เร่งพัฒนาเครือข่ายกลุ่มอาชีพทางการเกษตร


มีเวทีที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรหรือกลุ่มอาชีพทางการเกษตรมีเวทีที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
ปัจจุบันนี้การทำงานกับกลุ่มอาชีพทางการเกษตร ก็เป็นแนวทางการสื่อสารแบบกลุ่มค่อนข้างจะได้ผลดีที่ครั้งหนึ่งสามารถสื่อสารได้กับคนหลายคน แต่การสื่อสารแบบรายคนและสื่อสารแบบมวลชน บางครั้งการสร้างความเข้าใจมักจะต้องใช้เวลามากกว่าสื่อสารแบบกลุ่ม ณ.วันนี้ต้องเร่งพัฒนาเครือข่ายกลุ่มอาชีพทางการเกษตร
 

 

           การส่งเสริมและพัฒนาองค์กรเกษตรกร โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพทางการเกษตร เรามุ่งเน้นให้เกษตรกรและชุมชนเกษตรได้เกิดกระบวนการเรียนรู้และให้มีความสามารถในการดำเนินงานทางการเกษตร  ทั้งในระดับของการพึ่งพาตนเองและในระดับของการแข่งขัน การนำกระบวนกลุ่มหรือเรียกง่ายๆว่าทำงานแบบกลุ่ม สารถเชื่อมโยงเครือข่าย เน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกรต่อเกษตรกร และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มอาชีพกับกลุ่มอาชีพด้วยกันเอง โดยจะก่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้วยกันเอง เกิดความร่วมมือเป็นลักษณะเครือข่ายเกษตรกรและเครือข่ายกลุ่มอาชีพทางการเกษตรนั่นเอง
 

 

          หน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาจจะรวมไปถึงองค์พัฒนาต่างๆ ว่าจะมีเวทีที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรหรือกลุ่มอาชีพทางการเกษตรมีเวทีที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ซึ่งอาจจะรวมไปถึงเกิดการเรียนรู้ลักษณะเป็นเครือข่ายกลุ่มอาชีพขึ้นมา แต่หลักสำคัญเราจะต้องเสริมความรู้ให้เขารู้จักกับการให้ความร่วมมือกัน การเจรจากัน หรือการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของกันและกันที่ได้ดำเนินการมาว่าดำเนินการอย่างไร พบปัญหาอุปสรรคอย่างไร แล้วทางกลุ่มได้ร่วมมือกันแก้ไขอย่างไรกัน นี่เป็นสิ่งที่สำคัญ
 
               

 

              การเสริมด้านการฝึกทักษะในการแลกเปลี่ยน ทักษะในด้านการนำเสนอ ทักษะในการบริหารจัดการกลุ่มให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเสริมทักษะการสร้างและพัฒนาเครือข่ายแบบกลุ่มต่อกลุ่ม ซึ่งอาจจะรวมไปถึงกระบวนการผลิตสินค้าของกลุ่มให้มาตรฐานและการตลาดในการจัดเวทีระดับเครือข่ายกลุ่มอาชีพทางการเกษตรในครั้งนี้สำนักงานเกษตรจังหวัดจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๕ ณ.ห้องเทพนคร โรงแรมเพชร อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งผ่านมาเมื่อไม่นานนี้เอง กลุ่มอาชีพเป้าหมายที่เข้าร่วมมีจำนวน ๓oกลุ่ม พอจะแบ่งเป็นประเภทกิจกรรมอยู่ ๔ ด้านคือ (๑) กิจกรรมด้านการเกษตรประกอบด้วยการเพาะเห็ด การเลี้ยงสุกร การปลูกพืชผัก การผลิตพันธุ์ข้าว (๒)กิจกรรมด้านการแปรรูป ประกอบด้วย ข้าวกล้อง กล้วยกวน กล้วยอบเนย  กล้วยฉาบ ขนมทองม้วน น้ำพริกต่างๆ กระยาสารทและ มะพร้าวเสวย (๓)กิจกรรมด้านหัตถกรรมประกอบด้วย ไม้กวาดจากดอกหญ้า  ทอผ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป ลูกประคบ พรมเช็ดเท้า ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ ดอกไม้จากผ้าใยบัว กระทง (๔) อื่นๆเช่น แชมพูสมุนไพร โต๊ะปีกไม้ เก้าอี้ กระถางกล้วยไม้เป็นต้น

 
 

 

             การจัดเวทีครั้งนี้ เราสังเกตบรรยากาศแห่งการแลกเปลี่ยนดีมาก ผู้แทนกลุ่มอาชีพดังกล่าว มาจากอำเภอต่างๆ รวมทั้งสิ้น๕o คน  ได้มีการคัดเลือกผู้แทนแต่ละอำเภอ คัดเลือกคณะกรรมการกลุ่มระดับจังหวัด เพื่อที่วางแผน หรือออกแบบการทำงานลักษณะเครือข่ายกลุ่มอาชีพระดับจังหวัดต่อไป  คาดว่าอีกไม่นานคงจะมีเวทีเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอีกสำหรับอำเภอต่างๆ ก็จะต้องนำเอาข้อสรุปจากเวทีในวันนี้ ไปถ่ายทอดหรือเล่าสู่ให้สมาชิกของแต่ละอำเภอได้รับทราบต่อไปด้วย พร้อมวางแผนพัฒนากลุ่มอาชีพที่มีอยู่ในชุมชนต่าง พร้อมดำเนินการตามแผน แล้วครั้งต่อไปคงจะมีเวทีให้แต่ละกลุ่มนำผลความก้าวหน้ามาเล่าสู่กันในระดับจังหวัดต่อไปครับ

 

 
            นี่ก็เป็นบทบาทหนึ่งที่นักส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ต้องทำงานหนัก ไม่ว่าจะเป็นงานตามพันธกิจ  งานนโยบายรัฐ ล้วนแต่นักส่งเสริมการเกษตรจะต้องลงไปปฏิบัติกับพี่น้องเกษตรกรทั้งสิ้น ณ.วันนี้ ทางKM TEAM ของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชรก็ต้องหาเวลาลงไปเยี่ยมนักส่งเสริมและเกษตรกรในพื้นที่เท่าที่จะมีโอกาสและเวลาที่อำนวยครับ ขอให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงานทุกๆท่าน        
 
เขียวมรกต
๒๙ เมย.๕๕
 
หมายเลขบันทึก: 486449เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2012 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 18:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ขอบคุณ อ.สิงห์ฯ
  • ที่แวะมาทักทายกัน
  • เราคงต้องออกแรกมากหน่อยนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท