ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

มายาคติเกี่ยวกับความเป็นกลาง!!!




      จากการวิเคราะห์ความเข้าใจของกลุ่มคนทั่วไปเกี่ยวกับคำว่า "เป็นกลาง" นั้น ทำให้พบคำตอบที่น่าสนใจ และที่น่าสนใจเพราะเป็นการตีความที่ "อาจจะ" มีความโน้มเอียงไปสู่ "กลางเทียม" เมื่อนำเกณฑ์ของกลางแท้มาจับ เหตุผลที่ต้องนำกลางแท้มาจับ เพราะกลุ่มคนเหล่ามักจะอ้างว่า ที่นำเสนอนั้น ใช้กรอบกลางแท้มาอ้างอิง ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างดังต่อไปนี้

      ๑. สื่อจะต้องไม่เป็นกลาง เพราะหากเป็นกลางจะเป็นสื่อไม่ได้ การที่นักการสื่อสารหลายคนอธิบายเช่น นี้ ด้วยเข้าใจว่า ความเป็นกลางจะต้องอยู่ "ณ กึ่งกลาง" ระหว่างขาวกับดำ ระหว่างความดีกับความชั่ว ระหว่างความถูกกับความผิด หรือระหว่างคนสองกลุ่ม ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเลือกที่จะเป็น กลาง การเลือกใช้วาทกรรมในลักษณะนี้ อาจจะทำให้เข้าใจว่า ความเป็นกลางมิได้มีอยู่จริง เพราะในความเป็นจริงแล้ว ความเป็นกลางจึงอยู่เหนือสภาวะของความเป็นคู่ โดยเฉพาะคู่ขัดแย้งที่เป็นลักษณะของกลุ่มไปสู่ความถูกต้อง ความยุติธรรม และความเป็นธรรม

      ๒. การเป็นกลางจะต้องมีลักษณะเทาๆ ระหว่างขาวกับดำ การมองในลักษณะนี้ เป็นการประนีประนอมของกลุ่มผลประโยชน์ ต่างๆ ที่ใช้เป็นกรอบในการแลกเปลี่ยน แต่ในความเป็นจริงแล้วคำว่า "เป็นกลาง" นั้น จะประประนอมไม่ได้ เราจะประนีประนอมกับสัจธรรมที่เน้นความชอบธรรม และความถูกต้องไม่ได้ ฉะนั้น การอยู่ระหว่างขาวกับดำ จึงเป็นกลางที่พยายามจะเอาตัวรอดแบบไม่ยั้งยืน เพราะถึงเวลาหนึ่งเมื่อเกิดความไม่ลงตัวของผลประโยชน์และความต้องการ จำเป็นต้องมาประนีประนอมกันครั้งแล้วครั้งเล่า

      ๓. การเป็นกลางคือวางใจอุเบกขาไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อุเบกขาหมายถึง การใช้ปัญญาเข้าไปพินิจพิเคราะห์เหตุ ผล ตน ประมาณ กาล ชุมชน และบุคคลต่างๆ ว่าควรจะเข้าไปเกี่ยวข้องหรือไม่ อย่างใด เวลาใด จึงจะถูกต้อง และสมควรแก่เหตุ และผลที่จะเกิดตามมา ฉะนั้น การวางเฉยโดยไม่เข้าข้างใดข้างหนึ่งนั้น อาจจะทำให้ดูประหนึ่งว่ามีความเป็นกลาง แต่อาจจะทำให้เกิดคำถามว่า เป็นการเพิกเฉยต่อศีลธรรมความจริงที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ด้วยเหตุนี้ การไม่วิพากษ์วิจารณ์หรือตั้งคำถามอาจจะเห็นว่าดำรงความเป็นกลาง อาจจะทำให้สูญเสียโอกาศในการพัฒนาบุคคล กลุ่มบุคคลหรือสังคมในภาพรวมได้เช่นกัน

 

คำสำคัญ (Tags): #impartiality#NVCR
หมายเลขบันทึก: 486004เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2012 00:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

- วางใจอุเบกขา...เป็นเรื่องที่ปฎิบัติได้อยาก...สำหรับคนทั่วๆ ไป... โดยเฉพาะ...เห็นญาติ...กำลังป่วย ระยะสุดท้าย....ทำใจอยากมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท