สำเนียงใต้ (๑)


เสียง ฟ จะกลายเป็น คว และตรงข้ามก็ใช่

สำเนียงพูดของคนไทยในภาคใต้ต่างจากภาคกลาง  ผมได้สังเกตความแตกต่างไว้ตั้งแต่ยังเป็นเด็กอายุอ่อน วันนี้ได้โอกาสเขียนสักที

 

ผมสังเกตว่า อะไรที่กลางออกเสียงยาว ใต้จะสั้น และตรงกันข้ามก็ใช่  (and vice versa)

 

เช่นกลางว่า    “กินเหล้าใส่น้ำแข็งปล่าววววว”       คนใต้จะบอกว่า  “กินหร้าววววใส่น้ำแข็งเปร่า”    ..โดยตัว ล ก็กลายเป็นตัว ร อีกต่างหาก

 

เสียง ฟ ฝ  จะกลายเป็น คว  ขว  และตรงข้ามก็ใช่

 

 เช่น ตอนผมเรียนมัธยมที่ รร. เกรียมตะหาน มีผู้กองคนหนึ่งท่านเป็นข่นต๊าย (คนใต้)   ตอนพวกเราเข้าแถวฟังโอวาทจากท่าน ก่อนจะขึ้นรถไฟเพื่อไปฝึกภาคสนามที่เจียงหมั่ย  ท่านให้โอวาทว่าดังนี้

 

ผู้ก็องของ “ขวาก” ให้พวกเราไปคิดกันด้วย โดยเฉพาะให้ระวัง   เวลาขึ้นรถ  ”ไคว”  

 

ท่านผู้กองท่านนี้เวลาท่านพูด ท่านมักติดวลีว่า “ผู้กองของขวาก” เสมอ

 

...คนถางทาง (๑๓.๓.๒๕๕๕)

หมายเลขบันทึก: 481824เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2012 08:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มิถุนายน 2012 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ผมสังเกตว่าศัพท์ในภาษาใต้กับภาษาอีสานจะมีความคล้ายๆ กันอยู่เยอะเหมือนกันครับ แต่จะไม่มีในภาษากลาง เคยอ่านที่ไหนสักแห่งแล้วเขาบอกว่าสำเนียงกลางนี่ไม่ใช่สำเนียงไทยแต่เป็นสำเนียงจีนโบราณพูดไทยจนทำให้ภาษาไทยเพี้ยนครับ

ผมมีความเชื่อว่า ภาษาไทยวันนี้มีรากมาจาก ภาษาใต้ อิทธิพล ศรีวิชัย ที่มีเหนือ ทวาราวดี

ผมเชื่ออะไรมักไม่ผิดหรอก (๕5๕) แล้ววันหลังผมจะมาเขียนนะครับ

ภาษาใต้ เหมือน ระยอง โคราช มากกว่าอีสาน ครับ แล้ววันหลังผมจะมาเขียนต่อครับ

แฮ่ะๆ ผมแยกภาษาโคราชกับอีสานไม่ออกละครับ

พูดถึงตรงนี้ทำให้นึกขึ้นได้ว่าสำเนียงใต้ก็มีแยกแต่ละจังหวัดแต่ละกลุ่มเหมือนกัน สำนวนและศัพท์ก็จะแตกต่างกันพอประมาณทีเดียวครับ

ใช่ครับ เท่าที่ผมได้ยินมา มันมีสำเนียง สุราด นะคอน สงขา พัดลุง ประมาณนี้แหละครับ แต่ผมฟังแล้ว มันต่างแค่สำเนียง แต่คำสับเหมือนกันเลย (คนใต้ชอบ"สับ"อยู่แล้ว ...ผมเองชาติก่อนคงเป็นคนใต้ ๕๕๕)

อ่า!!

เห็นทีต้องระวัง

คนใต้เหมือนกัน

แต่ตอนนี้อยู่แม่สะเรียง

ตอนเด็กจำได้แม่น

พ่อนั้นแหลงภาษาใต้

โลกๆ...กินเฮาะหม้าย

พ่อเว้นไว้

ให้โลกสาว ฮ่าๆๆๆๆๆ

ขอร่วมกับสนุกกับภาษาด้วยคน ครับ.(.เพร๊าะหว่าพ่มเป๋นโค่นตายค่ออย)..ภาษาใต้มีทั้งส่วนที่เป็นสำเนียงที่แยกกันในแต่ละพื้นถิ่นซึ่งคนในภาคใต้ด้วยกันจะสังเกตความแตกต่างและสามารถระบุภูมิลำเนากันได้ ครับ..(บางทีแยกได้ เป็นจังหวัด อำเภอ)..คำศัพท์บางคำก็มีแตกต่างกันในแต่ละพื้นถิ่น..เช่น พริก ทางสงขลาตามอำเภอนอกๆ มักเรียน ดีปลี..แต่ทาง สุราษฎร์ จะเรียก ลูกเผ็ด..ที่น่าจะเป็นเอกลักษณ์ของภาษาพูดของใต้ คือ พูดดัง.. เสียงมีโทนต่ำกว่าภาคกลาง.. เสียงขึ้นนาสิก.. และอยู่ในลำคอ.. มักใช้คำสั้น ง่ายๆ ย่อคำ เช่น คก จก หรีด.. หรือ รวบคำ เช่น สำโรง เป็น โหมรง(พยางค์เดียว)..พยัญชนะ ง เป็น ฮ ... และแสดง ลีลา อารมณ์ชัดเจน..ที่น่าแปลก คือ คำใต้หลายคำ มีใช้ใน ภาษาเหนือ เช่น ห่อนไป-ไม่เคยไป..อุปนิสัย คนใต้(แต่เดิม) มักมีลักษณะนิสัยชอบแสดงตน อาสางาน รักพวก ชอบตลกคะนอง..และพูดจริง ทำจริง รักใครรักจริง..ซึ่งลักษณะเหล่านี้กำลังค่อยๆหมดไปในปัจจุบัน..พร้อมกับภาษา และสำเนียง..

อะไรกันกระทู้เเบนี้แย่ที่สุด!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

อะไรกันๆๆๆทำไมไม่ยกตัวอย่างประโยคเยอะๆหา!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!มันจะไปพออะไรอยากรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท