โครงการ Reuse Snow Pack by R2R


โครงการ Reuse Snow Pack by R2R

แล้วก็สำเร็จไปซะทีกับงานR2Rชิ้นแรกจดๆจ้องๆลองผิดลองถูกมาหลายรอบต้องขอบคุณเพื่อนจาก รพ ป่าติ้ว คุณสมหญิง ไอดอลที่ทำให้เราเกิดประกายอยากลองอยากรู้ว่าR2R เขาทำกันอย่างไร  ทั้งที่เราคิดว่ามันยากพอดู แต่ทำไม ชาวร.พป่าติ้วเขาทำเป็นเรื่องง่ายได้อย่างน่าชื่นชมก็เอานะ พอดี FA ที่เป็นหัวหน้างานสุขศึกษาประชาสัมพันธ์ที่ ร.พ พิจิตร ( เพื่อนกันน่ะค่ะ ) ช่วยลุ้นและเป็นพี่เลี้ยงให้อีกแรงเราและน้องๆชาวอีอาร์เลยได้ทำ R2Rสมความตั้งใจค่ะ แต่เสียใจที่ไม่มีความสามารถเอารูปมาลงประกอบได้น่ะแหละค่ะ

        งานนี้ได้ค้นพบศักยภาพในตัวน้องๆหลายคนที่มีฝีมือเช่นน้องบุ๋มน้องพยาบาลที่จัดองค์ประกอบวางภาพประกอบการทดลองให้ดูมีสีสันสมเป็นงานวิชาการและครีเอทีพให้จนเสร็จทุกขั้นตอนจนสำเร็จออกมาเป็นรูปเล่มสวยงาม

         งานที่สำเร็จไม่สามารถเกิดมาเพราะคนเพียงคนเดียวต้องมีคนคิดและมีทีมช่วยทำ มีคนคอยให้คำปรึกษาและมีหัวหน้าที่เข้าใจ ย่อมทำให้งานคุณภาพขับเคลื่อนต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง....

   ที่มาของ  " โครงการ Reuse Snow Pack ใช้ในงานประจำ "

  1.เพื่อหาวัสดุอุปกรณ์มาใช้ในการประคบเย็นแทนการใช้น้ำแข็ง

 2.เพื่อลดภาวะโลกร้อนโดยการนำ Snow Pack / Ice Pack มา Reuse ใช้ใหม่แทนการทิ้งหรือเผาทำลาย

3.ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อ Cold Hot Pack 

การศึกษาเปรียบเทียบ และทดลองทำ Cold Pack ขึ้นใช้เองหลายครั้งดังนี้

1.ทำ Cold Pack จากน้ำโดยใช้น้ำใส่ถุงแล้วนำไปแช่ช่องแข็ง

พบว่า    น้ำในถุงเป็นก้อนแข็ง/รูปร่างไม่เหมาะกับการประคบ

2.ทำ Cold Pack จากฟองน้ำโดยใช้ฟองน้ำชุบน้ำให้ชุ่มแล้วใส่ถุงแช่ช่องแข็ง

พบว่า     ฟองน้ำเป็นก้อนแข็งต้องวางไว้ให้อ่อนตัวก่อน/อุ้มความเย็นได้ดี  แต่ถ้าใช้นานๆจะเกิดเชื้อราได้

3.ทำ Cold Pack จากเจลทำUltrasound   โดยใส่เจลในถุงพลาสติกที่มีซิปปิดแล้วนำไปแช่ช่องแข็ง

พบว่า ใช้แทนได้ดีเจลมีความยืดหยุ่นใกล้เคียงกับของจริงมากแต่ต้องเสียเวลาทำและใช้วัสดุไม่ถูกประเภท

4.นำ Ice Pack ที่บรรจุยาจากห้องยามาใช้แทน

พบว่า ใช้แทนได้ดีมีความยืดหยุ่นใกล้เคียงกับของจริงมากที่สุด แต่ก็มีปริมาณไม่มากพอ

5.นำ Snow Pack ที่บรรจุมากับน้ำยา/ยา จากแผนกไตเทียมมาใช้แทน

พบว่า   ใช้แทนได้ดีมีความยืดหยุ่นใกล้เคียงกับของจริง   และมีจำนวนมากพอ

 จากการศึกษา หลังนำไปแช่ช่องแข็ง พบว่านอกจาก Cold Hot Pack วัสดุทุกอย่างจะแข็งเป็นก้อนน้ำแข็งทำให้การใช้งานในการประคบเย็นตามอวัยวะต่างๆของร่างกายไม่เหมาะสมจึงมาไว้ในช่องแช่ด้านล่างในตู้เย็นเก็บยาที่ปรับอุณหภูมิไว้ที่ 2-8 oC เพื่อไม่ให้ Snow Pack /Ice Pack แข็งตัว ยังอ่อนตัวและสามารถนำไปใช้ประคบเย็นตามอวัยวะต่างๆได้

เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการรักษาความเย็นในการใช้งานของวัสดุ 3 ชนิดหลังนำออกมาวางไว้นอกตู้เย็น

 พบว่าวัสดุ 3 ชนิดมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นต่างกันดังนี้

 

วัสดุที่ใช้

30 นาที

1 ช.ม

คงความเย็น

หมายเหตุ

1.

Snow PACK

7 oC

12 oC

     2     ช.ม

 

2.

ICE  PACK 

6 oC

10 oC

  2.45  ช.ม

 

3.

Cold Hot PACK 

8 oC

12 oC

       1.55   ช.ม

 

ประสิทธิภาพความคุ้มทุน

   *ค่าใช้จ่ายในการซื้อ Cold Hot Pack 170 – 240 บาท/ชิ้น

   *Snow Pack /Ice Pack ขอจากห้องไตเทียม ไม่มีค่าใช้จ่าย

วิธีการและขั้นตอนการนำมาใช้

1.ล้างทำความสะอาด Snow Pack ด้วยน้ำสบู่ให้สะอาด

2.แช่ Snow Pack ไว้ด้านล่างของตู้เย็นที่ใช้สำหรับเก็บยาของward ซึ่งปรับอุณหภูมิไว้ที่ 2-8 oC

3.ซื้อผ้าที่มีเนื้อนิ่มมาตัดเป็นถุงห่อเพื่อ Support ป้องกันการระคายผิวผู้ป่วย

4.นำ Snow Pack ไปวางตามอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ ครั้งละ 10-15 นาทีและควรพักวางสลับกันสามารถใช้ได้ 3-4 ครั้งต่อวัน

5.หลังใช้ทำความสะอาดและเก็บไว้ใช้ครั้งต่อไปได้ ( สามารถหมุนเวียนไว้ทั้งในช่องแช่แข็งและกล่องด้านล่าง ตามความเหมาะสม )

 ข้อควรระวัง ในการใช้แผ่นประคบเย็นทุกชนิด

 1.การวางบนผิวหนังโดยตรงอาจเกิดความระคายเคืองต่อผิวหนังได้

 2.ไม่ควรใช้ความเย็นในการลดปวด บวม ในผู้ป่วยโรค รูมาตอย์

 3.ไม่ควรใช้กรณีพบว่ามีการรั่วไหลของเจลในถุงและหลีกเลี่ยงการสัมผัสเจลโดยตรง  ** แต่สำหรับ Ice Pack / Snow Pack ที่ทำจากโพริเมอร์ไม่เป็นอันตรายค่ะ

 4.ไม่ควรใช้ในเด็กเล็กถ้าไม่มีผู้ใหญ่ดูแลขณะใช้อย่างใกล้ชิดเพราะเด็กอาจกัด กิน เจลในถุงเป็นอันตรายได้

 5.ไม่ควรวางหรือเก็บไว้ในที่มีอุณหภูมิร้อนเกินและไม่ควรวางไว้ใกล้เปลวไฟ

 กรณีอื่นๆ  สามารถเก็บไว้ใช้งานได้หลายอย่างตามความต้องการดังนี้

1.ถ้าแช่ช่องแช่แข็งจนเป็นก้อนแข็งสามารถใช้แทนก้อนน้ำแข็งกรณีต้องการ Pack ยาให้ผู้ป่วยกลับบ้านหรือใช้ใส่ในกระติกน้ำแข็งเพื่อแช่ผ้าเย็น หรือแช่ Snow Pack / Ice Pack ชนิดเหลว

2.ถ้าแช่ไว้ในกล่องด้านล่าง  ของเหลวในถุงจะไม่แข็งมากและมีความยืดหยุ่นได้ดี

3.นอกจากนั้นสามารถนำมาห่อ Syringe ที่เจาะเลือดเพื่อส่งตรวจ Blood Gas แทนการใช้ก้อนน้ำแข็งได้ดี

 

***หมายเหตุตอนนี้กำลังทดลองต่อยอดนำเจลมาใช้ปลูกต้นไม้พบว่าต้นไม้สามารถเติบโตได้เป็นอย่างดีแล้วจะเอาภาพมาให้ชมอีกทีนะคะ ***

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #โครงการ Reuse Snow pack by R2R
หมายเลขบันทึก: 482750เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2012 19:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณค่ะ ผู้เฒ่า วอญ่าแต่เอารูปลงไม่ได้ทำไมช่างยากเย็นเข็ญใจ..หมดปัญญาจริงๆค่ะ

สู้ๆๆครับ ทำต่อไป อะไรที่อยากแล้วทำได้ เป็นความภาคภูมิใจไม่รู้ลืม เรียนรู้ด้วยการฝึกหัดครับ

เป็นกำลังใจกันและกันค่ะ

ขอบคุณที่นำมาให้เรียนรู้ค่ะ

ที่ รพ.แก่งคอยก็ทำเป็นที่ประคบผู้ป่วยหลังถอนฟัน จาก Gel Ice Pack ที่มากับยา จากห้องยาค่ะ

  • สุดยอดไปเลย ส่งผลงานไปที่สวรส.นะคะ เชียร์ๆๆๆ
  • คิดต้นทุนด้วยนะคะ
  • ส่ง Email. มาที่ [email protected] จะส่งแบบบทคัดย่อให้เพื่อเขียนร่วมส่งประกวดกับสวรส.
  • หมดเขต วันที่ 30  เมษายน 2555 นี้

 

 

  • ช่วยกรุณาเพิ่มคำสำคัญ ,R2R ด้วยนะคะเราจะได้หากันเจอ

 

นันทิภัคค์ สาวิลุน

น่าชื่นชมมากๆค่ะ ขอติดตามโครงการนี้ด้วยคนนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท