มีเหตุผล ธนาคารเลือกให้ความช่วยเหลือคนมีเงินเพราะเชื่อว่าได้ผลตอบแทนกลับมาให้ตัวเองอย่างแน่นอน แต่ไม่เลือกให้ความช่วยเหลือกับคนจนเพราะคิดว่าไม่ได้รับผลตอบแทนแน่นอน คนรวยมีเงินจ้างทนายความและต่อสู้เมื่อมีปัญหากับธนาคาร แต่คนจนไม่มีทางต่อสู้กับธนาคาร ใครที่ไม่มีเหตุผล ?

ท่านจบการปาฐกถาอย่างสมบูรณ์ ผมเข้าใจแนวทางอย่างแจ่มแจ้ง และจะนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปต่อยอดโครงการ "ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์"

หลังจากนั้นเป็นเวทีเสวนา "The Future of Social business in Thailand and the region" วิทยากรเสวนา ประกอบด้วย Professo Yunus,Mr.Vichien Phongsathom,Chairman Premier Group, M.L.Dispanadda Diskul,Chief Development Officer,Doi Tung Development Project,Dr.Krissada Raungarreerar,CEO ThaiHealth,Mr.Paradai Theerathada,Executive Vice President-Head of Corporate Communication Group TMB

Moderator : Ms.Veenarat Laohapakakul,News Reporter TV Host

เสียดายวิทยากรฝ่ายไทยที่มาปะกบกับ ศาสตราจารย์ ยูนุส ยังห่างกันมาก  ผมสังเกตการจัดเวทีระดับประเทศหลายครั้งที่เชิญต่างชาติมาร่วมเป็นวิทยากร เสวนากับวิทยากรคนไทย วิทยากรคนไทยมักจะห่างชั้นกับวิทยากรต่างชาติมาก ทำให้รู้สึกอายที่วิทยากรคนไทยถูกวิทยากรต่างชาติต้อนจนตกเวที เสียภาพพจน์ของคนไทยทั้งประเทศ ทั้งๆที่เรามีผู้มีความรู้ในหัวข้อการเสวนานั้นๆที่มีความสามารถเสวนาร่วมกับต่างชาติในระดับสากล หลายท่าน

ก็ฝากขอความกรุณาผู้จัดโปรดคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วยครับ เช่นการเสวนาครั้งนี้ หากมีท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นวิทยากรปะกบ กับท่าน ศาสตราจารย์ ยูนุส จะเป็นคู่ที่พอสมน้ำสมเนื้อกัน จะทำให้บรรยากาศในเวทีเสวนามีรสชาดและเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้อง ทั้งปัจจุบันและอนาคต

สนใจทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อง Social Business ได้ที่

www.yunuscenter.ait.asia

www.muhammadyunus.org

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 487503เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 13:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 07:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

"...เสียดายวิทยากรฝ่ายไทยที่มาปะกบกับ ศาสตราจารย์ ยูนุส ยังห่างกันมาก ผมสังเกตการจัดเวทีระดับประเทศหลายครั้งที่เชิญต่างชาติมาร่วมเป็นวิทยากร เสวนากับวิทยากรคนไทย วิทยากรคนไทยมักจะห่างชั้นกับวิทยากรต่างชาติมาก ทำให้รู้สึกอายที่วิทยากรคนไทยถูกวิทยากรต่างชาติต้อนจนตกเวที เสียภาพพจน์ของคนไทยทั้งประเทศ ..."

Uuummm, we may have too many ideas but not enough critical thinking on ideas.

เรียนคุณสุนทร (ถ้าสะกดชื่อผิดขออภัยด้วยครับ) ขอบคุณที่ให้ดอกไม้ และแสดงความคิดเห็น ช่วยกรุณาขยายความด้วยครับ ยังไม่ค่อยเข้าใจ นับถือ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท