วัชรินทร์ เขจรวงศ์
นาย วัชรินทร์ เขจรวงศ์ วัชร์ เขจรวงศ์

ปลูกข้าวเหลื่อมฤดูหนีน้ำท่วมพันธุข้าวอายุสั้นที่ร้อยเอ็ด วันนี้ มีโอกาสพบกับนายสุนทร ทินบุตร ผู้ใหญ่บ้าน ม.3 บ้านเลขที่ 98 บ้านมะบ้า ต.บึงงาม อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด โทร.081-0524651 นำคณะลงพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง ท่ามกลางบรรยากาศที่ร้อนระอุ แสงแดดระยิบระ


ปลูกข้าวเหลื่อมฤดูหนีน้ำท่วมพันธุข้าวอายุสั้นที่ร้อยเอ็ด วันนี้ มีโอกาสพบกับนายสุนทร ทินบุตร ผู้ใหญ่บ้าน ม.3 บ้านเลขที่ 98 บ้านมะบ้า ต.บึงงาม อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด โทร.081-0524651 นำคณะลงพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง ท่ามกลางบรรยากาศที่ร้อนระอุ แสงแดดระยิบระยับ กลางเดือน 5 ของภาคอีสาน ผู้ใหญ่สุนทร เลาให้ฟังว่า “สถานที่เรายืนนี้น้ำท่วมสูงประมาณ 3-4 เมตร ท่วมปีละ 3-5 เดือน เป็นเวลา 15 ปีแล้ว ชาวนามีรายได้หลักคือการทำนา ข้าวที่นี่ให้ผลผลิตสูงมาก นาปี ข้าวเหนียว กข.6 ผลผลิตเฉลี่ย 780 ก.ก./ไร่ ข้าวหอมมะลิ 650 ก.ก./ไร่ ข้าวนาปรัง ผลิตแล้วแต่สายพันธุ์ อาทิ พันธุ์ ชัยนาท 1 กข.41 สุพรรณ35 สุพรรณ 90 ปทุมธานี อายุข้าว 110-120 วัน หรือข้าวอายุ 90 วัน ผลิต 1800-1,200 ก.ก.ต่อไร่ นายสุนทร ทินบุตร กล่าวว่า การปลูกข้าวนาปรัง ชาวนาดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ลองผิด ลองถูก ทั้งตามโครงการของรัฐบาล ปลูกข้าวบาสมาตี ชาวบ้านเรียกว่า “มัดมือตี” เพราะนักสิงเสริมการเกษตรมาส่งเสริมขอร้องแกมบังคับ ผลผลิตต่ำมาก โครงการส่งเสริมของสำนักงานเกษตรอำเภอทุ่งเขาหลวง โดยนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ปลูกข้าวนาปีน้ำท่วม ปี 2554/55 ชาวนาในบ้านมะบ้า หมู่ที่ 3 หันมาปลูกข้าวหลังน้ำลดทัน นำลดลงเตรียมดินแล้วหว่านข้าวตาม เริ่มดำเนินการวันที่ 4 ธันวาคม 2554 ทำนาแล้วเสร็จ วันที่ 14 ธันวาคม 2554 การเก็บเกี่ยวช่วงสงกรานต์ คือวันที่ 14-15-16 เมษายน 2555 การทำนาค่าไถคราด 500 บาท เมล็ดพันธุ์ 30 ก.ก. 700 บาท ปุ๋ย 1,000 บาท ยาฆ่าแมลง 300 บาท เก็บเกี่ยว 500 บาท ค่าขนส่ง อื่นๆประมาร 1,000 บาท ราคาจำนำกับรัฐบาลเท่านั้น ที่เกษตรกรจะมีกำไร 1 ไร่ ผลผลิต 1,000 ก.ก./ไร่ ราคาจำนำ 14,000 บาท หากขายโรงสีทั่วไป 7-10 บาท นายสุนทร ทินบุตร เล่าให้ฟังว่า หลังเก็บเกี่ยวข้าวชาวนาดำเนินการเตรียมดิน เพื่อหว่านข้าวนาปรัง ต่อเนื่อง ในเขตคลองชลประทาน สมาชิกเข้าร่วมโครงการ 300 ไร่ 25 ครัวเรือน ปลูกข้าว กข.51 อายุ 90 วัน เดือนพฤษภาคม –กลางเดือนสิงหาคม ข้าวอายุ 90 วัน ต้องเก็บเกี่ยวให้เสร็จสิ้นก่อนเดือนสิงหาคม เพราะจากสถิติรอบ 10 ปี น้ำท่วมสูงในกลางเดือนสิงหาคม-เดือนกันยายน ตลอดไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี ช่วงนี้ชาวนาจะหยุดการทำนา ถามว่ามีความเสี่ยงหรือไม่ คำตอบของชาวนาคือ การลดระยะเวลาการทำนาโดยใช้ข้าวนาปรัง คือข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ออกดอกออกผลตามอายุ ไม่เหมือนข้าวนาปีที่ไวต่อช่วงแสง “ออกดอกในหน้าหนาวช่วงแสงสั้น” ความจำเป็นคือต้องปลุกข้าวในเขตชลประทาน หรือเขตสูบน้ำด้วยไฟฟ้า เท่านั้น และต้องติดกับถนน การคมนาคมสะดวก เพราะต้องอาศัยรถเกี่ยวนวดเข้าถึง จะเสี่ยงมากหรือน้อย ชาวนาต้องทำนา จะไม่รอขอความช่วยเหลือจากคนอื่น “ชาวนาไม่งอมืองอเท้าไม่ยืมจมูกคนอื่นหายใจ” นายสุนทร ทินบุตร กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีแรกที่ชาวนาบ้านมะบ้า ดำเนินการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาในการทำนา “หยุดการปลูกข้าวนาปี หันมาปลูกข้าวนาปรังเหลื่อมฤดูกาล” ความต้องการของชาวนา คือ คลองชลประทานเพิ่มขึ้น หรือภาครัฐให้การสนับสนุนน้ำระบบท่อ จะดีที่สุด ทำเป็นโครงการขาดเล็ก 1-2 หมู่บ้าน งบประมาณ 3-5 ล้านบาท โดยประชาชนมีส่วนร่วม โครงการน้ำระบบท่อสำเร็จไปนานแล้ว ไม่ต้องเพ้อฝันมาหลายรัฐบาล ตำบลบึงงาม 13 หมู่บ้านพื้นที่กว่า 25,000 ไร่ น้ำท่วม 100% ชาวบ้านเดือดร้อนมานานกว่า 15 ปี นายสุนทร กล่าวอีกว่า วันนี้ภาคการเกษตร ชาวนาบ้านมะบ้า ดำเนินการทดสอบ แบบลองถูกลองผิด หากหน่วยงานใดสนใจร่วมโครงการขอเรียนเชิญครับ หากไม้เข้ามาร่วม จะเป็นการลอกงานวิชาการชาวนา ว่าแล้วนายสุนทรหัวเราะเสียงดังตามรูปแบบชาวนาผู้ใจดี **********วัชรินทร์ เขจรวงศ์/รายงานโทร.085-7567108

 

 

คำสำคัญ (Tags): #สิงขร
หมายเลขบันทึก: 485439เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2012 12:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท