หินแร่ภูเขาไฟ ในประเทศไทยมีด้วยหรือ?


การเกิดภูเขาไฟส่วนใหญ่จะมีอยู่ 3 ลักษณะคือภูเขาไฟชนิดปะทุรุนแรง ภูเขาไฟชนิดปะทุเงียบและภูเขาไฟชนิดปะทุเป็นระยะ

 

พอเอ่ยถึงหินแร่ภูเขาไฟ หลายคนคงจะงุนงงสงสัยและอาจจะมองออกไปค่อนข้างไกลตัว อาจจะมองไกลไปถึงยุโรปอเมริกา คาซัคสถาน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และรัสเซีย ความจริงหินแร่ภูเขาไฟในบ้านเราก็พอมีอยู่บ้างพอสมควร ถึงไม่มากมายหลายร้อยลูกแต่ก็เพียงพอสำหรับนำมาทำประโยชน์ในเชิงเกษตรได้เป็นร้อยปี เพียงพอให้ลูกหลานไทยได้ใช้นำไปปรับปรุงบำรุงดินเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและช่วยเร่งการเจริญเติบโตโดยอาศัยความอุดมสมบูรณ์จากหินลาวา หินเถ้าและหินแก้วภูเขาไฟ ที่ผ่านความร้อนหลอมละลายจากอุณหภูมิเป็นล้านองค์ศา หินแร่ภูเขาไฟเหล่านี้มีประโยชน์มากในภาคการเกษตรต้องรีบนำมาพัฒนาเผยแพร่ให้เกษตรกรไทยได้ทราบก่่อนที่นักการเมืองจะนำไปถมที่สร้างถนนเสียหมด
 
หินแร่ภูเขาไฟเหล่านี้กำเนิดมาจากภูเขาไฟที่มีอายุแตกต่างกันหลายรุ่น มีทั้งที่ไม่กี่แสนปี สิบหรือยี่สิบล้านปี และมีทั้งที่เป็นร้อย เป็นพันล้านปีก็มีแตกต่างกันไปตากแต่ลักษณะทางภูมิศาสตร์ส่วนใหญ่ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ดีที่สุดก็อยู่ในช่วงกลางเก่ากลางใหม่คือจะมีทั้งแร่ธาตุและสารอาหารค่อนข้างสมบูรณ์ ไม่เป็นเนื้อหินหรือแร่ดินมากเกินไป สามารถที่จะแตกตัวนำสารอาหารออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้โดยง่าย ถ้าเป็นหินแร่ภูเขาไฟใหม่ การย่อยสลายแตกตัวก็อาจจะใช้ระยะเวลานานกว่าสักหน่อย หรือถ้าเป็นหินแร่ภูเขาไฟที่เก่ามากเกินไปก็จะได้เนื้อดินมากกว่าสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
 
การเกิดภูเขาไฟส่วนใหญ่จะมีอยู่ 3 ลักษณะคือภูเขาไฟชนิดปะทุรุนแรง ภูเขาไฟชนิดปะทุเงียบและภูเขาไฟชนิดปะทุเป็นระยะ ภูเขาไฟชนิดปะทุเงียบจะค่อนข้างปลอดภัยมากที่สุด ส่วนชนิดปะทุรุนแรงและปะทุเป็นระยะนั้นมีอันตรายใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะชนิดที่ปะทุเป็นระยะๆนั้นเมื่อนึกจะปะทุขึ้นมาก็อาจจะเป็นได้ทั้งชนิดรุนแรงและเงียบก็ได้คือเป็นได้ทั้งสองแบบ ส่วนภูเขาไฟในบ้านเรานั้นถือว่าเป็นภูเขาไฟที่ดับนานหลายล้านปีมาแล้ว โดยเฉพาะแถบบุรีรัมย์นั้นค่อนข้างมากกว่าร้อยล้านปีคุณภาพค่อนข้างมีส่วนประกอบที่เป็นแร่ดินอยู่ค่อนข้างมาก ในอดีตน้ำทางภาคอีสานหายากเพราะค่อนข้างแห้งแล้งที่มีอยู่ก็ขุ่นตม เน่าเสียไม่สะอาด หินภูเขาไฟเหล่านี้ได้ช่วยให้ชาวบุรีรัมย์ได้น้ำที่สะอาดในการดำรงชีพได้ดื่มกินมาอย่างยาวนานโดยเอาหินแร่ภูเขาไฟมาตำป่นแช่รวมในแอ่งน้ำทิ้งไว้สักพักรอให้ใสแล้วนำมาดื่มท้องก็ไม่เสียมีการบอกต่อทำต่อเนื่องกันมาจนชาวบุรีรัมย์ได้ฉายาหรือคำบอกเล่าที่เป็นตำนานว่า "ชาวบุรีรัมย์ ตำน้ำกิน"
 
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
 
 
หมายเลขบันทึก: 487364เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 19:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท