ถอดบทเรียน_PLC มหาสารคาม_02 : ตอบคำถาม ผอ. สมาน โรงเรียนยางฯ


วันที่ 22 มีนาคม 2555 ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช บรรยายเรื่อง "วิถีสร้างการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21" ณ อบจ.มหาสารคาม ผมได้ถอดบทเรียนตนเองจากคำถามที่ ผอ.สมาน โรงเรียนยางพิทยาคม ซึ่งผมตอบท่านไปในวันนั้นแบบสั้น แต่อยากจะขยายให้ยาวๆ ชัดๆ ดังนี้ครับ

ผอ.ถามว่า PLC คืออะไร อธิบายอีกสักหน่อย

ผมตอบว่า

PLC เป็นชื่อเรียกกลุ่มครูที่ร่วมกันทำสิ่งต่อไปนี้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นหลัก

  • ร่วมมือกันออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โสเหร่ เรื่องที่ปฏิบัติ ด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น
    • BAR (Before Action Review) คือ ตอบคำถาม 4 คำถาม (ไม่ตายตัว) ได้แก่ 
      • เป้าหมายหรือความคาดหวังของข้าพเจ้าคืออะไร 
      • หากบรรลุตามเป้าหมายหรือความคาดหวังอย่างยิ่ง จะมีภาพเป็นอย่างไร
      • หากจะไม่บรรลุตามเป้าหมายหรือความคาดหวัง อาจเนื่องเพราะสาเหตุอะไรบ้าง จะป้องกันอย่างไร
      • หากปัญหาเหล่านั้นเกิดขึ้นจริงๆ จะทำอย่างไร 
    • สุนทรียสนทนา (Dialouge) คือการสนทนาอย่างมีคุณภาพ ผู้พูดๆ ด้วยสติ พูดจากประสบการณ์ พูดจริง ตรงประเด็น ผู้ฟังๆ อย่างตั้งใจ ฟังอย่างชื่นชม ฟังแบบไม่ตัดสิน (ผู้สนใจสืบค้นในหัวข้อ จิตตปัญญาศึกษา)
    • AAR (After Action Review) คือ สะท้อนจากตนเอง 3 คำถาม ดังนี้ 
      • อะไรบ้างที่บรรลุตามเป้าหมายหรือความคาดหวัง
      • อะไรบ้างที่ไม่บรรลุตามเป้าหมายหรือความคาดหวัง เพราะอะไร
      • หากจะทำกิจกรรมนี้อีกครั้งจะต้องปรับอย่างไร
    • การเล่าเรื่อง (Story Telling) เล่าจากการปฏิบัติ เล่าความประทับใจ เล่าความจริง เล่าให้เห็นภาพ เล่าแบบลไม่ตีความมาก เล่าเหตุการณ์ 
  •  จัดการเรียนรู้แบบ PBL (ความจริงจะสอนแบบใดก็แล้วแต่ครูกลุ่มนั้น แต่ศ.นพ.วิจารณ์เสนอว่า ใช้แบบ PBL เพราะผลงานวิจัยชี้ว่า PBL พัฒนาทักษะได้ดีที่สุด) โดยครูเป็นผู้อำนวยให้นักเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Learning by doing) ครูทำหน้าที่เป็นโค้ช เป็นครูฝึกมากกว่าการสอน สอนแบบบอกความรู้ให้น้อย ออกแบบการเรียนรู้ที่จะส่งเสริมให้นักเรียนสนุก มีความสุขกับการเรียนให้มาก ฯลฯ คือ เน้นสอนคน ไม่ใช่เน้นสอนความรู้ เน้นทักษะมากกว่าวิชาหรือเนื้อหา
  • ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน มีผลการประเมินของนักเรียนเป็นรายบุคคล ประเมินเพื่อให้นักเรียนคนนั้นทราบๆ เน้นด้านทักษะมากกว่าด้านความรู้ ออกแบบวิธีการประเมินให้ได้ว่า กิจกรรมการเรียนการสอนนั้นทำให้เกิดทักษะที่คาดหวังหรือไม่ หากนักเรียนคนใดไม่เกิดจะต้องทำอย่างไร หากนักเรียนคนใดเกิดแต่มีทัศนคติไม่ดีจะต้องทำอย่างร ต่อไป 

หากกลุ่มครูกำลังทำแบบที่ว่ามา 3 ประเด็นข้างต้นนี้ เราเรียกว่า ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ หรือ PLC (Professional Learning Community)

เราเรียกครูแต่ละคนที่เป็นสมาชิกของ PLC ซึ่งมุ่งทำเพื่อลูกศิษย์ว่า "ครูเพื่อศิษย์" 

หมายเลขบันทึก: 483132เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2012 01:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ครูจะเป็นผู้อำนวยการสอน มิใช่ ผู้มาบอก/มาสอน..

ครูต้องเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจ ให้กับผู้เรียน.. ให้การเรียนรู้นั้นดูสนุก มีความสุข...

ขอบคุณบันทึกดีๆครับ

อยากให้ครูมหาสารคามเกิดทีม PLC ให้มากที่สุด เด็กไทยจะเป็นผู้ที่ดี เก่ง มีความสุข รู้จักคิด เกิดทักษะชีวิตที่จะใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ ครูอ๋อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท