445. 700 หน้าใน 20 นาที..รู้เรื่องด้วย. (Reflection. ตอนที่7)


ว่าด้วยการพัฒนาแนวคิด Appreciative Inquiry ด้วย Kolb's Experiential Learning:::

1. ผมว่าคนเราต่อให้รักการอ่านเพียงใด..บางทีการอ่านก็เป็นยาขม..ขนาดขยันแล้วยังอ่านไม่รู้เรื่อง..ผมเองสอนนักศึกษามานาน..ให้หนังสือไปก็ไม่อ่าน..หวังจะให้อ่านประกอบ...มีหนึ่งในพันครับ...หรือ เราต้องทำอะไรเพิ่มนะ..

 

2.ผมเองศึกษาศาสตร์ Appreciative Inquiry (AI) มาราวๆ 6-7 ปีแล้ว...ทำมาพอสมควร..และก็พบว่าศาสตร์นี้ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ...AI ว่าเป็นกระบวนการค้นหาสิ่งดีๆ ร่วมกัน โดยมีสมมติฐานว่าทุกระบบ ทุกคนมีเรื่องดีๆ ซ่อนเร้นอยู่เสมอ คนที่สนใจ AI โดยมิได้นัดหมาย เริ่มเอา AI ไปค้นหาเรื่องดีๆ..ในศาสตร์ต่างๆ..จนเกิดเป็นศาสตร์ใหม่ๆ หนึ่งในนั้นคือ Appreciative Evaluation (AE)..ซึ่งมองว่าการประเมินเชิงปริมาณนั้นดี แต่หากต้องการความลึก ควรผสมการประเมินแบบคุณภาพไปด้วย...แต่หากต้องการคุณภาพแบบลึกๆ..แล้วให้คำตอบในตัวก็อาจผสม AI หรือการตั้งคำถามดีๆเข้าไป...

 

การประเมินแบบ AE ใช้การตั้งคำถามแบบง่ายๆ สามคำถาม..ประสบการณ์ที่ดีที่สุดของคุณในเรื่องนั้นคืออะไร..ในเรื่องนี้คุณให้ความสำคัญกับอะไรที่สุด...สุดท้าย..คุณคิดว่าเราต้องทำอะไรมากขึ้นอีกนิดจึงจะทำให้คุณได้ประสบการณ์ที่ดีมากขึ้น...ผมทดลองแล้วดีมากๆครับ...

3. รู้สึกว่าการประเมินแบบนี้ีดี เป็นไปได้ไหม..จะอ่านแบบประเมิน..บ้าง เพราะเท่าที่ผมใช้ AE มาทำให้คนเราได้แง่มุมใหม่ๆกับสถานการณ์ต่างๆ..การอ่านก็เป็นปรากฏการณ์หนึ่ง...ผมลองผสม AE เข้ากับการอ่านเลยเป็น Appreciative Review 

4. ผมทดลองครับ..โดยใช้เพียงคำถามเดียวของ AE ดัดแปลงหน่อย..เป็น "สิ่งที่คุณชอบที่สุดเกี่ยวกับเรื่องนี้คืออะไร"....ครั้งแรกที่ทำคือ..ในการสอนครั้งหนึ่งเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมธุรกิจ..ผมแจกหนังสือประกอบ..เรื่อง The World Is Flat ใครว่าโลกกลม...หนาราวๆ 700 หน้าครับ...มีนักศึกษา เรียนกับผมราว 70 คน..ผมแบ่งให้แต่ละคนรับผิดชองคนละ 10 หน้า..เช่นคนที่หนึ่งให้อ่านหน้า 1-10 คนที่สองอ่านหน้า 11-20...ไปเรื่อยๆครับ..แล้วผมก็บอกให้เขาใช่เวลาคนละ 20 นาทีอ่านส่วนที่ตัวเองรับผิดชอบ...เสร็จแล้วก็บอกให้เขาค้นหา "ประโยค" "ข้อมูล" หรือ "วลี" ที่ตัวเองชอบไม่เกินสองจุด..จากนั้นผมก็ให้ทุกคนเล่า "จุดที่ตัวเองชอบ" ให้เพื่อนฟังที่ละคน...

 

เกิดเหตุการณ์ประหลาดครับ...มันเชื่อมกันได้เอง..วันนั้นวันเดียว..แทบทุกคนบอกว่าปะติดปะต่อเรื่องราวในภาพรวมได้หมด ถึงแม้จะไม่ได้อ่านเอง..ได้สาระสำคัญหมดครับ...ในห้องเรียนตื่นเต้นกันมาก...

นั่นเป็นครั้งแรกครับ..ต่อมาผมก็จะใช้เทคนิคนี้ ไปสอนคนทำวิจัยทั้งป.โท ป.เอกครับ..เวลาอ่านทบทวนวรรณกรรม...ได้ผลกว่าครับ..สนุกแล้วจับจุดได้ตรงด้วย...

หมายเลขบันทึก: 484387เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2012 06:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 16:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
อิทธิภัทร์ ภัทรเมฆานนท์

ยินดีที่ได้รู้จักและได้รับการแบ่งปันครับ ได้พูดคุยกับอัลมอนด์ จากABC Club ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์ที่ชื่นชอบ AI และ พูดกล่าวชื่นชมท่านอาจารย์เป็นยิ่งนัก ครับ น่าภูมิใจที่มีลูกศิษย์คิดบวกและเป็นคนรุ่นใหม่ที่อ่อนน้อมถ่อมตนแต่มากด้วยความสามารถและมุ่งมั่นนะครับ

ผมเคยใช้ AI ทำ Facilitation กับงานขององค์กรอินเตอร์อย่าง สำนักงานต่างๆภายใต้ UN ครับ สนุกมากโดยเฉพาะตอนทำ World Cafe' หลังๆก็เอามาประยุกต์ทำกับงานCluster ตอนเป็น CDA ที่ต้องทำ Public Hering บ้าง ทำ Gruop Project ให้ชาวบ้านในชุมชนต่างจังหวัดครับ เราเรียกชื่อ กลุ่มคนเก่ง ดูว่าใครเก่งอะไรในชุมชน นำเอาเรื่อง LO แนว Peter Senge มาประยุกค์ใช้ ได้ประโยชน์มากครับ

จากเรื่องราวที่อาจารย์แชร์ ด้านบน เห็นเป็นจริงเช่นนั้นครับ ผมเคยทำ Reading Group ในส่วนหนึ่งของ workshop ตอนทำ 7 Habits แบบKnowledge Sharing (Caring and Sharing) ภายในกลุ่มชมรมคนรักการอ่านและพัฒนาตนเอง ที่เพื่อนๆดึงๆกันเข้ามา สามารถอ่านหนังสือร่วมกันจบภายในสองวัน พร้อมกับให้เขา Create วิธีการนำเสนอสะท้อนมุมมองจากเนื้อหาหนังสือ เวิร์คมากครับ เมื่อวานเพิ่งทำกับ ระดับ GM ของ ธุรกิจ Retail ยักษ์ใหญ่ โดยเอา หนังสือ ต้องเป็นที่หนึ่งให้ได้ ของคุณบัณฑิต อึ้งรังสี สอน Competency เรื่อง Achievement Orientation เชื่อมั๊ยครับ 25 ท่าน ให้เลือกอ่านเอาเองคนละบท มีเลือกซำ้ ไม่กี่ท่าน เมื่อแชร์กัน เหมือนอย่างที่อาจารย์บอกนะครับ ไม่เกิน20นาที การแชร์หนังสือเกือบครบเล่ม และมันเกิดแรงมันดาลใจด้านบวกและเกิดกำลังใจที่จะอ่านต่อทั้งเล่ม ให้หนังสือเล่มนี้ไปดูเขาประทับใจมากกว่าปกติครับ ที่สำคัญการเลือกหัวข้อบทก็แสดงถึง Value (ซึ่งบ่งบอกถึงสิ่งดีงาม) หรือความสำคัญต่อเรื่อวหนึ่งเรื่องใดที่ GM แต่ละท่านยึดถือหรือมีอยู่เป็นสำคัญครับ

ผมได้แนะนำนะครับว่า ถ้าจะสร้างวัฒนธรรมอะไรสักอย่าง ตัวหนังสือดีๆ ที่เลือกเป็น BOM (Book Of The Month) ที่พนักงานถูกโปรโมทเลือกแล้วว่าเหมาะกับการพูดเรื่องราวทัศนคติความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ถ้าคนในกลุ่มได้อ่านพร้อมๆกันมีการแชร์หนังสือกัน จะได้แนวคิดร่วมที่ เวลาเข้าไปโค้ชแล้วเหมือนเพียงมา เป็น Facilitator ที่มาช่วย unpack เนื้อหาContents แล้วเราเอาแค่ Context เข้ามาจับ การทำGroup Coaching รวดเร็วมากครับ

ถ้ามีโอกาส คงได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับอาจารย์อย่างเต็มที่บ้างนะครับ

ขอบคุณครับ

อิทธิภัทร์

สวัสดีครับอาจารย์อิทธิภัทร์

ดีใจมากๆ ครับ ที่ได้รู้ว่าอาจารย์ทำ AI มาก่อน..ครับ..ดูผมจะได้ใช้ AI ในหลายๆ สถานการณ์คล้ายๆอาจารย์ครับ..CDA ด้วยครับ..

เห็นชัดว่า..AI ไม่ว่าใครทำ..แต่กลีบเกิดปรากฏการณ์ดีๆ คล้ายๆกัน...

ผมชอบแนวคิดอาจารย์ตรง BOM ครับ..ผมว่าน่าจะเปิดโอกาสให้สังคมเราก้าวหนาได้เลยครับ..เพราะจะยกระดับความรู้ ความหวังของคนในสังคมได้ดีทีเดียว...

ดีใจครับ..และอยากมีโอกาได้เรียนรู้จากอาจารย์นะครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูงครับ ภิญโญ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท