ข้อแตกต่างระหว่างปูน(lime)และหินแร่ภูเขาไฟ (Zeolite)


ข้อจำกัดของกลุ่มวัสดุปูนต่างๆ เหล่านี้ที่แตกต่างจากหินแร่ภูเขาไฟคือ ไม่มีแร่ธาตุซิลิก้า (sio2) ที่ละลายน้ำได้

 

ถ้าพูดถึงสารปรับปรุงดินที่อยู่ในกลุ่มของวัสดุปูน ในบ้านเราก็มีอยู่ค่อนข้างมาก ทั้งปูนเปลือกหอย หินปูนบด แคลเซียม ปูนมาร์ล ปูนเผา ปูนขาว โดโลไมท์ หินฟอสเฟต ยิปซั่ม ดินเบา ดินขาว ฯลฯ ซึ่งล้วนมีประโยชน์ในการนำไปปรับแก้ดินเปรี้ยว ดินด่าง และดินเค็ม ตามแต่ละคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวของปูนแต่ละชนิดซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกันไป โดยองค์ประกอบส่วนใหญ่ที่ได้จากปูนต่าง ๆ เหล่านี้คือ แคลเซียม ซึ่งมีคุณสมบัติที่เป็นด่าง เหมาะต่อการนำไปใช้แก้ไขปรับปรุงดินเปรี้ยว ดินกรด ดินตะกอนปากแม่น้ำ ที่องค์ประกอบของแร่ไพไรท์สะสมอยู่ค่อนข้างมาก
 
ส่วนหินปูนธรรมชาติจำพวกฟอสเฟตและโดโลไมท์ สองตัวนี้จะได้แร่ธาตุที่เป็นธาตุอาหารหลัก (ฟอสเฟต ช่วยกระตุ้นและสร้างราก) และธาตุอาหารรอง (แมกนีเซียม ช่วยเพิ่มคลอโรฟิลด์ สังเคราะห์แสง) ตามลำดับในราคาประหยัด แต่การนำไปใช้จะต้องคำนึงเรื่องความเป็นกรดด่างของดินเสียก่อน มิฉะนั้นเพียงหวังจะได้ฟอสฟอรัสและแมกนีเซียมราคาถูกแต่กลับได้ด่างมาซ้ำเติมดินตามมาด้วย ที่ถูกต้องควรจะต้องทำการตรวจวัดกรดด่างของดินเสียก่อนที่จะมีการเติมกลุ่มวัสดุปูนลงไป เพราะผลของการใส่กลุ่มวัสดุปูนมากจะส่งผลให้ดินกลายเป็นด่าง และก็จะต้องเสียเวลามาแก้ดินด่างกันต่ออีกทำให้เสียเวลาในการทำมาหากินและแก้ไขได้ค่อนข้างยากกว่าดินที่เป็นกรด
 
แต่ข้อจำกัดของกลุ่มวัสดุปูนต่างๆ เหล่านี้ที่แตกต่างจากหินแร่ภูเขาไฟคือ ไม่มีแร่ธาตุซิลิก้า (sio2) ที่ละลายน้ำได้ หรือแตกตัวเป็นซิลิสิค แอซิด (H4SIO4) หรือโมโนซิลิสิค แอซิด [Si(OH)4] ที่ช่วยทำให้ผนังเซลล์พืชแข็งแรง ต้านทานต่อเพลี้ย หนอน แมลง รา ไร ลดความเสียหายของการเข้าทำลาย ประหยัดต้นทุนในการฉีดพ่นปุ๋ยยา อีกทั้งหินแร่ภูเขาไฟ(ภูไมท์, สเม็คไทต์, ไคลน็อตติโลไลท์, พูมิช, พูมิชซัลเฟอร์, สเม็คโตไทต์, ซีโอฟาร์ม, ม้อนท์โมริลโลไนท์, โมเด็นไนท์ ฯลฯ) ยังมีค่าความสามารถในการจับตรึงและแลกเปลี่ยนประจุบวกหรือที่เราเรียกกันง่ายๆว่าค่า ซี.อี.ซี. (C.E.C. = Catch Ion  Exchange Capacity) ช่วยในเรื่องของจับตรึงปุ๋ยให้อยู่ในรูปของปุ๋ยละลายช้า ช่วยจับตรึงสารพิษในดินที่ตกค้างจากยาคุมฆ่าหญ้า ยาฆ่าหนอนและแมลงที่ได้มีการใช้มาอย่างยาวนาน นอกจากมีคุณสมบัติเด่นๆในเรื่องดังกล่าวแล้วหินแร่ภูเขาไฟยังมีกลุ่มของจุลธาตุต่างๆอีกมากมายทั้งเหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมลิบดินั่ม นิกเกิ้ล ฯลฯที่เป็นองค์ประกอบเติมเต็มอยู่ในดินพร้อมช่วยให้พืชมีการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ โดยที่เมื่อใช้ในระยะยาวก็จะไม่สะสมความเป็นด่างเพิ่มขึ้นเหมือนกลุ่มวัสดุปูน ประเทศที่มีหินแร่ภูเขาไฟอย่าง ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บาหลี คาซัคสถาน เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้จึงปลูกพืชผักได้งามอย่างยั่งยืนโดยที่แทบจะไม่ต้องใส่ปุ๋ยได้เลย
 
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
 
หมายเลขบันทึก: 484934เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2012 06:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท