ทักษิณ โต้วาที กับอภิสิทธิ์ (ปรองดอง ๒)


พอโต้วาทีเสร็จ ก็ให้ยุบสภา เลือกตั้งใหม่ โดยต้องมีหลักประกันด้วยว่า ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นผู้ที่สนใจเรื่องการเมือง

 

 

สังคมไทยวันนี้ได้ลงทุนเวลาและอารมณ์  เลือดเนื้อชีวิต เพื่อสร้างความแตกแยกกันไปมากแล้ว ผมไม่อยากเห็น ”การปรองดอง” แบบชุ่ยๆ ขอไปที แต่อยากให้ประเทศชาติได้อะไรมากกว่านี้ โดยเฉพาะ “ความรู้”

 

ผมอยากให้ออกกฎหมาย คุ้มครองชั่วคราว ให้ทักษิณกลับมาเมืองไทยได้อย่าง เท่ๆ ... แล้วกำหนดว่าเขาต้องมาออกรายการโทรทัศน์ โต้วาทีกับแกนนำพรรคฝ่ายค้าน (อาจเป็นอภิสิทธิ์)  โดยกระจายออกในช่วง 1900-2000 น. โดยโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ ทุกวันเว้นวัน  เป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม  

 

การทำเช่นนี้จะทำให้คนไทยได้เรียนรู้จากสองด้าน จะฉลาดขึ้น เป็นความรู้สะสมในการทำให้ชาติเจริญต่อไป

 

พอโต้วาทีเสร็จ ก็ให้ยุบสภา เลือกตั้งใหม่  โดยต้องมีหลักประกันด้วยว่า ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นผู้ที่สนใจเรื่องการเมือง  ทั้งนี้โดยการ “สอบวัดความรู้”   การวัดความรู้นี้ไม่ได้ชี้ว่าใครถูกใครผิดในการโต้วาที  เพียงแต่วัดว่าได้ติดตามดูรายการมาโดยตลอดหรือไม่เท่านั้นเอง   (ซึ่งแสดงว่า เป็นผู้สนใจการเมือง มีสิทธิออกเสียงได้  คนสอบตกหมดสิทธิ์ออกเสียง เพราะถ้าให้ออกเสียงก็จะเป็นเสียงนกเสียงกาที่ไม่มีความรู้อะไรในเรื่องปรองดอง)

 

ถ้าพรรคเพื่อไทยชนะ  ก็ให้สามารถออก พรบ. “ปรองดอง” ตามใจปราถนา ได้ (แต่ก็ต้องผ่านสภาอยู่ดีนะ)   แต่ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ชนะก็สุดแล้วแต่ทางพรรคจะกำหนดแนวทางปรองดอง

 

แบบนี้นอกจากจะปรองดอง แล้ว ยังได้  “ความรู้” อีกด้วย  ไม่ใช่ปรองดองกันแบบโง่ๆ ทั้งที่ลงทุนสร้างความแตกแยกกันไว้มาก

 

...คนถางทาง (๒๗ มีนาคม ๒๕๕๕)

หมายเลขบันทึก: 483351เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2012 07:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ชอบข้อความนำที่ว่า "สังคมไทยวันนี้ได้ลงทุนเวลาและอารมณ์  เลือดเนื้อชีวิต เพื่อสร้างความแตกแยกกันไปมากแล้ว..."
  • ชอบแนวคิดในบันทึกนี้มากเลยค่ะ ตรงใจมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้สิทธิ์ออกเสียงในเรื่องต่างๆ ที่ดิฉันเคยพูดกับนักศึกษามาตลอดว่า เสียงส่วนใหญ่จะใช้ได้ผลดีเฉพาะในกรณีที่ผู้ใช้สิทธิ์ออกเสียงมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ตนจะใช้สิทธิ์ออกเสียง ถ้าให้ผู้ที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจมาใช้สิทธิ์ เสียงส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกมากลากกันไปลงเหวตกนรกกันหมด
  • และชอบข้อความลงท้ายที่ว่า "แบบนี้นอกจากจะปรองดอง แล้ว ยังได้  “ความรู้” อีกด้วย  ไม่ใช่ปรองดองกันแบบโง่ๆ ทั้งที่ลงทุนสร้างความแตกแยกกันไว้มาก"
  • ไม่ทราบว่า ผู้ที่มีอำนาจที่สามารถทำให้แนวคิดของ "คุณคนถางทาง" นำไปสู่การปฏิบัติจริงได้ จะเข้ามาอ่านบันทึกนี้ไหม และอ่านแล้วจะเห็นด้วยไหม ยอมรับว่า เหนื่อยใจกับอดีต ปัจจุบัน และอนาคตการเมืองไทยจริงๆ ดิฉันมองว่า "ลักษณะการเมืองของไทย เป็นอุปสรรคมากที่สุดต่อการพัฒนาประเทศ"
  • ขอบคุณมากค่ะที่เสนอแนวคิดดีๆ เพื่อบ้านเมือง ให้ได้อ่านในเช้าวันนี้

หากพุทธธรรมนายเป็นความจริงก็ใกล้เข้าทุกที

เป็นเรื่องยากที่จะให้คนมาลงคะแนนเลือกตั้งได้อย่างยุติธรรม การปรองดองต้องใช้เวลาอีกหลายปี เพราะคนส่วนใหญ่ยังไม่สนใจการเมืองเลย มีแต่สีใครสีมัน ช่องใครช่องมัน เสียงส่วนใหญ่ยังไม่เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองเลย แล้วอย่างนี้บ้านเมืองเราถึงล้าหลัง มีแต่ทะเลาะกัน ไม่ฟังกันเลย ดูได้จากในสภาฯ เป็นตัวอย่างไม่ดีแก่เด็กๆ เยาวชน เห็นแล้วเบื่อนักการเมืองที่ด้อยคุณภาพ มีแต่เงิน อย่างอื่นไม่ต้องพูดถึง การเมืองจะก้าวหน้าได้ นักการเมืองต้องมีความคิดความเชื่อและประพฤติตนให้สอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตย หรือวัฒนธรรมประชาธิปไตย อันได้แก่  1. มีเหตุผล  2. เคารพตนเคารพท่าน (เคารพซึ่งกันและกัน) 3. อดกลั้นในความแตกต่าง  4. ตกลงกันอย่างสันติวิธี  5. รู้จักมีส่วนร่วมทางการเมือง  6. ไม่ลืมเรื่องสิทธิและหน้าที่  7. ทำดีเพื่อประโยชน์ส่วนร่วม  8. มีอุดมการณ์ร่วม (คือประชาธิปไตย) แน่วแน่  9. เห็นแก่ประเทศชาติ (รักชาติ-อย่ารักแต่ปาก) 10. พัฒนาความรู้ความสามารถของตน  ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นแนวคิดของท่านวิสุทธิ์  โพธิแท่น กรรมการการเลือกตั้ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท