โรงเรียนใกล้บ้าน


โรงเรียนใกล้บ้าน

 

ช่วงนี้คงจะใกล้เวลาเปิดเรียนกันแล้ว  ผู้ปกครองที่ยังมีลูก

หลานอยู่ในวัยเรียนก็คงจะต้องมีภาระให้ต้องคิด ต้องทำกัน

อีกมากมาย  เด็ก ๆ ที่จะต้องเข้าเรียนในโรงเรียนใหม่ ก็คง

ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่าเด็ก ๆ ที่ยังอยู่โรงเีรียนเดิมใน

ขณะที่เด็ก ๆ เล็ก ๆ อีกหลาย ๆ คน ก็เพิ่งจะมีโอกาสเข้าเรียน

เป็นครั้งแรก เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นกันทั้งเด็กทั้งผู้ปกครอง

 

สมัยที่คุณมะเดื่อเป็นเด็ก ๆ " โรงเรียนใกล้บ้าน " จะเป็น

โรงเรียนที่ผู้ปกครองเลือกเป็นอันดับแรกในการให้ลูกหลาน

ได้เข้าเรียน  แต่....เดี๋ยวนี้คงไม่เป็นอย่างนั้น  ในทัศนะของผู้

ปกครอง (ชาวบ้านส่วนมาก) กลับส่งลูกหลานไปเรียน

"โรงเรียนไกลบ้าน"  ชนิดต้องตื่นแต่เช้ามืด นั่งรถรับส่ง

นักเรียน ทั้ง ๆ ที่ลูกหลานหลาย ๆ คนเพิ่งเข้าเรียนชั้นอนุบาล

เด็ก ๆ ต้องขึ้นรถไปโรงเรียนตั้งแต่ หกโมงเช้า (บางราย ตี 5

กว่า ๆ) ทั้ง ๆ ที่อายุ 4 - 5 ขวบ ( บางรายยังไม่ 4 ขวบก็มี)  

แล้วคิดดูว่า...เด็กจะต้องตื่นนอนตั้งแต่เวลาเท่าไร และกว่าจะ

กลับถึงบ้านก็เย็นย่ำแล้ว

  ที่คุณมะเดื่อกล่าวถึงตรงนี้ ต้องขอบอกว่า เป็นเหตุการณ์ที่

พบเห็นอยู่ในละแวกบ้านคุณมะเดื่อนะ เป็นชนบทที่เกือบ ๆ จะ

ไกลปืนเที่ยงแหละ ไม่ใช่ในเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ ๆ

 

คุณมะเดื่อเคยไถ่ถามชาวบ้านที่เป็นพ่อแม่ผู้ปกครองว่าทำไม

ไม่ให้ลูกหลานเรียนโรงเรียนใกล้บ้าน ( ทั้ง ๆ ที่ โรงเรียนอยู่

หน้าบ้าน มีเพียงถนนกั้นเท่านั้น) คำตอบที่ได้คือ " มันมีเรื่อง

ไม่ชอบใจหลาย ๆ อย่าง ครูพูดจาไม่เพราะหู ไม่เป็นกันเอง  

สอนมั่งไม่สอนมั่ง  มาโรงเรียนก็สาย เด็ก ๆ เข้าแถวเชิญ

ธงชาติกันเอง  ครูใหญ่(ชาวบ้านมักเรียกผู้อำนวยการ

โรงเรียนว่า ครูใหญ่) ก็ไม่เอาใจใส่ดูแล ห่วงแต่เรื่องอะไรก็

ไม่รู้ ..เด็กก็อ่านหนังสือไม่ค่อยจะออก "  ....

" โอ้โฮ..! โรงเีรียนอะไรจะ ... สาหัสสารพัดแย่สมบูรณ์

แบบ...ไปทุกอย่าง (ในสายตาชาวบ้าน) อย่างนี้....."

(อันนี้คุณมะเดื่อคิดเองนะ ก็คงจะมีส่วนจริงมั้ง

เพราะโรงเรียนนั้นมีเด็กอยู่ยี่สิบสามสิบคนเอง ทั้ง ๆ ที่อยู่ใน

หมู่บ้านใหญ่ เด็ก ๆ ในวัยเรียนระดับประถมก็มีอยู่มาก

คุณมะเดื่อยังถามอีกว่า การให้ลูกหลานไปเรียนในเมือง  

ไกล ๆ ต้องเสียค่าใช้จ่ายเยอะ นอกจากค่าเรียนแล้ว ยังค่ารถ

อีกจะเป็นภาระอีกมาก จะไม่ลำบากหรือ  คำตอบก็คือ " ไม่

เป็นไร ก็ต้องทนไป ให้ลูกได้หนังสือ ครูเอาใจใส่เด็ก

ดูแลเด็กให้ดีก็พอแล้ว" ... กับคำตอบนี้คุณมะเดื่อ

" No comment " ละกัน

 

ค่านิยมอีกอย่างหนึ่งที่คุณมะเดื่อเห็นอยู่บ่อย ๆ ก็คือ "การ

เรียนพิเศษหลังเลิกเรียน และในวันหยุด " ค่าเล่าเรียนคิดเป็น

ชั่วโมงก็มี เป็นเดือนก็มี เด็กที่ไปเรียนมีตั้งแต่ระดับอนุบาลขึ้น

ไป

 

เหตุผลที่ผู้ปกครองนิยมให้ลูกหลานไปเรียนพิเศษ ( โดย

เฉพาะเด็กอนุบาลและประถม ) ก็คือ 1. อยู่บ้านแล้วเด็กจะ

เที่ยวซุกซน ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแล  2.ไปเรียนพิเศษแล้วครู

ให้ทำการบ้าน อยู่บ้านผู้ปกครองเตือนเท่าไรก็ไม่ทำ 3. เด็ก

เรียนอ่อน ให้ไปเรียนพิเศษเผื่อจะดีขี้น  4. เห็นเขาเรียนกัน ก็

ให้เรียนบ้าง  ( เรื่องนี้สำหรับคุณมะเดื่อก็ No comment จ้ะ)

 

 

ก็คงจะพอสรุปได้ว่า เพราะ "ค่านิยม+สภาพทั่วไปของ

จัดการศึกษา" ของโรงเรียนใกล้บ้าน จึงทำให้ โรงเรียนใกล้

บ้านในชนบทไทย (อาจจะทั่วไป)ไม่ใช่โรงเรียนที่ชาวบ้านจะ

เลือกส่งบุตรหลานเข้าเรียนเป็นโรงเรียนแรก อีกต่อไป  มาถึง

ตรงนี้ ทำให้คุณมะเดื่อนึกถึงคำที่ " มาร์ติน  วิลเลอร์" ฝรั่ง

หัวใจไทย (ทุก ๆ ท่านคงคุ้นชื่อนี้กันดีอยู่แล้ว) ได้ให้

สัมภาษณ์ในรายการหนึ่งนานมาแล้ว ซึ่งพิธีกรถาม

มาร์ตินว่า จะให้ลูกเรียนที่ไหน มาร์ตินบอกว่า ต้องตามใจ

ภรรยาทั้ง ๆ ที่ใจอยากให้เรียนโรงเรียนใกล้บ้าน แต่ขัด

ภรรยาไม่ได้คำตอบตอนหนึ่งของมาร์ตินเกี่ยวกับโรงเรียนซึ่ง

คุณมะเดื่อชอบใจคือ

" โรงเรียนที่ดีที่สุดและได้มาตรฐาน ในอังกฤษ คือ ครู 1 คน

ต่อนักเรียน 15 คน  แต่โรงเรียนของไทยน่าจะดีมีมาตรฐาน

กว่า เพราะแถวชนบท (อีสาน) มีครู 1 คน ต่อนักเรียนไม่ถึง

10 คน แต่ผู้ปกครองกลับให้ลูกหลานไปเรียนในเมืองใหญ่

โรงเรียนใหญ่ ที่มีครู 1 คน ต่อนักเรียน 30 - 40 คน" ....

 

บันทึกนี้คุณมะเดื่อเขียนขึ้นเพราะรู้สึกเห็นใจทั้งผู้ปกครอง ทั้ง

คุณครู และโดยเฉพาะ " ห่วงใยการศึกษาและอนาคต" ของ

ไทย ที่ยังหาทิศหาทางของตัวเองไม่ได้  ปี 2558 ก็จะเข้าสู่

ประชาคมอาเซียนแล้ว  ลองกลับมาถามตัวเองเล่น ๆ ดูว่า มี

อะไรที่พร้อมสำหรับเป็นประชาคมอาเชียนหรือยัง....สำหรับ

คุณมะเดื่อก็ขอตอบตัวเองทันทีว่า " ยัง ยัง ไม่มีเลย" แต่คน

อื่น ๆ อาจจะพร้อม หรือกำลังเตรียมพร้อมอยู่ก็ได้

 

 

           (มาร์ตินและครอบครัว)

 

................................................

หมายเลขบันทึก: 487010เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2013 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

...นึกว่าจะมีเฉพาะในเมืองกรุงเนาะ..แต่ก้ขอให้กำลังใจเด็กไทยสู้ๆ สู่ประชาคมอาเซียน ครับ...

ชลัญเคยไปบ้านมาร์ติน 2 ครั้งค่ะ ชอบ คิดดี คนไทยยังอาย

...ความเป็นอาเชี่ยน..(ความจริง..มีมานานแล้ว..อาจจามองคนละมุมก็ได้..จึงไม่เห็นกัน..อ้ะ)..ฝรั่งก็เข้าเป็น..อาเชี่ยนกะเรา..ตั้งนานแล้ว..ดูลูกของเขาซิ....ชีวิต..ดีๆ..ที่ฝรั่งๆ..ไม่มี..และคนๆคนนั้นคือ..คุณมาติน.และอาจจะมีอีกมากมาย."ตรงกันข้ามกับ..ยูโรเปียน..และอเมริกัน"ถ้าอยากจะไปเป็นกะเขา..น่ะ..สาบานก็แล้ว..ร้องเพลงชาติ..ชัดแจ๋ว..ใช้เงิน..ยูโรเป็น..ก็ยัง..มีปัญหา..อยู่อยางนั้น..แหละ...อิอิ...ยายธี

สวัสดีจ้ะคุณ พ.Ico48 ก็ได้แต่ห่วงใยสังคมไทยในอนาคตจ้ะ เพราะหากผู้ที่รับผิดชอบ ผู้ที่กำหนดเส้นทางการศึกษา ยังหาทิศทางที่เป็นตัวตนของไทยอย่างแท้จริงไม่เจอ ก็คงหวังอะไรไม่ได้เลยน่ะแหละจ้ะ ขอบคุณที่ให้เกียรติมาทักทายจ้ะ

สวัสดีจ้ะคุณชลัญธร Ico48 คุณมะเดื่อดูรายการที่เขาสัมภาษณ์คุณมาร์ตินดูแล้วคิดตาม เขาลึกซึ้ง และมองคนไทย เมืองไทยเป็นภาพสะท้อนความจริง ถูกต้องที่สุด.....อายเลยจ้ะ...ขอบคุณจ้ะ

หวัดดีจ้ะยายธี Ico48 เห็นด้วยกะยายธีทุกประการจ้ะ ก็คงจะเป็นไปเช่นนี้ตลอดไป ไม่ว่าจะเป็นอะไร ไทยเราก็เฮเป็นไปกะเขาได้ทั้งน้านนนนแหละ แต่จะเป็นแบบไหนนั่นแหละ....??? ขอบคุณจ้ะยายธี

สวัสดีครับ คุณมะเดื่อ ผมเข้าใจแนวคิด ทั้งหมด อ่านแล้ว เหมือนอยู่ในเหตุการณ์ ที่โรงเรียน ครู ๑ คน สอนเด็ก ๑๐ - ๑๒ คน ซึ่งผมพยายามชี้ให้ครูเห็นจุดที่จะพัฒนาเด็กได้โดยง่าย ด้วยการปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน ทำงานให้ผู้ปกครองศรัทธา อย่าให้เขาส่งลูกเรียนใกล้บ้านด้วยความจำใจ แต่เต็มใจ เพราะเราประกันได้ว่า เรามีคุณภาพ เรื่องอาเซี่ยน ผมมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ไร้สาระ เรื่องใกล้ตัว คือ เด็กอ่านหนังสือได้ มีทักษะชีวิต เติบโตอย่างมีพัฒนาการ ไม่ใช่ขยะสังคม สถานการณ์บ้านเมืองเดาได้ไม่ยาก จึงไม่อยากให้ใส่ใจอาเซี่ยนมากนัก

สวัสดีจ้ะท่านผู้อำนวยการIco48 ที่ท่านว่ามาทั้งหมดนี้ถูกต้องจ้ะ แต่ทั้งหลายทั้งปวง ถ้าโรงเรียน (หมายถึงบุคลากรทั้งหมดทุกคน) "สร้างศรัทธา" ให้เกิดแก่ชุมชนแล้วไซร้  ทุกอย่างก็ Happy  แน่นอนจ้ะ ขอบคุณที่ท่านกรุณามาทักทายจ้ะ

สวัสดีค่ะคุณมะเดื่อ

เป็นเด็กโรงเรียนใกล้บ้านค่ะ บ้านนอกด้วย แต่ก็ทำได้ดี ดีมากกว่าเด็กนักเรียนในเมืองหลายๆคน ก็เลยสนับสนุนโรงเรียนใกล้บ้าน หลานๆก็เข้าโรงเรียนใกล้บ้าน ที่บ้านสนับสนุนทุนการศึกษาก็สนับสนุนโรงเรียนใกล้บ้าน นักเรียนจะเรียนเก่งและประสบความสำเร็จหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่โรงเรียนอย่างเดียวค่ะ

หากไม่มีใครไปโรงเรียนใกล้บ้าน อีกหน่อยโรงเรียนใกล้บ้านก็ปิดหมด...;)

ขอบคุณบันทึกเตือนให้คิดนี้ค่ั

สวัสดีจ้ะคุณปริม Ico48 คุณมะเดื่อก็เป็นนักเรียนโรงเรียนใกล้บ้าน (เพราะยุคนั้นโรงเรียนไกลบ้าน มัน ... ไกลจริง ๆ ...ไม่มีปัญญาไปถึงจ้ะ) เป็นโรงเรียนวัดจ้ะ ถูกต้องและเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า ความสำเร็จของคนเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับโรงเีีรียนเป็นสำคัญ  แต่ โรงเีรียน (บุคลากรการศึกษาในโรงเรียน) ก็ต้องมีความตระหนักและรับผิดชอบในวิชาชีพของตนเองอยู่เสมอด้วยจ้ะ ขอบคุณจ้ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท