ละตินอเมริกา : ความสัมพันธ์ระหว่างคิวบากับอเมริกาในศตวรรษที่ 20


ความสัมพันธ์ระหว่างคิวบากับอเมริกาในศตวรรษที่ 20

 

                ความสัมพันธ์ช่วงเริ่มแรก

สหรัฐอเมริกามีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือคิวบาให้รับรับเอกราชจากสเปนในปี 1901 คิวบาจำเป็นต้องทำตามข้อกำหนดของอเมริกา ซึ่งในมาตราหนึ่งของรัฐธรรมนูญคิวบากำหนดว่าด้วยเอกราชของคิวบาจะมีเมื่อยอมให้อเมริกาแทรกแซงคิวบา และยอมให้อเมริกาเช่าพื้นที่สำหรับตั้งฐานทัพเรือในคิวบา อเมริกาได้รับสิทธิเช่าถาวรบนพื้นที่อ่าวกัวตานาโมเป็นฐานทัพเรือ อเมริกาเข้ามาแทรกแซงคิวบาหลายครั้งเมื่อเกิดความวุ่นวายภายใน ในรูปแบบลัทธิมอลโร

                สาธารณรัฐคิวบาจัดตั้งขึ้นในปี 1902 โดย โทมัส เอสตราด้า  พาลมา ได้รับคัดเลือกเป็นประธานาธิบดีคนแรกของคิวบา ต่อมาในสมัย ปธน. ฟูเจนซีโอ บาตีสตา ซึ่งชื่นชมในการปกครองแบบเผด็จการ มีการส่งเสริมบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนทำธุรกิจในคิวบา โดยเฉพาะอเมริกามีกิจการในคิวบามากมาย ทำให้เศรษฐกิจคิวบาดีขึ้น แต่ก็ยังประสบปัญหาเรื่องสาธารณูประโภคซึ่งยังไม่พัฒนา จึงทำให้ ฟิเดล คัสโตร ทำการโค่นอำนาจ บาตีสตาในวันที่ 1 ม.ค. 1959

                ความสัมพันธ์เริ่มตึงเครียด

                ในช่วงแรกอเมริกาให้การสนับสนุนรัฐบาลของคัสโตร แต่รัฐบาลภายใต้การนำของคัสโตนั้นมีการบริหารแบบเผด็จการ โดยเริ่มจากการปฏิเสธการเลือกตั้ง ฆ่าและคุมขังผู้ที่ต่อต้านการปกครองของเขา  ต่อมาในปี 1959 – 1960 คัสโตรทำการยึดธุรกิจของคนอเมริกันเช่น ยึดไร่อ้อย โรงน้ำตาล และปศุสัตว์ ขับไล่คนอเมริกันออกจากคิวบา มีการปลุกระดมกล่าวร้ายป่ายสีให้คนคิวบาเกลียดชังคนอเมริกัน ส่วนคนคิวบาที่ไม่พอใจในการปกครองของคัสโตก็พากันอพยพเข้าไปในอเมริกามากมาย

                คัสโตได้รับความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจจากโซเวียต ในเดือน ก.พ. 1960 โซเวียตและคิวบาลงนามในข้อตกลงด้านการค้าระหว่างกันเป็นครั้งแรก คิวบาได้รับความช่วยเหลือทางด้านการทหารและอาวุธจากโซเวียต ถ้าอเมริกาเข้ามาแทรกแซงคิวบา ในปีเดียวกันนั้นคิวบายึดโรงกลั่นน้ำมันของนักธุรกิจอเมริกันในคิวบา อเมริกาตอบโต้ทันทีด้วยการหยุดซื้อน้ำตาลจากคิวบา คิวบาตอบโต้ด้วยการยึดธุรกิจทุกประเภทของคนอเมริกันในคิวบา เป็นผลทำให้วันที่ 3 ม.ค. 1963 อเมริกาประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับคิวบาอย่างเป็นทางการ ในสมัยของ ปธน. ไอเซนฮาวร์ อเมริกาจะใช้กำลังทางทหารกับคิวบา แต่ OAS ไม่สนับสนุน อเมริกาจึงต้องหาทางต่อสู้เพียงลำพัง

                เหตุการณ์อ่าวหมู ปี 1961

                วันที่ 17 เมษายน 1961 อเมริกาโดย CIA ได้ส่งชายฉกรรณ์ราว 1,500 คน ภายใต้ชื่อกองพัน 2506 ซึ่งก็คือชาวติวบาพลัดถิ่นที่ถูกนำมาฝึกทางการทหารแบบลับ ๆ พร้อมอาวุธครบมิอเข้าเทียบชายฝั่งทางตอนใต้ของอ่าวหมู โดยไม่มีกงอทหารสหัรฐสนับสนุน แต่คัสโตรู้แผนการณ์นี้ล่วงหน้าจึงทางทางตั้งรับทันและปราบปรามได้อย่างเฉียบขาด ผู้คนล้มตายมากมาย กำลังพลถึง 1,200คน ถูกคิวบาจับคุมขัง เหตุการณ์นี้นับว่าเป็นเหตุการณ์อัปยศที่สุดเหตุการณ์หนึ่งของอเมริกา

                วิกฤติการณ์ขีปนาวุธ  ปี 1962

                ความสัมพันธ์อันเลวร้ายเดินทางมาถึงขีดสุดเมื่อโซเวียตให้การสนับสนุนทางอาวุธกับคิวบาอย่างไม่จำกัด มีหลักฐานเป็นภาพถ่ายทางอากาศว่า คิวบาทำการติดตั้งขีปนาวุธเล็งมายังอเมริกา รวมถึงมีเครื่องบินรบติดอาวุธนิวเคียร์จำนวนหนึ่งประจำการที่คิวบา อเมริกาประกาศให้โซเวียตถอนจอาวุธออกจากคิวบา เพาระถือว่าเป็นการคุกคามอธิปไตยอเมริกา  อเมริกาส่งทัพเรือปิดทางเข้าออกคิวบา ประกาศโจมตีเรือทุกลำที่ผ่านเข้ามา องค์กานานารัฐอเมริกันออกแถลงการณ์ให้โซเวียตถอนอาวุธ หลายประเทศสมาชิคกตอบรับพร้อมช่วยเหลือทางการทหารกับอเมริกา

                วิกฤตการ์จบลงอย่างรวดเร็วเมื่อมีการเจรจาระหว่างเคนาดี้กับครุสซอฟ เพราะพิจารณาว่ามีข้อเสียมากกว่าได้ โซเวียตจึงยอมถอนอาวุธ อเมริกาสัญญาว่าจะไม่ปิดล้อมคิวบาอีกถ้าโซเวียตถอนอาวุธออกไป

                ความสัมพันธ์ภายหลังวิกฤตการณ์

                คัสโตพัฒนาอาวุธร้ายแรงและหวังว่าจะเปลี่ยนละตินฯ ทั้งหมดให้มาเข้าค่ายเดียวกับตน ส่วนอเมเริกาให้มาตรการปิดล้อมทางเศรษฐกิจกับคิวบา แต่คิวบายังมีผู้ให้ความช่วยเหลืออีกหลายประเทศในยุโรป รวมถึงชาติในละตินฯ ด้วยกันเอง เช่น บราซิล ชิลี แเม๊กซิโก โบลิเวีย อุรุกวัย เป็นต้น

                ปัจจุบันความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น อเมริกายังใช้มาตรการทางเศรษฐกิจกับคิวบาต่อไป

 

วาทิน ศานติ์ สันติ

 

เรียบเรียงจากการการบรรยายโดย รศ.มาตยา อิงคนารถ และ รศ.อรพินท์ ปานนาค

 

อ้างอิง

มาตยา อิงคนารถ,รศ. ประวัติศาสตร์ละตินอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 20 = History of Latin America in twentieth century : HI 482. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2530.

 

อรพินท์ ปานนาค, รศ. ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 20 = History of the United States in the twentieth century : HI 483. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2549.

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 482764เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2012 23:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท