การทูตภาคประชาชนกับประเทศพม่า


บทความจากหนังสือแนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555

http://www.naewna.com/allnews.asp?ID=97&HL=0&no=1

การทูตภาคประชาชนกับประเทศพม่า (บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ)

 

สัปดาห์นี้มีข่าวในประเทศไทยหลายเรื่องที่จะต้องบันทึกไว้

* เรื่องแรก รัฐบาลชนะการตัดสินของศาลธรรมนูญเป็นเอกฉันท์ให้ พ.ร.ก. 2 ฉบับ ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญฯ

* รัฐบาลก็มีโอกาสทำงานเร็วขึ้น แต่อย่าประมาทที่ชนะเพราะการเงินของรัฐบาลในระยะยาวยังไม่ดี อาจจะไปสู่ความล่มสลายในอนาคตได้

* เพราะปี 2011 อัตราเศรษฐกิจ GDP ขยายตัวแค่ 0.1% ซึ่งถือว่าต่ำมาก อาจจะมาจากน้ำท่วม

* แต่ถ้าจะเปรียบเทียบกับปี 2010 ของรัฐบาลอภิสิทธิ์ GDP ขยายถึง 7.8% ไม่ค่อยจะมีสื่อชื่นชมผลงานรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์มากนัก ในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระยะยาว

* แต่อย่างน้อยผมเป็นคนหนึ่งที่เชื่อในฝีมือของคุณอภิสิทธิ์เรื่องการดูแลวินัยการคลังและการกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว

* เพราะคุณอภิสิทธิ์เป็นนักการเมืองที่เน้นความยั่งยืน มากกว่าหวังคะแนนนิยมเท่านั้น

* ส่วนรัฐบาลคุณทักษิณ จะเน้นประชานิยมเพื่อได้อำนาจรัฐกลับมาทุกรูปแบบ แต่จะอันตรายในระยะยาว

* วิธีการสร้างคะแนนนิยมโดยเน้นการตลาดและใช้คนหลายรูปแบบก็ยังเป็นสิ่งที่คุณอภิสิทธิ์ต้องเรียนรู้นำมาใช้บ้าง ยังมีข่าวเล็กๆ ที่คนไทยเริ่มวิตกเรื่องค่าครองชีพที่พุ่งขึ้นไม่หยุด

* ต้องยอมรับว่ารัฐบาคุณปูยังไม่มีนโยบายที่จะหยุดค่าครองชีพ ให้อยู่ในระดับยอมรับได้

* ราคาพลังงานขึ้นก็ไม่หยุด

* ล่าสุดค่าโดยสาร รถไฟฟ้าฯ BTS ก็ขึ้นอีกประมาณ 10%

* รัฐบาลเคยสัญญาตอนหาเสียงไว้ว่า จะเก็บ 20 บาท ตลอดสายและเชื่อมระหว่างใต้ดิน MRT กับรถไฟฟ้าฯ BTS ก็ยังทำไม่สำเร็จ ยังอนุญาตให้ขึ้นราคาอีก

* การแก้ปัญหารัฐธรรมนูญก็ดำเนินไปอย่างรวดเร็วเพื่อใครกันแน่?

* มีคนเริ่มสงสัยในความสามารถของคุณสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา คนปัจจุบันว่าท่านทำงานเพื่อใคร?

* สุดท้าย บทความผมพูดน้อยมาก เรื่องคุณยิ่งลักษณ์กับโรงแรมโฟร์ซีชั่นส์ แต่ยิ่งนานๆ ไป ยิ่งสับสนว่า ไปทำอะไรที่นั่น ทำเพื่อใคร?

* ที่แน่ๆ พฤติกรรมของคุณยิ่งลักษณ์ในฐานะผู้นำ น่าสงสัยเพราะวิธีการแก้ตัวแบบยิ่งแก้ ยิ่งมัด เพราะท่านนายกฯพูดไม่ตรงกับคนอื่นๆ

* ภาวะผู้นำบางครั้งต้องมีมาตรฐานขั้นต่ำ เช่น

*การตัดสินใจ

* การใช้ศีลธรรมและคุณธรรมในการทำงาน

* การไม่สู้และรับความจริง

* หนีปัญหาไปเรื่อยๆ

สัปดาห์นี้ผมภูมิใจมากได้รับเกียรติ จากอาจารย์และนักวิชาการ จากมหาวิทยาลัยใน ประเทศพม่า 7 คน มาเยี่ยมและศึกษาดูงาน คือ

1.Prof. Dr.DawKhin Sway Myint, Coordinator for Tourism HRD, Union of Myanmar Association (Retired Professor, Yangon University)

2.Prof. Dr.Daw Tin TinNwe, Mandalay University

3.Prof. Dr.DawKhinThein Win, Lashio University

4.DawThida Han (Senior Lecturer, Yangon University)

5.Prof. Dr. HtayMyint, Yangon University

6.U Tin TunAung, Executive Committee Member, Union of Myanmar Travel Association

7.DawHtayHtay, New Member, UMTA

เขาตั้งใจมาหาความรู้ เรื่องการท่องเที่ยวและการเตรียมบุคลากร หรือทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการขยายตัวของนักท่องเที่ยวในพม่า

ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเข้าในประเทศพม่าประมาณ 800,000 คน แต่เมื่อเปิดประเทศแล้วเพิ่มขึ้นเร็วมาก ปีละ 30%

การมาครั้งนี้ ถือว่าเป็นงานสำคัญของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ระหว่างประเทศมาก เพราะมูลนิธิฯไม่ใช่รัฐบาล แต่ทำงานเพื่อประโยชน์ของทุกๆ ฝ่าย

เพราะเป็นการเน้นให้เห็นว่า ASEAN Community ไม่ใช่มีแค่ AEC คือ ASEAN Economic Community แต่เป็นการร่วมมือกันระหว่างด้านวิชาการและด้านวัฒนธรรม คือต้องมองทั้ง 3 เรื่อง  


ข้อมูลอ้างอิงจากกระทรวงพาณิชย์

คณะพม่ามาครั้งนี้ ผมได้พาไปพบกับหน่วยงานหลายแห่ง ทั้งมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการ เช่น

* กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดย คุณธนิฏฐา เศวตศิลา มณีโชติ รองปลัดกระทรวงฯต้อนรับ

* การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนำโดยคุณสมบูรณ์ อารยะสกุล รองกรรมการผู้จัดใหญ่อาวุโสกรรมการผู้จัดการใหญ่ฯ บริษัท กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

* มหาวิทยาลัยศิลปากร อินเตอร์เนชั่นแนล นำโดย Mr.Robert MckenzieBusiness Development Director

* โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ

* การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

* มหาวิทยาลัยมหิดล

* เยี่ยมคารวะคุณชวรัตน์ ชาญวีรกูล อดีตประธานมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

* มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พัทยาแคมปัส

และได้แลกเปลี่ยนด้านวิชาการในอนาคตด้วย

ข้อดีของการมาดูงานครั้งนี้ นอกจากการท่องเที่ยวและ การวิจัยในอนาคตคือ

* ทำให้หน่วยงานอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างไทย-พม่า มีส่วนร่วมด้วยเช่น เรื่องพลังงานกับหน่วยงานอย่าง กฟผ.

* ความตั้งใจและหวังดีของ กฟผ.ในการร่วมมือกับพม่าในด้านพลังงานที่ WIN/WIN ทั้ง 2 ประเทศเพราะจะไม่ทำลาย สิ่งแวดล้อมเด็ดขาด กฟผ.มีโครงการด้านพลังงานร่วมกับพม่า การได้พบกับนักวิชาการพม่าได้เน้นให้เห็นถึงความจริงใจของประเทศไทย

ยิ่งไปกว่านั้น จะมีการทำวิจัยร่วมกันระหว่างไทย-พม่า ในเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาอย่างยั่งยืนในบริบทของ AEC เรื่องการท่องเที่ยวในอนาคต

โดยเฉพาะบทเรียนที่คนไทยควรมีด้านการท่องเที่ยวที่ได้รับจากพม่าคือ

* อย่าเน้นการตลาดอย่างเดียว

* ต้องเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของการท่องเที่ยว ในระยะยาว

* สำคัญที่สุดต้องเน้น การพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

นักวิชาการจากพม่าให้เกียรติกับประเทศไทยมาก เขาพร้อม จะส่งอาจารย์มาศึกษาปริญญาโทและเอกเรื่องการท่องเที่ยวในมหาวิทยาลัยของเรา

เขาบอกว่า มาไทยเป็นประเทศแรกแทนที่จะขอความร่วมมือ กับจีน, อินเดีย, สิงคโปร์ หรือสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเทศเหล่านั้น พร้อมจะสนับสนุนอย่างเต็มที่อยู่แล้ว

เหตุผลเพราะความเป็นเพื่อนบ้านและการที่ผมและมูลนิธิฯได้เข้าไปทำการทูตภาคประชาชนต่อเนื่องมากว่า 20 ปี แล้ว

"ทำให้เขาไว้ใจเราครับ"

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
[email protected]
www.gotoknow.org/blog/chiraacademy แฟกซ์ 0-2273-0181
หมายเลขบันทึก: 480201เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2012 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 

 

ด้านการท่องเที่ยวที่ได้รับจากพม่าคือ

* อย่าเน้นการตลาดอย่างเดียว

* ต้องเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของการท่องเที่ยว ในระยะยาว

* สำคัญที่สุดต้องเน้น การพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน


- เห็นด้วยกับ ท่าน ศ. ดร. จีระมากๆค่ะ



อาจารย์ ดร.ค่ะ ถ้าท่าเรือน้ำลึกทวายสร้างเสร็จ ไทยเราจะเป็นยังไงบ้าง (หนูคิดว่าจะไปหาซื้อที่ดินแถว ม.ราชภัฏกาญจนบุรี )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท