๒๗๖.สรุปเวที “ ฮอมกำกึ๊ด ฮอมผญา คนพะเยาสู่การจัดการตนเอง ๔


โดย...แวว-มุทิตา สัตย์สม ขบวนการองค์กรชุมชนคนพะเยาและภาคประชาสังคมพะเยา

          7.5) ดอกคำใต้โมเดล พื้นที่แห่งการบูรณาการ นำเสนอโดย นายสำราญ จันต๊ะวงค์ 
รองนายกเทศมนตรีตำบลหนองหล่ม อ.ดอกคำใต้

     ที่ผ่านมาคนดอกคำใต้อยากจัดเวทีคุยกันเพื่อค้นหาของดีและขยายผล แต่ไม่มีจึงมีโครงการ “ดอกคำใต้โมเดล” โดยจัดเวที “ดอกคำใต้เมืองน่าอยู่” ซึ่งอำเภอดอกคำใต้มีกิจกรรม “ทานทอด” เป็นประเพณีอันดีของชาวเหนือ ซึ่งบางแห่งได้ละเลยไปแล้ว แต่ดอกคำใต้พยายามรักษาเอาไว้  นอกจากนี้ยังมีสภาเด็ก เยาวชนแต่ของดีเหล่านี้อยู่คนละที่ไม่เคยมีการเอามาแลกเปลี่ยนกัน หลังจากที่มีเวทีดอกคำใต้เมืองน่าอยู่ จึงเริ่มมีการเอาของดีมาแลกเปลี่ยนกัน และที่สำคัญคือมีการบูรณาการทำงานระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อร่วมกันพัฒนาดอกคำใต้ร่วมกัน ปัจจุบันมีธนาคารหมู่บ้าน ซึ่งปัจจุบันมีเงินกว่า 50 ล่านบาท จนเกิดเป็นสวัสดิการชุมชนในที่สุด

            กิจกรรมที่ประสบผลสำเร็จคือเกิดกระบวนการเรียนรู้ระหว่างกันของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณีผสมระหว่างล้านนากับอีสาน เช่น ประเพณีผีหม้อนึ่ง ซึ่งเป็นประเพณีของการรวมจิตใจของชุมชนด้วยกัน

 

          7.6) บ้านมั่นคง ความมั่นคงของชีวิต นำเสนอโดย นายสมศักดิ์ เทพตุ่น เครือข่ายบ้านมั่นคง จ.พะเยา

     เป้าหมายของโครงการบ้านมั่นคง เน้นการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัย โดยจังหวัดพะเยามี 7 โครงการ มี 4 พื้นที่ ซึ่งไม่ได้เน้นแค่ตัวบ้าน แต่เน้นความสำคัญของการจัดการปัญหาร่วมกัน      แนวคิดของการพัฒนาโครงการบ้านมั่นคงนั้น เนื่องมาจากชาวบ้านจำนวนมากไม่มีที่อยู่อาศัยที่แน่นอน โดยเฉาพะกลุ่มชุมชนแออัด กลุ่มคนที่บุกที่ธรณีสงฆ์  

การทำงานมีขั้นตอนที่สำคัญได้แก่

1) จัดเวทีสร้างความเข้าใจเพื่อให้เกิดความเป็นเจ้าของร่วมกัน

2) จัดตั้งคณะทำงาน 5 ฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายข้อมูล ออมทรัพย์ ที่ดิน ช่างชุมชน และเลขานุการ

3) สำรวจของมูล ความเดือดร้อน

4) จัดหาที่อยู่ที่เหมาะสม / สร้างบ้านที่มีความมั่นคง โดยใช้เงินออมที่มีอยู่

5) พัฒนาให้มีช่องทางทำกิน

          ความสำเร็จที่เกิดขึ้น คือ

1) มีบ้านที่มั่นคงแข็งแรงขึ้น

2) มีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น

3) มีกระบวนการเรียนรู้เชื่อมกันเป็นเครือข่าย

4) เกิดความร่วมมือระหว่างชุมชน อปท.และรัฐ

5) เกิดสวัสดิการชุมชนทั้งเมือง ช่วยเหลือตั้งแต่ เกิด/ แก่ / เจ็บ / ตาย

     ปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 2,000 ราย และ ในปีนี้ทางเทศบาลได้สมทบกว่า 200,000 บาท ที่ผ่านมามี พอช. เป็นหน่วยงานหลักที่ให้การสนับสนุน

 

          7.7) แรงงานนอกระบบกับอาชีวอนามัย นำเสนอโดย นายอดุลย์ เสนาพันธ์ เครือข่ายแรงงานนอกระบบ จังหวัดพะเยา

            แรงงานนอกระบบ เป็นคำที่ชุมชนทั่วไปยังไม่เข้าใจนัก ปัจจุบันแรงงานนอกระบบ แบ่งออกเป็นแรงงานภาคเกษตร ภาคผลิต และภาคบริการ ในพื้นที่จังหวัดพะเยานั้นมีแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่เป็นภาคเกษตร ซึ่งประสบปัญหาหลายอย่างทั้งเรื่องต้นทุนการผลิตสูง อาชีพและรายได้ ขาดสวัสดิการ และปัญหาด้านความเสี่ยงจากสุขภาพ

            การทำงานที่ผ่านมาของเครือข่ายแรงงานนอกระบบ เน้นการสร้างเครือข่ายแรงงานนอกระบบ โดยการรวมกลุ่มอาชีพ หลังจากนั้นเราก็มาดูว่าในกลุ่มอาชีพมีความเสี่ยงเรื่องอะไรบ้าง งานที่ประสบผลสำเร็จคือ การส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงานไว้ในข้อบัญญัติของท้องถิ่น

            ข้อเสนอของเครือข่ายแรงงานนอกระบบคือ

1) แรงงานตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง

2) จัดให้มีสวัสดิการด้านแรงงานที่เหมาะสม

3) ตั้งกองงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต และถ้าจะให้ดีก็จำเป็นระบุภารกิจแต่ละส่วน

4) ทำข้อมูลด้านแรงงานใน อปท. ให้มีความชัดเจน ภารกิจที่ต้องไปต่อไป คือ จะทำอย่างไรให้แรงงานรู้ตัว และมีตัวตนในการทำงานอย่างชัดเจน

 

          7.8) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบสุขภาพ นำเสนอโดย นางนิภากรณ์.......  เครือข่ายผุ้ติดเชื้อเอช ไอ วี/ เอดส์ จังหวัดพะเยา   

     แนวคิดทสำคัญของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบสุขภาพ คือ 1) สุขภาพไม่ใช่เรื่องโรค แต่เป็นเรื่องมิติของชีวิต 2) พลิกบทบาทจากการเป็นผู้รับบริการมาเป็นผู้มีส่วนร่วมในการให้บริการ และ3) ระบบสุขภาพต้องมีคุณภาพและมาตรฐานการรักษาที่เท่าเทียมกัน

          การมีส่วนร่วมในการพัฒนามีรูปธรรม คือ

1) มีการพัฒนาศักยภาพ แกนนำเครือข่าย จำนวน 66 กลุ่ม  

2) ทำงานกับผู้ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อ

3) เข้าไปมีส่วนร่วมกับกลไกของชุมชนในการกำหนดนโยบายด้านเอดส์

4) รณรงค์ผลักดันประเด็นด้านหลักประกันสุขภาพ เป็นต้นว่า ตั้งกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ทำให้คนเข้าปนประเด็นเอดส์รู้เร็วรักษาได้ รวบรวมรายขื่อเพื่อเสนอ พรบ. หลักประกันสุขภาพ สิทธิบัตรยา เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยาที่มีราคาแพงในราคาที่ถูกลง บำนาญชราภาพ

5) มีศูนย์บริการแบบองค์รวม ที่ทำงานร่วมกับหน่วยบริการที่อยู่ใน รพ.ชุมชน โดยมีภารกิจคือการดูแลด้านบริการ จิตบำบัด และการสร้างสิ่งแวดล้อมทางสังคมให้กับผู้ป่วย ซึ่งในจังหวัดพะเยามี 9 โรงพยาบาล ต่อมีเครือข่ายทำงานอยู่ 7 โรงพยาบาล (ยกเว้น โรงพยาบาลพะเยาราม และ โรงพยาบาลค่ายฯ) 6) ผู้ติดเชื้อ 4,945 คน เด็ก 382 คน เข้าถึงการรักษา

7) สมาชิกเครือข่ายทั้งสิ้น 4,863 คน ที่มีความรู้และข้อมูล

8) มีสมาชิกเครือข่ายอย่างน้อย 50% มีส่วนร่วมเป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขปัญหาเอดส์

          ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น คือ

1) เกิดศูนย์บริการแบบองค์ความได้รับการยอมรับจากโรงพยาบาลในการให้ผู้ติดเชื้อ ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการให้บริการดูแล

2) มีส่วนร่วมในระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้องกับนโยบายด้านหลักประกันสุขภาพและเอดส์

3) ช่วยแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนที่มีปัญหาด้านการเข้าบริการด้านสิทธิหลักประกัน

          ข้อเสนอแนะ คือ

1) ปรับทัศน์คติเรื่องผู้ติดเชื้อ

2) เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดระบบสุขภาพ ใน รพสต.

3) อปท. ควรให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพของประชาชนมากกว่าโครงสร้างพื้นฐาน

 

          7.9) ความเข้มแข็งของ “สถาบันครอบครัว” นำเสนอโดย นายทวีสิน วงศ์เรือง สถาบันครอบครัวเข้มแข็ง จังหวัดพะเยา

            ครอบครัวมีความหมายมากกว่าการเป็นสามี – ภรรยา แต่หมายถึงพ่อ แม่ ญาติ ซึ่งคนในปัจจุบันถ้าเจอวิกฤตจึงมักจะลำบากเป็นอย่างมาก ที่ผ่านมาสถาบันครอบครัวจึงมีบทบาทเข้าไปสนับสนุนการพัฒนาในส่วนนี้ แม้กระทั่งการทำกิจกรรมร่วมกันเช่นการพาครอบครัวไปทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา งานของสถาบันฯ จึงมี

1) การรณรงค์ให้คนในสังคมเห็นความสำคัญของสถาบันครอบครัว

2) การสื่อสารให้สังคมเห็นความสำคัญ

3) ทำงานด้ายการวิจัยเกี่ยวกับสภาวะครอบครัวที่อยู่ในภาวะยากลำบาก

4) การทำงานผ่านทางวัฒนธรรมท้องถิ่น

            กิจกรรมที่ผ่านมา สถาบันได้จัดเวทีสร้างเวทีแลกเปลี่ยนปัญหาของครอบครัว ซึ่งจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ทั้ง 4 กระบวนการนี้ ซึ่งพ่อ แม่ ลูก และคนอื่น ๆ ในครอบครัวจำเป็นต้องมีความเข้าใจกัน นอกจากนี้แล้วได้จัดเวทีการลดแอลกอฮอล์ เพื่อเป็นต้นแบบให้กับลูก ๆ ทั้งนี้พบว่าผู้นำชุมชนมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับครอบครัว เนื่องจากต้องให้บริการชุมชน แต่ลืมการให้ความสนใจกับครอบครัวตัวเอง

ผลจากการทำงานที่เกิดขึ้น คือ

1) มีปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์ ลดลงในพื้นที่เป้าหมาย

2) มีการจัดสวัสดิการครอบครัว ในพื้นที่ต้นแบบ

3) เยาวชนมีการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมให้กับสาธารณะ “เยาวชนจิตอาสา”

เกณฑ์การพิจารณาครอบครัวเข้มแข็ง ดังนี้

1)      ความสัมพันธ์ของครอบครัวเหนียวแน่น

2)      หลักคิดคุณธรรมที่เข้มแข็ง

3)      มีการเรียนรู้เพื่อเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม

4)      การพึ่งพาตนเองของครอบครัว

5)      สามารถสื่อสารภายในครอบครัวระหว่างคนในครอบครัว

6)      การแบ่งปันและเกื้อกูลให้กับครอบครัวรอบข้าง

ถ้าครอบครัวใดเข้าหลักเกณฑ์เหล่านี้ก็จะนำไปสู่ครอบครัวเข้มแข็งได้ และจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนต่อไป

 

8. สรุปเวที โดยนางมุกดา อินต๊ะสาร ประธานคณะทำงาน

     แม้ว่าในการประชุมครั้งนี้จะได้ผลไม่มาก แต่ทุกคนที่เข้ามาร่วมมีข้อมูลที่จะนำไปสานต่อไปในพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดรูปธรรม ส่วนหนึ่งต้องขอขอบคุณ คณะทำงานที่เกิดจากหลายภาคส่วน หน่วยงานต่างๆ พี่น้องทีมงาน พอช. ทีมงานจากมหาวิทยาลัยพะเยา และพี่น้องที่มาเปิดพื้นที่พูดคุยกันในวันนี้ ซึ่งเกิดจาก 3 ภาคส่วนที่สำคัญ คือ ท้องที่ ท้องถิ่น และภาคประชาชน

     ประเด็นทั้ง 7 ประเด็นที่เรานำเสนอ ต้องมีการติดตาม และช่วยไปทำงานกันในระดับตำบล พื้นที่ใดที่มีการเชื่อมกับทางตำบลได้ ต้องเปิดโอกาสให้เกิดการทำงานในระดับตำบล โดยเฉพาะปัจจุบันเราต้องเคลื่อนให้เกิดสภาองค์กรชุมชน เพื่อเป็นกลไกการทำงานตำบล

 

หมายเลขบันทึก: 482490เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2012 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท