๒๕๔.ข้อเสนอการจัดการป่าชุมชน


 

     ๒.

การจัดการป่าชุมชน

 

๑.ข้อเสนอระดับพื้นที่

  1. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(เทศบาล,อบต.,อบจ) ออกกฏหมายจัดสรรงบประมาณอย่างน้อยร้อยละ ๑ มาดูแลเรื่องป่าชุมชน เช่น สำรวจแนวเขตป่า ดับไฟป่า แหล่งเรียนรู้ในการจัดการป่าชุมชน เป็นต้น

  2. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนกิจกรรมการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมในการอนุรักษ์ เช่น เลี้ยงผีขุนน้ำ บวชป่า สืบชะตาแม่น้ำ

  3. ฟื้นฟูระบบนิเวศป่าต้นน้ำกว๊านพะเยา ทั้ง ๑๒ ลำห้วยโดยให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาชาวบ้านและการมีส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่น

  4. ปลูกป่าทดแทน การฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ไม่ตัดไม้ทำลายป่า

๒.ข้อเสนอระดับจังหวัด/ภาค

  1. สนับสนุนการจัดการป่าชุมชน โดยให้ชุมชนกำหนดกฏระเบียบ กรรมการ และกิจกรรมในการจัดการป่าโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

  2. กำหนดแนวเขตป่าชุมชน และปลูกไม้ยืนต้น เช่น ปาล์ม ยางพารา ลำใย ไม้สัก ให้เป็นแนวบริเวณที่ราบเชิงเขา เพื่อป้องกันการบุกรุกเข้าไปในเขตป่า

  3. การปลูกป่าในวันสำคัญ ปลูกต้นไม้เสริมที่สอดคล้องกับสภาพภูมินิเวศของท้องถิ่น เช่น กล้าหวาย

  4. สร้างจิตสำนึกของผู้นำ และคนในชุมชน เช่นส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบของการเดินป่าดอยหลวงให้เห็นความสมบูรณ์ของป่า โดยทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องให้ชาวบ้านเห็น เข้าใจ ตอกย้ำจิตสำนึก เช่น การบวชป่า เดินสำรวจป่า

  5. ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ในบริเวณป่าต้นน้ำกว๊านพะเยา โดยลดการใช้สารเคมี และให้ปุ๋ยที่มาจากธรรมชาติ ส่งเสริมการปลูกปอเทืองเป็นการบำรุงดินเพื่อลดการใช้สารเคมี

๓.ข้อเสนอระดับนโยบาย

  1. ทบทวนนโยบายการส่งเสริมปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในฤดูแล้งเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำ

  2. ส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจแบบพอเพียง การปลูกพืชคลุมดิน การไถกลบ การใช้ปุ๋ยหมัก ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ฯลฯ

  3. นโยบายการจัดการทรัพยากรของประเทศต้องให้ความสำคัญเรื่อง "ความมั่นคงทางอาหาร" เช่น นโยบายคุ้มครองพื้นที่แหล่งอาหารทั้งในป่าธรรมชาติ พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ชุ่มน้ำ ป่าหัวไร่ปลายนา

  4. ออก พรบ.ป่าชุมชนที่เหมาะสมกับวิถีท้องถิ่นไทยที่หลากหลายพร้อมทั้งปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพท้องถิ่น เสริมสร้างอธิปไตยทางอาหาร และธำรงไว้ซึ่งเอลักษณ์ อัตลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย

  5. รัฐต้องมีนโยบายให้สิทธิชุมชนในการปกป้องคุ้มครองพันธุกรรมพืชอาหารท้องถิ่นทั้งในพื้นที่เกษตรกรรม ป่าชุมชน ไร่หมุนเวียน

  6. ทั้งรัฐและชุมชนต้องร่วมกันในการวางแผนการใช้ที่ดินที่เหมาะสมในการปลูกพืชพลังงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมันที่ไม่คุกคามฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ และความมั่นคงทางอาหารของชุมชนท้องถิ่น

  7. สนับสนุนการวิจัยและฟื้นฟูอย่างมีส่วนร่วมของหลายภาคส่วนโดยบูรณาการ สหวิทยาการโดยการผสมผสานองค์ความรู้ท้องถิ่น และวิชาการ เพื่อนำไปสู่การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและความมั่นคงอาหารท้องถิ่น

  8. รณรงค์ ส่งเสริมการบริโภคอาหารและจัดการตลาดอาหารในท้องถิ่นแก่สาธารณะ

 

หมายเลขบันทึก: 481572เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2012 19:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 08:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

"...5 รัฐต้องมีนโยบายให้สิทธิชุมชนใน การปกป้องคุ้มครองพันธุกรรมพืชอาหาร ท้องถิ่น ทั้งในพื้นที่เกษตรกรรม ป่าชุมชน ไร่หมุนเวียน..."

Most vegetable seeds (sold in package) are now 'terminated' (by a toxic technology) so that they only grow well for 1 single time and will not produce viable seeds for regrowing later.

The use of terminated seeds lead to dependency on foreign companies who produce and sell terminated seeds.

Perhaps, a local seed bank can be set up and funded/maintained by collaboration of government departments, universities and local farmers. The main aim is to ensure that natural seeds for food and medicine plants are not 'terminated'. By growing from natural seeds in  local areas, these plants will have greater chances to survive and to adapt to the local environment -- naturally.

 

เจริญพรขอบคุณที่ร่วมเสนอทางออกให้กับสังคม

สาธุ ๆๆๆๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท