"ภาวนา" ก่อนเที่ยวเทศกาลมหาสงกรานต์ ๒๕๕๕


          ผมสังเกตุกายและใจตนเองมาหลายครั้งแล้วว่า ถ้าเดินทางกลัีบบ้านเกิดคราใด "สัญญา" หรือ ความจำได้หมายรู้จะผลุดขึ้นมาในจิตใจมากเป็นพิเศษ จะตั้งรับด้วยธรรมบทใดดีหนอ ? อีกทั้งเพื่อนเก่า ๆ ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่า ผมกำลังฝึก "ถือศีล ๕" อยู่ นั่นรวมไปถึงการไม่ซื้อสุราให้คนอื่นด้วย จะสื่อสารกับคนเมาอย่างไรดีหนอ ?

          ด้วยเหตุปัจจัยข้างต้น ก่อนจะออกเดินทางเข้าสู่การท่องเที่ยวในเทศกาลมหาสงกรานต์ ๒๕๕๕ นี้ ผมน่าจะเตรียมความพร้อมด้วยการ เีขียนบันทึก ภาวนา ทบทวนธรรมก่อนออกเดินทางครับ

 

  • ให้อภัย ให้ความรัก ให้ความเมตตา ทั้งต่อตนเองและผู้อื่นให้มาก ๆ

 

  • จิตเดิมแท้เป็นพุทธะอยู่แล้ว แต่ถูกเมฆหมอกแห่งความคิดปรุงแต่งบดบังเอาไว้
  • เว้นจากความคิดปรุงแต่ง เว้นจากการแสวงหา ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น

 

ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะความแสวงหาเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้ก็คือพุทธะนั่นเอง

 

 

ถ้าหากพวกเธอเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเอง ออกมาเสียจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเธอจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง

 

 

ทาง ทางโน้น มุ่งทำความก้าวหน้าโดยสัญญาต่าง ๆ ของเธอ โดยการดู การฟัง ความรู้สึก และนึกคิดอยู่ เมื่อถูกหลอกโดยสัญญาต่าง ๆ ของเธอเสียแล้ว ทางที่เธอจะเดินตรงไปยังจิตโน้น ก็จะถูกตัดขาดออก และเธอก็จะหาทางเข้าไ่ม่พบ

 

จิตไม่ใช่สิ่งอื่นซึ่งอาจนำเอาไปแสวงหาสิ่งอื่น นอกจากจิต เพราะถ้าทำัดังนั้นแม้เวลาล่วงไปแล้วเป็นล้าน ๆ กัป วันแห่งความสำเร็จก็ยังไม่โผล่มาให้เห็นอยู่นั่นเอง การทำตามวิธีนั้นไม่สามารถจะนำมาเปรียบเทียบกันได้กับวิธีแห่งการขจัดความ คิดปรุงแต่งโดยฉับพลัน ซึ่งนั่นแหละ คือ ธรรมอันเป็นหลักมูลฐาน

 

 

มันต้องทำการป้องกันไม่ให้ความคิดปรุงแต่งเกิดขึ้นมาให้ได้เท่านั้น ที่พวกเธอจะรู้แจ้งเห็นจริงต่อโพธิ และเมื่อเธอทำได้ดังนั้น เธอก็จะเห็นแจ้งต่อพุทธะซึ่งมีอยู่ในจิตของเธอตลอดเวลาได้จริง

 

 

ถ้าพวกเธอซึ่งเป็นนักศึกษาเรื่องทางโน้น ปราถนาที่จะเป็นพุทธะ พวกเธอต้องไม่ศึกษาคำสอนใด ๆ ทั้งหมด จงเรียนแต่เพียงว่าทำอย่างไรจึงจะเว้นขาดจากการแสวงหา ข้อนี้ ความหมายว่า จิตไม่เกิดไม่มีการยึดมั่นถือมั่นอยู่และไม่ถูกทำลายนั่นแหละคือ พุทธะ

 

 

 

  • อจิต อกรรม เป็นผู้ดู อย่าเข้าไปเป็นอะไรกับใคร
  • อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

สภาวธรรมแห่งวัฏสงสารนั้นไร้แก่นสาร
ก่อให้เกิดความปรารถนาและความขุ่นข้อง
สรรพสิ่งที่เราปั้นแต่งล้วนปราศจากความจีรัง
ด้วยเหตุนี้ จึงควรแสวงหาสัจธรรมอันล้ำค่า
สภาวธรรมของจิตนั้นไม่อาจเห็นค่าความหมายของอจิตได้
สภาวธรรมแห่งกรรมย่อมไม่อาจประจักษ์ในอกรรมได้

 

หากเจ้าต้องการจะบรรลุถึงอจิตและอกรรม
เจ้าย่อมตัดขาดรากเหง้าแห่งจิต
และปล่อยให้ดวงวิญญาณดำรงอยู่อย่างเปล่าเปลือย
จะปล่อยให้น้ำอันขุ่นข้นแห่งเจตสิกใสกระจ่าง
ไม่จำเป็นต้องระงับยับยั้งความรู้สึกนึกคิด
แต่ปล่อยให้มันสงบลงตามกาล
หากไร้ซึ่งการดึงดูดหรือผลักไส
เจ้าจะหลุดพ้นในมหามุทรา

เมื่อพฤกษาผลิใบและกิ่งก้าน
หากเจ้าบั่นรากมันเสีย ใบและกิ่งก้านย่อมร่วงโรยลง
เช่นเดียวกัน หากเจ้าตัดรากถอนโคนของจิต
ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายย่อมเสื่อมทรามลง

 

  • สิ่งปรุงแต่งทั้งปวง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไปเป็นธรรมดา

  • งานนี้ควรประครองจิตด้วยการบริกรรม หายใจเข้า "พุทธ" หายใจออก "โธ" ทุกลมหายใจ 

 

  • งัดเอา มรณานุสติ ออกมาช่วยให้บ่อย ๆ

 

 

หมายเลขบันทึก: 484976เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2012 14:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 13:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กราบสวัสดีปีใหม่ครับ ขอคุณพระคุ้มครองท่านและครอบครัว ให้มีความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท