ชมสวน(6) : สูตรปลูกผักหวานป่าที่ประหยัดที่สุด ตอนที่18


ปลูกต้นไม้บนก้อนหิน

 

 

     หลังจากที่ข้าพเจ้านำทุกท่านชมสวนในโซนใกล้ๆบ้านไปแล้ววันนี้จะขอนำทุกท่านเที่ยวชมในส่วนท้ายของพื้นที่สวนที่มีชื่อว่า "แปลงเนินหมากเบ็นท้ายสวน"

 

     จากสภาพพื้นที่ที่สูงต่ำกว้างยาว กับคนสองคนที่ต้องทำงานปลูกต้นไม้ร่วมกันจึงต้องอาสัญต้นไม้และสภาพแปลงในการสื่อสารกัน นึกย้อนหลังบางทีก็ชวนขำเวลาทำงานที่เอ่ยถึงแต่ละจุด(หม่องฮั่นๆๆ!.. หม่องได๋หละ?.. กว่าจะสื่อสารกันรู้เรื่องก็ใช้เวลาหลายปี)

 

     แปลงเนินหมากเบ็นท้ายสวนเป็นพื้นที่มุมสูงของสวนที่ยาวตลอดมาจนถึงประตูทางเข้าสวน แปลงเนินหมากเบ็นอยู่ถัดจากแปลงโสลป-เนินสะเดา พื้นดินข้างบนเป็นดินเหนียว ลึกประมาณ20-30เซนติเมตรจะเป็นก้อนหินหรือหินแผ่นใหญ่ๆ ต้นไม้ในโซนนี้เมื่อก่อนจะมีต้นหมากเบ็น(ต้นตะขบป่ามีหนามแหลม)และต้นสะแกกรัง ต้นตะโก ต้นกระถิน โซนนี้ปลูกต้นตะขบยากมากปีนี้จะทดลองอีกรอบ(ปลูกทุกปีตายทุกปี)

 

1.ในภาพเป็นถนนเส้นที่ต่อจากแปลงโสลป.

 

2.มุมแหลมในภาพคือเนินหมากเบ็น(ถนนแนวรั้วด้านขวามือติดคลองชลประทาน ด้านซ้ายมือติดแปลงเกาะผักหวาน)

 

3.ถนนขึ้นเนินหมากเบ็นเส้นต่อจากภาพที่2

 

4.สุดถนนเส้นที่อยู่ในภาพ2,3และ4 เบื้องหน้าเป็นแนวเขตสวนที่ติดแปลงนาของชาวบ้านแต่อยู่ต่ำกว่าพื้นดินของสวนประมาณ5-10เมตร

 

5.มุมเดียวกันกับภาพที่4 มุมคิดถึงบ้าน(ท้องนา)

 

6.จุดชมวิวท้องทุ่งท้ายสวนโดยเฉพาะช่วงฤดูหนาวท้องทุ่งสีทองอากาศโปร่งลมพัดเย็น

 

7.มุมโค้งจากด้านบนแปลงเนินหมากเบ็นลงมาแปลงเกาะผักหวาน-เกาะหางนกยูง

 

8.สีเขียวๆในภาพคือกลุ่มผักหวานป่าอายุ7ปีที่ทดลองปลูกกับต้นสบู่ดำ(หมากเยา) เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับพื้นที่ๆปลูกสบู่ดำสามารถนำผักหวานมาปลูกเสริมอยู่ด้วยกันได้ ถึงจะโตช้าแต่ก็ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นในพื้นที่เดียวกัน

 

9.ในภด้านซ้ายมือของถนนเป็นแปลงเนินหมากเบ็น ด้านขวามือคือแปลงเกาะผักหวาน

 

10.จากสภาพพื้นที่และสภาพดินที่กล่าวในเบื้องต้นของแปลงเนินหมากเบ็นแม้คนปลูกก็ไม่อยากจะเชื่อว่าจะปลูกผักหวานป่าได้

 

11.ทดสอบความอดทน(ช่วงเกิดวิกฤตกับชีวิตที่ต้องหยุดพักดูแลต้นไม้ประมาณ5ปีที่แทบจะไม่ได้ดูแลรดน้ำผักหวานป่าเนินหมากเบ็นแต่ก็ยังรอดตายมาได้)


12.วันนี้ต้นไผ่ชนิดต่างที่นำมาปลูกเริ่มตั้งกอเล็กๆ(เพาะจากเมล็ด) รวมถึงต้นมะค่าโมงที่หยอดด้วยเมล็ดเริ่มสูงพ้นหัวมีร่มรำไร(5-7ปี)

 

13.ผักหวานแซมอยู่ทั้งแปลงส่วนมากสบู่ดำตายหมดเพราะทนแล้งไม่ไหว


14.วันนี้สีเขียวๆจากกอผักหวานพลอยให้คนปลูกชื่นใจ

15.ภาพจากมุมบนของแปลงเห็นต้นผักหวาน สบู่ดำ ตะโก กระถินผสมผสานอยู่ด้วยกัน

 

16.เพียงแค่เสริม-ดูแล ธรรมชาติจะช่วยจัดระเบียบในสังคมพืช-ต้นไม้กันเอง


**วันนี้นำทุกท่านชมมุมท้ายสวนหวังว่าคงพาใจได้เพลิดเพลินกับสีเขียวๆได้ไม่มากก็น้อยคราวหน้าค่อยมาชมเกาะผักหวานกันต่อนะคะ**

 

                *** ขอบพระคุณและสวัสดีค่ะ***

 

 

หมายเลขบันทึก: 485642เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2012 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
 ขอบพระคุณค่ะคุณนงนาท ขอบพระคุณค่ะท่านอ.นุ ที่กรุณาเข้ามาเยี่ยมชมและมอบดอกไม้กำลังใจค่ะ...

...ในภาพดอกเข็มป่าค่ะ..

 ขอบคุณ Mr.SAKDA  SUEABUNTHONG ที่เข้ามาเยี่ยมชมและมอบดอกไม้กำลังใจให้กัน...

สวัสดีค่ะคุณน้อย

มาเยี่ยมชมสวนค่ะ มุมที่ติดกับทุ่งนาคงมีลมพัดเย็นสบายนะคะ เพราะแทบทุกโซนมีต้นไม้เต็มไปหมด ร้อนมากไหมคะช่วงนี้ มีพระพิรุณมาโปรดบ้างหรือยังคะ?

 สวัสดีค่ะคุณปริม..ขอบคุณที่กรุณาเข้ามาเยี่ยมชมและมอบดอกไม้กำลังใจค่ะ.

...อากาศร้อนมากค่ะ(คนนึงเลือดกำเดาไหล อีกคนปวดหัวข้างเดียวผลจากความกดอากาศจากข้างบนที่ร้อนอบอ้าว) แต่ก็ยังดีที่ช่วงเย็นเมื่อวานเริ่มมีลมแรงมาไล่ความร้อนและมีฝนโปรยลงมาแม้เพียง10นาทีก็มีประโยชน์มากมายสำหรับคนและต้นไม้ค่ะ.

...ตอนนี้ดีขึ้นทั้งคนและต้นไม้ค่ะ(ในวันอากาศร้อนๆก็มีสิ่งให้เพลินใจได้จากบรรดานกทั้งหลายที่ทยอยกันมาอาบน้ำในแอ่งน้ำที่จัดไว้ให้ คนก็เลยได้มุมไว้ถ่ายภาพดูนกอาบน้ำค่ะ) ตอนนี้กำลังสร้างความคุ้นเคยกับมุมถ่ายภาพใหม่ค่ะโอกาศหน้าจะนำภาพมาฝากค่ะ

 ขอบพระคุณค่ะท่านอาจารย์ขจิต ที่กรุณาเข้ามาเยี่ยมชมและมอบดอกไม้ให้กำลังใจ...

...เพราะแปลงใหญ่ (ยาวตลอดแนวคลองชลประทานแต่อยู่ในมุมภูมิประเทศของพื้นที่"ดินมุมสูง") ดินไม่ดี ไม่มีน้ำ หน้าแล้งบางปียังมีคนหวังดีมาช่วยจุดไฟเผาป่าเล่น ใครๆก็ไม่เอาไม่อยู่(ทนไม่ไหว) จึงเหลือแค่ตายายสองคนอย่างที่เห็นค่ะ (สีทนได้...)

เพียงคำโปรย...

..."ปลูกต้นไม้บนก้อนหิน" รีบกดดอกไม้ส่งมาก่อน :)

ภาพยังโหลดไม่ทันค่ะ

ไผ่ที่เพาะจากเมล็ด!

เป็นตะงึด พอๆกับปลูกต้นไม้บนก้อนหินอีกแล้วค่ะ

...ตามไป...ชมสวน (7) กันต่อค่ะ

 

 สวัสดีค่ะพี่ตะวัน...ขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ.

...ดอกไผ่(เมล็ด)แถวอีสานบ้านเฮาเอิ้นว่า"ขีไผ่"ค่ะ บ่ต้องงึดดอกเด้ออ้าย...ปลูก"ขี"อายุยืนคงทนกว่ากิ่งตอนหรือชำเหง้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท