การเป็นเถ้าแก่น้อยแห่งโลกเทคโนโลยี


เปิดโครงการปั้นเถ้าแก่น้อย "นักวิทย์"

 

สวทช.จับมือกลุ่มสามารถจัดประกวด “สามารถ อินโนเวชั่น อวอร์ด” ปีที่ 10 ดันนักคิดเลือดไทยรุ่นใหม่สู่โลกธุรกิจ

 

สานฝันปั้นเถ้าแก่น้อยโลกเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์-สอดรับความต้องการตลาด
 
นายทวีศักดิ์  กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สวทช. กล่าวว่า สวทช.ร่วมกับกลุ่มบริษัทสามารถฯ ยกระดับการประกวดโครงการ “สามารถ อินโนเวชั่น อวอร์ด” ให้เข้มข้นมากขึ้น เพื่อเฟ้นหาผลงานเด่นจากนักคิดระดับหัวกะทิในประเทศไทย พร้อมผลักดันให้คนรุ่นใหม่ก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการเทคโนโลยีในเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม
 
ทั้งนี้ สวทช.มอบหมายให้ศูนย์บ่มเพาะเทคโนโลยีเป็นผู้ดำเนินการโครงการดังกล่าวภายใต้ชื่อ “เถ้าแก่น้อย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ความพิเศษของการจัดการประกวดในปีนี้ได้เพิ่มเงินรางวัลพิเศษมูลค่า 2 แสนบาท สำหรับสุดยอดเถ้าแก่น้อยที่มีผลงานยอดเยี่ยมเข้าไปด้วย
 
เขากล่าวว่า เบื้องต้นตั้งเป้ามีนักคิดรุ่นใหม่ร่วมส่งผลงานเข้าประกวด 80 ทีม จากนั้นจะคัดเหลือให้เหลือ 25 เพื่อรับรางวัล หลังจากนั้น เตรียมสนับสนุนทุกทีมที่ผ่านเข้ารอบมาโดยการสนับสนุนด้านการจัดอบรม ส่งเสริมด้านการตลาด ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการสร้างเครือข่ายระหว่างพันธมิตรเดิมที่มีอยู่กว่า 69 บริษัท และเครือข่ายภายนอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ
 
“เรายังคงยึดมั่นกับเป้าหมายเดิมที่ต้องการสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่มีโอกาสได้แสดงศักยภาพของตนเอง พร้อมๆ กับเติมเต็มความรู้ ความเชี่ยวชาญ ได้รับโอกาสนำเสนอผลงานโดยตรงกับองค์กรต่างๆ กับแหล่งเงินทุน สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเหนือกว่าคู่แข่ง” นายทวีศักดิ์เผย
 
นายเจริญรัฐ  วิไลลักษณ์  ประธานกรรมการบริหาร  บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า เข้าปีที่ 10 ของโครงการ บริษัทมีเป้าหมายต้องการสนับสนุนให้เกิดการต่อยอดในเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น สอดคล้องกับ สวทช.ที่ต้องการผลักดันให้เกิดคนคุณภาพในโลกของเทคโนโลยี
 
ขณะเดียวกัน ยังคงมุ่งเน้นการส่งเสริม 4 กลยุทธ์สำคัญ คือ 1. คัดเลือกผลงานที่เป็นไปได้สูงจากเหล่าหัวกะทิ 2. เติมเต็มทักษะความรู้ ขยายความเข้าใจถึงความต้องการของผู้ใช้บริการ 3. ให้ทุนการศึกษาหรือทุนวิจัยด้านเทคโนโลยี และ 4. ส่งเสริมการประกวดความคิดสร้างสรรค์ผสานความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ที่มีแนวคิดตรงกัน
 
เขากล่าวด้วยว่า หลายปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นส่วนหนึ่งที่จำเป็นต่อชีวิต กิจกรรมทางธุรกิจ และการพัฒนาประเทศ หวังว่าความร่วมมือครั้งนี้จะสร้างโอกาสระยะยาวให้กับคนรุ่นใหม่
 
อย่างไรก็ตาม ปี 2554 ในโจทย์การสร้างสรรค์ซอฟต์แวร์ประเภทการท่องเที่ยว มีจำนวนผลงานเข้าร่วมประกวด กว่า 150 ผลงาน มีผลงานที่ได้รับรางวัล 13 ผลงาน ซึ่งในจำนวนนี้มีผลงานที่ได้รับรางวัลโกลด์ อวอร์ด ถึง 4 ผลงาน

ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/technology/20120308/440528/เปิดโครงการปั้นเถ้าแก่น้อย-นักวิทย์.html

 

หมายเลขบันทึก: 481548เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2012 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท