ดมยาสลบผู้ป่วย "ครรภ์เป็นพิษ"


"ครรภ์เป็นพิษ" เป็นคำเรียกของกลุ่มอาการซึ่งประกอบด้วยภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (Pregnancy Induced Hypertension หรือ Pre-eclampsia) และตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์

เรื่องเล่า..

หญิงตั้งครรภ์ มาด้วยเจ็บครรภ์คลอด ขาบวม กดบุ๋ม อายุครรภ์ 38 สัปดาห์ ความดันโลหิตขึ้นสูง >190/110 mmHg.ไม่ปวดศีรษะ ไม่มีตาพร่ามัว ตรวจภายในพบปากมดลูกเริ่มเปิด 1 cms. ความบาง 50% แพทย์สั่งยา Drip MgSO4 ยาป้องกันการชัก (โรคแทรกซ้อนที่สำคัญของภาวะนี้คือ ผู้ป่วยชักจากความดันโลหิตขึ้นสูง) และวางแผนยุติการตั้งครรภ์โดยการผ่าครรภ์คลอด

แพทย์ Set ผ่าตัด วิสัญญีพยาบาลเข้าเยี่ยมประเมินผู้ป่วยก่อนดมยาสลบ

วิสัญญีพยาบาล : ประสานขอให้แพทย์ช่วยให้ยาลดความดันโลหิตให้เหลือ ≤160/90 mmHg.ก่อนเริ่มดมยาสลบ

แพทย์ : กลัวทำไม พอทำคลอดเด็กออกมา ความดันโลหิตก็จะลดลงเอง

วิสัญญีพยาบาล : แต่การใส่ท่อช่วยหายใจ จะทำให้ความดันโลหิตขึ้นสูงจาก Stress Response ถ้าความดันสูงมากๆ อาจส่งผลให้เส้นเลือดในสมองแตกได้ (กลัวประเด็นนี้ค่ะ)   

แพทย์ : ไม่ต้องกลัวหรอก เด็กออก ความดันลดลงแน่นอน

วิสัญญีพยาบาล : งั้นจะขออนุญาต Consult วิสัญญีแพทย์ที่รพ.มหาราช นม. ก่อนนะคะ (สูติแพทย์ OK) เราจึงโทรศัพท์ Consult วิสัญญีแพทย์ๆบอกว่าก่อนดมยาสลบต้องให้ BP≤160/90 mmHg.โดยให้ยา Nicardipine (ยาลดคามดันโลหิต) 0.5 mg. IV ทุก 15 นาที จนกว่าความดันจะลด และหยุดให้ยา MgSO4 ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 30 นาที (เพราะยาตัวนี้จะเสริมฤทธื์ยาหย่อนกล้ามเนื้อ ทำให้ยาหย่อนกล้ามเนื้อออกฤทธิ์นาน) แต่ถ้าให้ยาแล้วความดันไม่ลด ควรส่งต่อมารักษาที่มหาราช (เพราะเสี่ยงเกินไปที่จะผ่าตัดที่สูงเนิน)

วิสัญญีพยาบาล : แจ้งแพทย์ผ่าตัดรับทราบ แพทย์จึงสั่งให้ยา Nicardipine ตามที่ได้รับ Consult มา

หลังจากให้ยาลดความดันโลหิต 3 ครั้ง ความดันก็ลดลง

จึงส่งผู้ป่วยมาห้องผ่าตัด


วิสัญญีพยาบาลเลือกไม่ใช้ยาที่มีผลทำให้ความดันโลหิตสูง และใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อที่ออกฤทธิ์สั้น สามารถสลายตัวเองได้ และให้ขนาดน้อยๆที่สามารถหย่อนกล้ามเนื้อเพื่อทำผ่าตัดได้

ไม่น่าเชื่อว่า.. ยาสำหรับใส่ท่อช่วยหายใจ (Succinylcholine) ซึ่งปกติออกฤทธิ์ 5 นาทีกลับนานถึง 35 นาที เลือกใช้ Atracurium 10 mg.(ขนาดปกติ 0.5 mg./kg.) สามารถทำผ่าตัดเสร็จได้ (ผ่าตัดใช้เวลาทั้งสิ้น 55 นาที) หลังดมยาสลบผู้ป่วยสามารถกลับมาหายใจเองได้ ตื่นดี ไม่มีภาวะแทรกซ้อนปลอดภัยทั้งแม่และลูก หลังจากพักฟื้นที่ห้องผ่าตัดเราส่งผู้ป่วยกลับตึก และเริ่ม Drip MgSO4 ต่อจนครบ 24 ชม.ผู้ป่วยนอนรพ.รวม 5 วันจำหน่ายกลับบ้าน นัดตรวจหลังคลอดและประเมินเรื่องความดันโลหิตสูง.. (บางคนเป็นความดันโลหิตสูงเฉพาะเมื่อตั้งครรภ์ บางคนกลายเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงต้องรับยาต่อเนื่องตลอด)

(เราจะไม่รับ Set case ถ้าความดันโลหิตไม่ลด หน้าแข้งบวมกดบุ๋ม เปลือกตาบวม ปวดศีรษะมาก ตาพร่า จุกแน่นใต้ชายโครงขวาหรือลิ้นปี่ หายใจไม่สะดวก และจะขอให้แพทย์ส่งต่อไปที่รพ.มหาราช นม.ทันที)


ต้องขอขอบคุณสูติแพทย์รพ.สูงเนิน..

ที่ยอมรับการขอ Consult วิสัญญีแพทย์ที่รพ.มหาราช นม.

และให้ความร่วมมือทำตามที่วิสัญญีแพทย์เสนอแนะมา

ทำให้เราวิสัญญีพยาบาลสามารถ ให้บริการดมยาสลบแก่ผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย

เราจึงนำประเด็นนี้มาทำเป็น

มาตรการ "การให้ยาระงับความรู้สึกผู้ป่วยครรภ์เป็นพิษ" ของรพ.สูงเนิน


หมายเลขบันทึก: 485175เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2012 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ชลัญธร ล่ะกลัวที่สุดเลยแหล่ะ สูติฯ ตอนเรียนเป็นวิชาที่ได้คะแนนสูงตลอด แต่ทำงานขอห่างไกล ไม่ชอบเลย มันเป็นอะไรที่วิกฤตมากในคนท้อง

การ Consult แพทย์เฉพาะทาง เป็นวิธีที่ดีที่สุด กรณีที่เรามีข้อสงสัย - หรือไม่แน่ใจ เพราะจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการทำงานมากขึ้น ที่สำคัญคือเพื่อความปลอดภัย ในการดูแลผู้ป่วยค่ะ ขอบคุณแทนผู้ป่วยด้วยค่ะ

"น้องชลัญธร" พี่เห็นจนท.ห้องคลอด ทำงานมีความสุขมากเลยนะคะ ถึงเป็นงานที่วิกฤติ แต่เมื่อผ่านช่วงเวลานั้นไป.. ทารกตัวน้อยๆน่ารัก จะทำให้เรายิ้มได้

แต่จะว่าไป.. พี่ก็ไม่ชอบค่ะ เสียงร้องด้วยความเจ็บปวดตอนเบ่งคลอด.. ก็เลยมาเป็นพยาบาลดมยาสลบไงคะ.. ทำงานกับคนที่หลับอย่างเดียว สบายใจกว่าเยอะ

ขอบคุณนะคะ

 

คุณ "นพกร" เรามีพี่เลี้ยงเป็นรพ.ที่ใหญ่กว่าค่ะ

ถ้ามีปัญหา-ข้อสงสัย เราจะโทรศัพท์สายตรงเข้าห้องผ่าตัดที่ รพ.มหาราช เพราะจะมีแพทย์ Stand by ตลอดเวลา บางครั้งวิสัญญีแพทย์บอกให้เราส่งต่อ ไม่ควรดมยาสลบค่ะ

ระบบ Consult ช่วยให้เรารู้สึกสบายใจในการทำงานมากค่ะ

 

ขอชื่นชมค่ะ..เป็นแบบอย่างของการทำงานที่ดีมีประสิทธิผลเชิงประจักษ์อย่างแท้จริง

ขอบคุณค่ะ "พี่ใหญ่"

โชคดีที่คุณหมอ ที่รพ.ยอมรับฟัง

โชคดีที่มีรพ.ใหญ่ เป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำ


 

  • สวัสดีครับ
  • ตั้งใจมาแวะเยี่ยม
  • ขอบคุณที่นำความรู้ที่ดีๆมาแบ่งปัน

สวัสดีค่ะคุณ "Emerald green"

ขอบคุณจริงๆค่ะที่ตั้งใจแวะมา

 

ไม่เคยรู้เรื่องแบบนี้มาก่อนเลยค่ะ ความดันสูงนี่น่ากลัวจริงๆ งั้นวิสัญญีพยาบาลก็เสี่ยงมากเลยนะคะ ไม่มีวิสัญญีแพทย์คอยดูแล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท