๒๖๗.ข้อเสนอเพื่อการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน


ข้อเสนอของคนพะเยาเพื่อการพัฒนาฯ ด้านการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน

 

ข้อเสนอระดับพื้นที่

     (ไม่มี)

 

ข้อเสนอระดับจังหวัด/ภาค

     ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดสนับสนุนงบประมาณและเป็นแกนหลักประสานเชื่อมโยงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรชุมชนทุกแห่ง จัดทำกรอบแผนการจัดการภัยพิบัติของชุมชนท้องถิ่นระยะ ๓ ปี แบบมีส่วนร่วมโดยให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เสี่ยงโดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

      - การพัฒนาระบบการเตรียมความพร้อม ประกอบด้วยการประเมินความเสี่ยง การวางแผนระยะสั้นและระยะยาว การซ้อมแผน การพัฒนาระบบเตือนภัยโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ระบบจัดการความรู้ และการสื่อสารสาธารณะ การสร้างเครือข่ายข้อมูลข่าวสารเพื่อการเฝ้าระวัง การจัดเตรียมทรัพยากรและอุปกรณ์ที่จำเป็น จัดให้มีการให้ความรู้และฝึกอบรมทักษะการจัดการภัยพิบัติเบื้องต้นแก่ประชาชน การจัดเตรียมทีมกู้ชีพกู้ภัย จัดให้มีระบบอาสาสมัครแจ้งเตือนภัยและการช่วยเหลือเบื้องต้น

     -  การป้องกันและลดผลกระทบ กำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยและพื้นที่ปลอดภัย การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและการวางผังเมือง

     - การจัดการในภาวะฉุกเฉิน การแจ้งเตือนภัย การอพยพ การกู้ภัย การค้นหาช่วยชีวิต การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยและการรักษาพยาบาล การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์

    - การฟื้นฟูด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่อยู่อาศัย และอาชีพ การดูแลด้านสุขภาพอนามัยและด้านสุขภาพจิต

     - ให้มีกลไกเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติในระดับชุมชนท้องถิ่นและระดับอำเภอ โดยเชื่อมประสานกับภาครัฐ เอกชน องค์กรอาสาสมัคร และองค์กรชุมชน

     -  ให้จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากภัยพิบัติ บริหารจัดการโดยชุมชนในระดับตำบลและมีสวัสดิการสำหรับกลุ่มจิตอาสา

 

ข้อเสนอระดับนโยบาย

     1. ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับเครือข่ายองค์กรชุมชนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น  สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

     2. จัดให้มีการทบทวนและปรับปรุงแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติแบบมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน โดยให้ความสำคัญกับการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง

     3. ให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย  สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สภาพัฒนาการเมือง เครือข่ายแผนชุมชนสี่ภาค สภาองค์กรชุมชน และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ร่วมกันสนับสนุนให้ชุมชนและท้องถิ่น ดำเนินงานตามกรอบแผนการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนและท้องถิ่นตามข้อ ๑.๒

     4. ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมส่งเสริมส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และกระทรวงกลาโหม จัดให้มีการจัดระบบเครือข่ายอาสาสมัครระดับชาติ โดยดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายอาสาสมัคร สภาองค์กรชุมชน ภาคเอกชน ให้มีการจัดทำบัญชีรายชื่ออาสาสมัครและผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ให้มีการจัดหลักสูตรอบรม การฝึกซ้อมและการปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือ

     5. ให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย สนับสนุนให้เกิดกลไกและสนับสนุนงบประมาณการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนที่เกิดจากการสนับสนุนของภาครัฐ และระดมทุนการสนับสนุนจากภาคเอกชนและประชาชนได้ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน สร้างเครือข่าย ชุมชนท้องถิ่น และสนับสนุนงบประมาณให้ชุมชนและเครือข่ายในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และรับมือกับภัยพิบัติ โดยให้มีกลไกบริหารจัดการที่เหมาะสม

     6. ให้เครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดร่วมกับหน่วยงานองค์กรภาครัฐ ท้องถิ่น และองค์กรภาคีในพื้นที่ เช่น สภาองค์กรชุมชน สภาพัฒนาการเมือง เครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข เครือข่ายจิตอาสา สนับสนุนให้มีการจัดสมัชชาสุขภาพจังหวัด หรือเวทีสาธารณะรูปแบบอื่นๆ เพื่อขับเคลื่อนงานการจัดการภัยพิบัติในพื้นที่ให้เป็นรูปธรรม

 

หมายเลขบันทึก: 482239เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2012 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท