๒๕๕.การจัดการลุ่มน้ำขนาดเล็กในลุ่มน้ำอิงและลุ่มน้ำยม


 

๓.

การจัดการลุ่มน้ำขนาดเล็กในลุ่มน้ำอิงและลุ่มน้ำยม

๑.ข้อเสนอในระดับพื้นที่

  1. ให้ชุมชนในแต่ละลำห้วยสาขา ทั้งในระดับตำบล หมู่บ้าน มีส่วนร่วมในการจัดการลุ่มน้ำตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

  2. เพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำในครัวเรือน และชุมชน โดยการขุดคลองในไร่นา ขุดลอกแม่น้ำที่ตื้นเขินบางส่วนโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการตัดสินใจ อาศัยข้อมูลที่เป็นระบบ สอดคล้องเหมาะสมกับระบบนิเวศวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น

  3. สนับสนุนให้เกิดการจัดทำเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำทุกชุมชน

  4. สนับสนุนให้ชุมชนมีการจัดการระบบเหมองฝายแบบโบราณเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการน้ำของภาคเหนือที่มีความสมดุลของระบบนิเวศ และมีความยั่งยืน

  5. การขยายแนวคิด และสร้างเครือข่ายการจัดการลุ่มน้ำขนาดเล็ก การสร้างกฏระเบียบการจัดการน้ำให้ทั่วถึงและเป็นธรรมทั้งต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ

๒.ข้อเสนอในระดับจังหวัด/ภาค

  1. การจัดการระบบนิเวศในลุ่มน้ำ ควรเป็นการจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ(ดิน น้ำ ป่า) โดยชุมชนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ส่วนการแก้ไขปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วม ควรทำแก้มลิง ทำฝายชะลอน้ำบริเวณป่าต้นน้ำ เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้แก่ป่าต้นน้ำและขุดสระในบริเวณไร่นาของเกษตรกร โดยพิจารณาตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่

  2. การพัฒนาคน โดยการปลูกฝังเยาวชนคนรุ่นใหม่ ให้เป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรม สร้างจิตสำนึก

  3. ให้หน่วยงานภาครัฐในระดับภูมิภาค ทำหน้าที่เป็นฝ่ายวิชาการ จัดทำนโยบายและจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาลุ่มน้ำขนาดเล็กให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  4. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีขอบเขตความรับผิดชอบในแต่ละลำห้วยสาขาของลุ่มน้ำสายหลักและลุ่มน้ำสาขา รับผิดชอบหลักในการจัดทำแผนงาน และการจัดการลุ่มน้ำ(ดิน น้ำ ป่า) ที่มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของชุมชน

  5. สร้างข้อตกลงร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่นิเวศลุ่มน้ำขนาดเล็กโดยการมีส่วนร่วมของพหุภาคีให้ครอบคลุมทุกพื้นที่นิเวศลุ่มน้ำขนาดเล็ก โดยให้สภาพัฒนาลุ่มน้ำจังหวัด จัดทำธรรมนูญการจัดการลุ่มน้ำหลักและลุ่มน้ำสาขาในจังหวัด เพื่อเป็นข้อกำหนดในการจัดการลุ่มน้ำรวมทั้งแก้ไขกฏหมาย ระเบียบของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคในการทำงานของสภาพัฒนาลุ่มน้ำจังหวัด

  6. สนับสนุนและหนุนเสริมงบประมาณการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และฝาย แก้มลิงในพื้นที่

  7. สนับสนุนการจัดการน้ำโดยชุมชน เช่น ระบบเหมืองฝายโบราณโดยภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดทำแก้มลิง และแหล่งน้ำหัวไร่ปลายนา

๓.ข้อเสนอในระดับนโยบาย

  1. ให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานในกำกับของและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการน้ำ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรเครือข่ายภาคประชาชน

  2. สนับสนุนให้มีกลไกประสานร่วมกันในรูปพหุภาคีที่ประกอบด้วยภาคประชาชน-ผู้ใช้-ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐและภาคประชาสังคม ดำเนินการให้เกิดกระบวนการร่วมมือกัน ควบคู่กับการสร้างกลไกกระจายอำนาจในการจัดการลุ่มน้ำรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับระบบนิเวศของแต่ละลุ่มน้ำ และมีลำดับการควบคุมจากล่างขึ้นสู่บน และมีการแบ่งบทบาท อำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐบาล คณะกรรมการลุ่มน้ำสาขา กลไกความร่วมมือแบบมีส่วนร่วมของพหุภาคีและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยในระดับจังหวัดให้มีการจัดตั้งและผลักดันให้เกิดสภาพัฒนาลุ่มน้ำจังหวัดที่มาจาก ๓ ภาคส่วนอย่างเท่าเทียมกันคือภาคประชาชน ภาครัฐ และภาควิชาการ มีเป้าหมายคือการมีส่วนร่วมในการนำเสนอแผนยุทธศาสตร์จังหวัดด้านการจัดการลุ่มน้ำ โดยยึดหลักการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน

  3. ให้สภาพพัฒนาลุ่มน้ำ ทำหน้าที่ในการนำเสนอปัญหา จัดทำแผนและจัดการลุ่มน้ำขนาดเล็ก โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

  4. ศึกษา ทบทวน ยกเลิกนโยบาย กฏหมาย พระราชบัญญัติ กฏระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการจัดการลุ่มน้ำขนาดเล็ก หรือพัฒนานโยบาย กฏหมายพระราชบัญญัติ กฏระเบียบอื่น ๆ เช่น พระราชบัญญัติน้ำ พ.ศ.....และโครงสร้างของหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่นิเวศลุ่มน้ำขนาดเล็กให้สามารถระบุปัญหาที่หลากหลายและหาทางออกร่วมกันในระดับพื้นที่เหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  5. ขอให้เครือข่ายสิ่งแวดล้อมเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟู เครือข่ายสถาบันวิชากร เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัด ร่วมกับชุมชนท้องถิ่นและผู้เกี่ยวข้องสนับสนุนการจัดการความรู้ การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ เพื่อพัฒนาชุดความรู้ และหลักสูตรท้องถิ่นที่สอดคล้องกับระบบนิเวศของแต่ละลุ่มน้ำ

  6. ทบทวนด้านนโยบาย และกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เช่น นโยบายการพัฒนากว๊านพะเยา และลุ่มน้ำอิง เพื่อการจัดหาน้ำหรือการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำ และเพื่อการท่องเที่ยว นโยบายการส่งเสริมปลูกพืชเศรษฐกิจโดยเฉพาะในฤดูแล้ง เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำในการปลูกพืช นโยบายการจัดการ ๒๕ ลุ่มน้ำ ที่มีคณะกรรมการลุ่มน้ำมีสัดส่วนของภาคประชาชนน้อยกว่าภาครัฐ นโยบายการถือครองที่ดิน พระราชบัญญัติน้ำ พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ.๒๕๓๕ ฯลฯ

 

หมายเลขบันทึก: 481578เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2012 20:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 12:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท